วันที่ 14 พฤษภาคม 2568 ดร.หทัยรัตน์ บัณฑิตยารักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยโลจิสติกและการจัดการ ม.บูรพา พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่วัดหนองขริ้น และวัดหนองยาวสูง ต.หนองยาว อ.เมือง จ.สระบุรี เพื่อรับฟังความคิดเห็น ทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โรงงานชำแหละจัดแต่งเนื้อไก่ของบริษัทเอกชน(บริษัท สยามเซ็นทาโกฟาร์ม จำกัด) โดยมีพระครูใบฎีกา สุมิตร สุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดหนองขริ้น และพระอธิการ สหชัยวัฒน์ ปิยะสีโล เจ้าอาวาสวัดหนองยาวสูง พร้อมด้วยฝ่ายปกครอง ผู้นำชุมชน ชาวบ้านร่วม 100 คนที่ได้รับผลกระทบ ร่วมชี้แจง พร้อมถือป้ายคัดค้านแสดงสัญญาลักษณ์ โดยมีข้อความว่า “ชาวบ้านหนองยาว และปากข้าวสาร ไม่เอา โรงงานฆ่าชำแหละตัดแต่งเนื้อไก่” และผลกระทบกลิ่นเหม็นน้ำเน่าแมลงวันสารแคมี โรงงานฆ่าไก่มาเหม็นแน่ บ้านใครใครก็รัก ฯลฯ
ซึ่งในขณะที่ร่วมแสดงสัญญลักษณ์ร่วมกันคัดค้านนั้นได้มีตัวแทนชาวบ้านนำไก่ที่ตายแล้วมาโชว์และนำมือล้วงเข้าไปในถุงที่มีไก่อยู่และนำมือมาให้ชาวบ้านที่ร่วมคัดค้านดมต่างร้องว่าเหม็นกันทุกคน จากนั้นได้โยนไก่ลงพื้นมีหมา2ตัวเข้ามาดมแต่ไม่กล้ากินจนชาวบ้านร้อง(หมายังไม่แดก)เพราะว่าเหม็น ซึ่งชาวบ้านชี้แจงผลกระทบที่จะได้รับเมื่อเกิดโรงชำแหละไก่เกิดขึ้น เนื่องจากว่าอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัย ชุมชน แหล่งผลิตน้ำ สถานสาธารณะ การจัดการน้ำ กลิ่นเหม็น มลพิษ ของเสีย เสียงรบกวนทีเกิดขึ้นจากโครงการ การเกิดโรคระบาด พาหะเชื้อโรค การเปลี่ยนเส้นทางของน้ำจากพื้นที่ปัจจุบัน กิจกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันคัดค้านมาตั้งแต่ปี 2563 จึงหวั่นว่าทาง ม.บูรพา จะเข้าสำรวจและรับฟังความคิดเห็นนั้นอาจจะเป็นการแฝงมาเพราะที่ผ่านมาในการทำประชาพิจารณ์นั้นได้มีการนำชาวบ้านจาก อำเภออื่นๆที่ไม่ได้รับผลกระทบเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น
ด้านดร.หทัยรัตน์ บัณฑิตยารักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยโลจิสติกและการจัดการ ม.บูรพา กล่าวว่า วันนี้ที่ลงมาเพื่อศึกษา และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของผละกระทบสิ่งแวดล้อม หากมีโรงงานของสยามเซ็นทาโกร เกิดขึ้น ซึ่งการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นภารกิจหนึ่งของ ม.บูรพา ที่ได้รับใบอนุญาตมาจาก ศผ.ที่เราสามารถจัดทำรายงานเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ จากข้อมูลที่ได้รับก็จะทำเป็นรายงานเพื่อส่งให้สาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลของการศึกษาก็จะแจ้งให้ประชาชนทราบ ซึ่งข้อมูลที่ได้ไปนั้นเป็นข้อมูลที่ได้จากชาวบ้าน ชุมชน ซึ่งทางเรามีหน้าที่เขียนรายงานตามข้อมูลจริงที่เราได้มา ทุกสิ่งอย่างเราเขียนรายงานตามความเป็นจริงไม่มีการบิดเบือน เพราะเราเป็นหน่วยงานกลาง
ส่วนนายประทีป นิลมูล ตัวแทนชาวบ้าน ต.ปากข้าวสารที่ได้รับผลกระทบ เผยว่าวันนี้ที่ ม.บูรพา ออกมาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านและชุมชนที่ได้รับผลกระทบนั้นในการก่อสร้างโรงงานชำแหละไก่ หรือโรงงานสยามเซ็นทาโกร ที่จะเข้ามาสร้างโรงงาน ในตำบลหนองยาว ตำบลปากข้าวสาร และตำบาลโคกสว่าง ในครั้งนี้ตนเองรู้สึกไม่สบายใจในการลงพื้นที่ เนื่องจากว่าตั้งแต่ปี 2563 นั้นมีการทำประชาคม ได้มีการเกณฑ์คนเขมรมา และคนต่างพื้นที่เข้ามา และปิดไม่ให้คนในพื้นที่เข้ารับฟังหรือแสดงความคิดเห็น และในวันนี้ที่ ม.บูรพา เข้ามารับฟังความคิดเห็นโดยเลือกเฉพาะตัวแทนชุมชน วัดหนองขริ้น วัดหนองยาวสูง โดยไม่ได้มาพบปะทำประชาคมทั้ง 3 ตำบลที่ได้รับผลกระทบ แต่มีการแอบสัมภาษณ์ผู้นำแต่ละคน ว่าเห็นดีด้วยไหม ซึ่งตนเองมองเห็นว่า การมาของ ม.บูรพาในครั้งนี้ เหมือนกับมารับจ้างบริษัท สยามเซ็นทาโกร ตนจึงไม่เห็นชองไม่ไว้วางใจของ ม.บูรพา ที่มาในครั้งนี้ เกรงว่าจะมีการแอบแฝง สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือการเปิดเวที ไปเลยทั้ง 3 ตำบลแล้วมาทำประชาพิจารณ์กันเลยว่าเห็นชอบกันหรือไม่ ที่จะมีโรงงานชำแหละไก่มาสร้างใน 3 ตำบลนี้ ซึ่งจะได้รู้ผลว่าให้สร้างได้หรือไม่ให้จบไปในตรงนั้นเลย ไม่ใช่การที่จะมาแอบแฝงกันแบบนี้ สิ่งที่ชาวบ้านกังวลที่จะเกิดโรงงาน เนื่องจากว่าเมื่อเกิดฝนตกน้ำท่วม น้ำก็จะระบายมาทาง ต.หนองยาว ซึ่งการที่จะสูบน้ำลงไปแม่น้ำป่าสักนั้นเป็นไปไม่ได้ ซึ่งน้ำกิน น้ำใช้ ก็จะมาลงที่คลองหนองยาว และน้ำที่ใช้กันอยู่ก็เป็นน้ำที่อยู่ในลำห้วยหนองยาว ถ้าเกิดโรงไก่ที่มาสร้างอยู่เหนือลำห้วย น้ำเหม็น น้ำเน่าทุกอย่างก็จะไหลเข้ามาที่ลำห้วย
อีกทั้งนางน้ำทิพย์ กำแพงเศรษฐ ตัวแทนชาวบ้าน ต.หนองยาว ที่ได้รับผลกระทบ เผยว่า การที่ ม.บูรพา ลงพื้นที่ในวันนี้นั้นเป็นการลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็น เพื่อการทำรายงานผลระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(IEE) ซึ่งตนเองได้ไปศึกษาข้องมูลเกี่ยวกับ (IEE) เป็นการเก็บข้องมูลแบบ 1ต่อ1 ซึ่งชาวบ้านมีเป็นจำนวนมากไม่สามารถจะมาออกแสดงความคิดเห็นได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ ม.บูรพาจะได้ไปเป็นเพียงข้อคิดเห็นของคนบางคนเท่านั้น ซึ่งจะมีทั้งเอา ไม่เอา โรงชำแหละไก่ก็ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเคลือบแครงใจในการทำงานของ ม.บูรพา เนื่องจากว่า เข้าไปในหน่วยงาน เข้าไปวัด แต่ไม่เข้าไปหาประชาชน ซึ่งการไปหาพระภิกษุสงฆ์ นั้นพระไม่สามารถที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นแทนชาวบ้านได้ ต้องการให้ ม.บูรพา ได้เสียงจากชาวบ้านจริงๆ และผลที่ออกมาจะต้องไม่เบี่ยงเบนความเป็นจริง ซึ่งสิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือไม่ต้องการให้โรงงานประเภทโรงงานชำแหละไก่ เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งความเป็นอยู่ของชาวตำบลหนองยาวนั้นอยู่แบบธรรมชาติ
ส่วนเรื่องที่ชาวบ้านต้องขายที่ให้โรงไก่นั้นเนื่องจากว่าพื้นที่ของตนเองไม่มีถนนเข้าไป และที่ขายไปก็ไม่รู้ว่าขายให้โรงไก่ ซึ่งทางชาวบ้านที่ร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างโรงไก่นั้น เพื่อไม่ต้องการให้เดการก่อสร้างขึ้นก่อนแล้วถึงจะมาแก้ปัญหากันที่หลัง ซึ่งทาง ม.บูรพา จะต้องเข้าไปชี้แจงให้ทางโรงงานทราบว่าทางชาวบ้านไม่เอาโรงงานชำแหละไก่ ทางชาวบ้านได้ร่วมกันต่อสู้ คัดค้านมา 5 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2563