เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ จัดงานประเพณีแห่เจ้าทิ้งกระจาดเดือน 4

วันที่ 8 พฤษภาคม 2568 ณ ศาลเจ้าพ่อกวนอู ตําบลศาลเจ้าโรงทอง อําเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง  นายอภิชาติ ศรีเหรา นายอําเภอวิเศษชัยชาญ เป็นประธานเปิดงานประเพณีแห่เจ้าทิ้งกระจาดเดือน 4 มีนางอัจฉรา กิจเจริญรุ่งโจน์ประธานมูลนิธิการกุศลวิเศษไชยชาญ ท่านปลัดเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ พี่น้องประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรม

สำหรับงานประเพณีแห่เจ้าทิ้งกระจาดเดือน 4 ประจําปี 2568 ของเทศบาลตําบสวิเศษไชยชาญ เป็นความมุ่งมั่นและตั้งใจของคณะกรรมการมูลนิธิการ กุศลวิเศษไชยชาญ ในการที่จะดูแล บํารุงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอด ต่อกันมาให้คงอยู่ดู่กับตลาดศาลเจ้าโรงทองถือเป็นประเพณีแห่เจ้าทิ้งกระจาด เดือน 4 คือการแสดงความกตัญญู ต่อบรรพบุรุษ เป็นการทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่วิญญาณบรรพบุรุษและ ดวงวิญญาณไร้ญาติซึ่งถือปฏิบัติมากว่า 1,000 ปี สําหรับประเทศไทยมักจัดขึ้น ในเหศการต่างๆขอขาวไทยเชื้อสายจีน การจัดงานประเพณีแห่เจ้าทิ้งกระจาด เดือน 4 ประจําปี พ.ศ. 2568 ของเทศบาลตําบลวิเศษไชยชาญร่วมกับมูศนิธิการกศิวิเศษไชยชาญถือเป็นโครงการที่ต้องสืบสาน อนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น 

สำหรับ“ศาลเจ้าพ่อกวนอูวิเศษชัยชาญ” ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นอีกศูนย์รวมศรัทธาที่สำคัญ ทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญ ที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ของ “ชาวจีน” ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มานานกว่าร้อยปี บันทึกทางวัฒน ธรรมในอดีตระบุว่า “ศาลเจ้าพ่อกวนอู” เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราวปีพุทธศักราช 2418-2420 การออกแบบก่อสร้างให้มีการเล่นระดับเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลานรอบอาคารขึ้นบันไดคู่สู่ซุ้มประตูทางเข้าก่อนที่จะเข้าสู่ลานกลางอาคารชั้นสอง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของงานสถาปัตยกรรมจีนบริเวณกลางอาคารจะมองเห็นอาคารศาลเจ้าพ่อกวนอูเป็นสง่าอย่างชัดเจน ส่วนภายในศาลเจ้าจะมีจิตรกรรมจีน งานศิลปะสถาปัตยกรรมและประติมากรรมรูปแกะสลัก “องค์เทพเจ้ากวนอู” สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ “ชุมชนชาวจีน” ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ เพื่อเคารพ กราบไหว้ในเทศกาลต่างๆ รวมทั้งได้ช่วยกันทำนุบำรุงรักษาเรื่อยมา

น่าสนใจว่าประชาชนชาว “ตลาดศาลเจ้าโรงทอง” ได้มีการสืบสานทางจิตวิญญาณเดิมจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งที่มีต่อเทพเจ้ากวนอูอย่างไม่เสื่อมคลาย การบูชากราบไหว้เทพเจ้ากวนอูนั้น มีความเชื่อสำคัญว่า...จะทำให้ประสบความสำเร็จ พบแต่ความซื่อสัตย์ อีกทั้งมีคนเคารพนับถือต่อผู้ที่บูชา ปราศจากคนปองร้าย รวมทั้งสามารถฝ่าฟัน...ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆในชีวิตไปได้ด้วยดี คิดการใดๆก็จะประสบความสำเร็จ

ตามประวัติบันทึกไว้ว่า...การพัฒนาศาลเจ้าพ่อกวนอูบนพื้นฐานอัตลักษณ์และจิตวิญญาณ ตามเงื่อนไขของกาลเวลาที่ทำให้ศาลเจ้าพ่อกวนอูซึ่งสร้างขึ้นมากว่าร้อยปีเกิดการชำรุดทรุดโทรม ดังนั้นในปี 2547 คณะกรรมการชุมชนฯจึงได้เกิดแนวคิดที่จะทำนุบำรุง ด้วยการบูรณะซ่อมแซม... จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ในปี 2550

ศาลเจ้าพ่อกวนอูแห่งนี้จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของอำเภอ วิเศษชัยชาญและจังหวัดอ่างทอง