เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2568 นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (อดีต สว.) ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า

#ระวังเสียดินแดนทางบกและในทะเล

#ปราสาทตาเมืองธม

#สั่งถอนทหารไทย

#กองทัพยอมได้ไง

จากกรณีที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมให้สัมภาษณ์ หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา GBC:General Border Committee ว่า มีข้อตกลงกับกัมพูชาที่จะยอมให้ทหารไทยที่อยู่ที่ปราสาทตาเมืองธม   ถอนกำลังออกมาเพื่อลดความขัดแย้งนั้น 

ต้องถือว่า เป็นการตกลงที่เสียเปรียบและอาจนำไปสู่การเสียดินแดนเช่นเดียวกับที่

ไทยเคยเสียปราสาทเขาพระวิหาร  ตามแผนการรุกบันได4ขั้นของกัมพูชา เพื่อนำคดีพิพาทไปฟ้องศาลโลก

กองทัพไทยจึงควรปฏิเสธข้อสั่งการดังกล่าวจากรัฐมนตรีกลาโหมรายนี้ ดังนี้

1)ปราสาทตาเมือนธม อายุเกือบ 1,000 ปี มีที่ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย อย่างชัดเจนมิได้อยู่ในดินแดนกัมพูชาหรือในพื้นที่ทับซ้อนแต่ประการใด  โดยใช้แผนที่ตามหลักสากลที่ยึดการแบ่งพื้นที่ตามหลักสันปันน้ำแบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา

2) กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจพบและขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของไทยตั้งแต่ปี 2478 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี  ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการบูรณะ โดยทางการกัมพูชารับรู้มาตลอด

3) วันที่ 4 สิงหาคม 2551 พลตรีโป เฮง รองผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ 4 และพันเอกเนี่ยะ วงศ์ รองผู้บังคับกองพลน้อยที่ 42 กัมพูชา เคยนำกำลังทหารกว่า 50 นายพร้อมอาวุธครบมือและสื่อมวลชนกัมพูชา ขอเข้าชมปราสาทตาเมือนธม แต่ถูกทหารพรานกองร้อยจู่โจมที่ 960 กรมทหารพรานที่ 26 กองกำลัง (กกล.) สุรนารี กองทัพภาคที่ 2 (ทภ.2) ของไทย เข้าเจรจาให้ถอยร่นกลับไป พร้อมเพิ่มกำลังคุมเข้มปราสาทตาเมือนธม วางลวดหนามปิดกั้นทางขึ้นและบริเวณรอบปราสาท

4) แม้มีพื้นที่ที่ยังตกลงปักปันไม่แล้วเสร็จ เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวด้านนอกปราสาทก็ตาม

ฝ่ายไทยยังอนุโลมให้กัมพูชาขึ้นมาสักการะบูชาปราสาทได้

ระหว่างเวลา 09.00 – 15.00 น.ทุกวัน แต่ฝ่ายกัมพูชาต้องไม่แสดงออกสัญลักษณ์ใดๆ  ปรากฏชัดเจน เมื่อมีเหตุการณ์นายทหารกัมพูชาและกลุ่มแม่บ้านขึ้นมาร้องเพลงปลุกใจ ทหารฝ่ายไทยที่รักษาพื้นที่ได้เข้าไปห้ามปรามและมีหนังสือประท้วงต่อทหารกัมพูชาอย่างน้อยถึง2ครั้ง

การดำเนินการเรื่องปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ให้บรรลุข้อตกลงเป็นสิ่งที่ดี

แต่หลักการเที่ถูกต้องคือ การต้องไม่ถอนกำลังทหารไทยออกจากพื้นที่ที่เป็นดินแดนไทย

และเมื่อการเจรจาปักปันเขตแดนที่ได้ข้อยุติประการใด ให้ถือเป็นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายจะได้สรุปร่วมกัน

มิใช่การยอมถอนทหารออกมาก่อน จะทำให้เกิดการยอมรับเป็นหลักฐานตามหลักกฎหมายปิดปาก เสียดินแดนได้ในอนาคต หากฝ่ายกัมพูชานำคดีไปสู่ศาลโลก

สมชาย แสวงการ

อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สนช

3พค 2568

#ระวังประวัติศาสตร์ซ้ำรอย #เสียดินแดน

#ปราสาทพระวิหาร #เกาะกูด