เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2568 พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน (ผอ.ศอ.ปชด. )พร้อมคณะ ตรวจการปฏิบัติงาน ของฉก.333 ในส่วนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในพื้นที่ท่าอากาศยาน และคลังสินค้า ที่ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมี พลอากาศเอก ชัยนาท ผลกิจ รองผบ.ทอ. เป็นผู้แทน พลอากาศเอกพันธ์ภักดี พัฒนกุล ผบ.ทอ./ผอ.ฉก.333 พลอากาศโทอนุรักษ์ รมณารักษ์ รองเสนาธิการทหารอากาศ /ผช.ผอ.ฉก.333 ร่วมประชุม และนายกิตติพงศ์ กิตติขจร ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานฯ ต้อนรับและร่วมประชุ รวมทั้ง พลเอกอุกฤษฏ์ บุญตานนท์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก ไพบูลย์ วรวรรณปรีชา รองเสนาธิการทหารและพลเอกชิดชนก นุชฉายา หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธ ผบ.ทสส. พลโทสุเมธ พรหมตรุษ ผบ. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านก่อการร้ายสากล (ผบ.ศตก) ร่วมประชุม
พลเอก ทรงวิทย์ เปิดเผยว่า การประชุมว่าวันนี้ตนเองได้มารับฟังวิธีคิด วิธีการทำงานของ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และยอมรับว่ามีความเป็นมาตรฐานสูง มีความปลอดภัยสูง โดยมี Airport Interdiction Task Force (AITF) สะท้อนให้เห็นว่าอุปกรณ์หลักๆ มีเพื่อป้องกันความปลอดภัยในการเดินทาง เช่น ความปลอดภัย เรื่องอาวุธ และ วัตถุระเบิด แต่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อตรวจจับ ยาเสพติดโดยตรง สิ่งที่เขาใช้คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่และใช้ความรู้ของคน เช่น หน้าจอสกรีน สำหรับสินค้าขาออก ส่วนใหญ่จะพบเป็นยาเสพติด ที่สามารถหาได้ในประเทศไทย
ส่วนขาเข้าเป็นยาเสพติด ที่ไม่มีในประเทศไทย โดยท่าอากาศยานฯ ได้แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีการปฏิบัติแบบนี้มากขึ้น เวลาคนไทยเดินทางไปต่างประเทศ หรือ สินค้าไทยเองที่ถูกส่งไปต่างประเทศ ก็จะถูกตรวจสอบในประเทศนั้นๆได้มากขึ้น โดยกรมศุลกากรได้กำหนด ว่าลักษณะที่เราต้องดูคือ เป็นข้อมูลที่มาจากกรมศุลกากรเอง แบ่งเป็นลักษณะที่อยู่ในพื้นที่ที่เราต้องป้องกันระวังเป็นพิเศษ
และสุดท้ายคือ watch list ซึ่งต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ อย่างเช่น สหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่เขาร้องขอมาว่า มีการขนส่งวัตถุบางเรื่อง ที่ถูกต้องในกฎหมายในประเทศไทย แต่ผิดกฎหมายในประเทศของเขา ก็มีการจับกุมเรื่องนี้มากขึ้น เช่น บางอย่าง ไม่ได้มีกฎหมายโดยตรงและไม่มีวิธีการปฏิบัติโดยตรงที่ห้ามสินค้าตัวนั้น ออกนอกประเทศ
อย่างไรก็ตาม กำลังพิจารณาว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ออกคำสั่ง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีอำนาจในการตรวจยึดได้ ส่วนปัญหาที่พบที่คลังสินค้าคือมีสินค้าที่ผิดกฎหมายที่ถูกส่งออกทางไปรษณีย์ ทางศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำงานด้วยความเข้มแข็งและมีความมืออาชีพมาก เขารู้ว่าคุณภาพของบริษัทเขาคุณภาพของศุลกากร
ส่วน สิ่งที่เราตรวจยึดจำนวนมาก ก็ต้องมีขั้นตอนตามกฎหมาย ที่ต้องไปแจ้งความร้องทุกข์ เพราะต้องเก็บสินค้าไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำไปสู่การทำลาย โดยจำนวนของการเก็บ กับการทำลาย ถือว่าการทำลายยังน้อยอยู่ ทำให้เกิดการค้างคาของสินค้า ซึ่งตนเองก็ได้รับไปเพื่อให้หน่วยงานต่างๆได้รับผิดชอบ
ขณะที่ ช่องโหว่ที่พบก็คือ หากเป็นสินค้า ที่ต้องห้ามในประเทศใดประเทศหนึ่ง และเขามีการร้องขอมา เราจะมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ที่ทำให้ทุกองค์กรเข้าใจร่วมกันอย่าง เช่น อังกฤษ ห้ามนำกัญชา เราเองก็ต้องมีวิธีการปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งบางเรื่องไม่ได้มีกฎหมาย แต่ต้องยึดใช้แนวทางปฏิบัติ โดยการท่าอากาศยาน ก็ได้มีการระบุ ที่เค้าน์เตอร์สินค้าต้องห้ามไว้ชัดเจน ตนเองก็ได้เน้นไปสู่ในการปฏิบัติการร่วมกันให้ดีขึ้น และขั้นตอนสำหรับของที่ตรวจยึดได้ว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าไม่ค้างอยู่ที่การท่าอากาศยานฯนาน เจ้าหน้าที่จะได้ทำการตรวจยึดได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ตรวจเยี่ยมพื้นที่การรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จุดตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระ ขั้นตอนการจับกุมยาเสพติดในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และการปฏิบัติงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผ่านหน่วยงาน Airport Interdiction Task Force (AITF) ซึ่งมีภารกิจครอบคลุมพื้นที่อาคารผู้โดยสาร เขตปลอดอากร และคลังสินค้า พร้อมยังรับฟังรายงาน ขั้นตอนการตรวจจับวัตถุอันตราย วัตถุต้องห้าม และยาเสพติด ที่ลักลอบนำเข้า–ส่งออกนอกราชอาณาจักร เช่น เฮโรอีน ยาไอซ์ ยาอี และกัญชา ซึ่งลักลอบส่งออกโดยการพกพา หรือ ซุกซ่อนในพัสดุที่ตรวจพบในรูปแบบต่างๆ