สัปดาห์พระเครื่อง / อ.ราม วัชรประดิษฐ์
“พระกริ่ง” ซึ่งผู้ที่ชื่นชอบพระกริ่งโดยส่วนใหญ่ จะชอบในเนื้อโลหะของพระกริ่งที่มีการหล่อหลอม กระแสเนื้อแบบพระบูชา โดยเฉพาะพระกริ่งรุ่นเก่าๆ ของไทย อย่างพระกริ่งของเจ้าประคุณสมเด็จพระ สังฆราช (แพ) วัดสุทัศน ยิ่งบางรุ่นที่สร้างด้วยเนื้อ โลหะเต็มสูตร ผิวพรรณวรรณะถ้าผ่านการใช้ถูกสัมผัส มาจะงดงามและกลับดำ แบบที่เรียกว่า สวยซึ้งมาก อีกอย่างการสร้างพระกริ่ง ถ้าทำได้ถูกต้องตามตำรานั้นสร้างได้ยากยิ่ง อย่างเช่น พระกริ่งของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นั้น ต้องลงแผ่นทองตามตำราบังคับ 108 ยันต์ และ ลงทับลงถม ท่องบ่น ทั้งสูตรและสนธิ์กันสุดคณานับกว่าจะครบถ้วนตามตำรา อีกทั้งการหล่อหลอมต้องมีโลหะครบและผสม ตามนํ้าหนักที่ตำรากำหนด อีกทั้งฤกษ์หามยามดีต่างๆ ก็ต้องเป็นไปตามตำราทั้งสิ้น เรียกว่าดีทั้งเนื้อในและเนื้อนอกเลยทีเดียว
ในกระบวนพระกริ่งของวัดสุทัศน ด้วยกันแล้ว พระกริ่งเขมรน้อยของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นที่กล่าว ขานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเรื่องเนื้อของ พระกริ่งเขมรน้อย ผิวกลับดำงดงามมาก ยิ่งถ้าเราได้ ใช้แว่นขยายส่องดูจะเห็นประกายเงินเป็นเม็ดเล็กๆ อยู่ประปราย ยิ่งดูยิ่งซึ้ง พระกริ่งเขมรน้อยนี้ความจริง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านโปรดให้เรียกว่า “พระกริ่งจีนน้อย” เนื่องจากแบบพิมพ์พระกริ่งรุ่นนี้ได้ถอดแบบมาจากพระกริ่งจีนน้อยนั่นเอง แต่ผู้นิยมพระเครื่องในปัจจุบันกลับมาเรียกกันจนติดปากว่า “พระกริ่งเขมรน้อย” พระกริ่งของวัดสุทัศน์ฯ นั้น โดยส่วนใหญ่มักถอดแบบมาจากพระกริ่งจีนใหญ่ แต่พระกริ่งเขมรน้อยกลับถอดแบบมาจากพระกริ่งจีนน้อย
พระกริ่งเขมรน้อยนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านทรงสร้างขึ้นในประมาณปี พ.ศ.2455-2458 ซึ่งในขณะนั้นท่านยังทรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี ขนาดของพระกริ่งเขมรน้อยมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่งซึ่งถอดแบบจากพระกริ่งจีนใหญ่ พระกริ่งเขมรน้อย มีอยู่ด้วยกันสองพิมพ์ คือ พระกริ่งเขมรน้อยพิมพ์ใหญ่ กับพระกริ่งเขมรน้อยพิมพ์เล็ก ซึ่งขนาดจะเล็กกว่ากันไม่มากนัก ลักษณะโดยทั่วไปของพระกริ่งเขมรน้อยอาจจะดูไม่งดงามนัก และการตกแต่งก็ไม่ประณีตพิถีพิถันเท่าใดนักก็ตามแต่เนื้อหาของพระ ต้องบอกว่าสุดยอดมาก พระกริ่งรุ่นนี้ได้รับการตกแต่งหลังจากการเท โดย พระปลัดจิ๋ว
เนื้อของพระกริ่งรุ่นนี้ เป็นเนื้อนวโลหะ เมื่อได้ผ่านการใช้สัมผัสผิวจะกลับดำสนิท ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูก็จะเห็นประกายเงินขึ้นอยู่ทั่วไป แต่ก็มีบ้างที่บางองค์อาจจะมีผิวที่ไม่กลับดำสนิทนัก แต่โดยส่วนใหญ่จะกลับดำสนิทแทบทุกองค์ การบรรจุเม็ดกริ่งเป็นแบบกริ่งในตัวและอุดที่บริเวณฐานด้านหลังเหมือนกับพระกริ่งของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทั่วๆ ไป ใต้ฐานด้านล่างมีทั้งแบบเรียบๆ และแอ่นเป็นท้องกระทะน้อยๆ ก็มี
แนวทางในการพิจารณาจุดสังเกตและตำหนิพระกริ่งเขมรน้อย วัดสุทัศนเทพวรารามมีดังต่อไปนี้
1. พระกรรณด้านขวามักจะตํ่ากว่าด้านซ้าย
2. เม็ดพระศก ตอกด้วยตุ๊ดตู่จากในหุ่นเทียน
3. พระเนตรด้านซ้ายมักจะสูงกว่าพระเนตรด้านขวาขององค์พระ
4. พระหัตถ์ด้านซ้ายตกแต่งโดยขุดเป็นร่อง
5. พระหัตถ์ด้านขวาปรากฎนิ้วพระหัตถ์แต่ตื้นๆ
6. ร่องริ้วจีวรจะตกแต่งแบบขุด หรือขูดเนื้อ
7. ฐานบัวทั้งเจ็ดกลีบ จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมตื้นๆ
8. ฐานด้านล่างกลีบบัว บางองค์ติดชัดบางองค์จะไม่มี
ปัจจุบันนี้จะหาชมพระกริ่งเขมรน้อยจากองค์จริงนั้นยากมาก เนื่องจากสร้างจำนวนน้อย และสนนราคาสูงมากจริง ๆ ส่วนพุทธคุณนั้น ทรงคุณค่าและทรงพุทธาคมเป็นเลิศด้านโภคทรัพย์และปกปองภัยอันตราย เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหาทั้งสิ้นครับผม