วันที่ 1 พ.ค.68 ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความทางเฟสบุกระบุว่า

ถึงเวลาที่คนไทยต้องรู้ และต้องถาม “เจรจาภาษีกับสหรัฐฯ ไทยได้หรือเสีย?”

ขณะนี้หลายประเทศเริ่มทยอยได้รับ “คิวเจรจา” ด้านภาษีกับทีมเศรษฐกิจของประธานาธิบดีแบมลีดัล ทรัมป์ หลังรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศปรับนโยบายการค้าระลอกใหม่ที่อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อประเทศคู่ค้าโดยตรง รวมถึง “ประเทศไทย”

ประเทศไทยในฐานะหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาการส่งออกและการลงทุนจากต่างประเทศ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าสู่โต๊ะเจรจา แต่ในขณะที่ประเทศอื่นเริ่มมี “วันนัด” ชัดเจน ไทยกลับยังอยู่ในสถานะ “กลางเรือน” ยังไม่มีคำตอบชัดว่าจะได้เจรจาเมื่อใด

แต่คำถามใหญ่ไม่ใช่แค่ “เมื่อไหร่” จะได้เจรจา

คำถามสำคัญกว่านั้นคือ:

1. “ใคร” จะเป็นตัวแทนเจรจาของประเทศไทย?

   - จะเป็นนักการเมือง? ข้าราชการ? นักการทูต? หรือเทคโนแครต?
   - มีความเข้าใจในผลประโยชน์ระยะยาวของประเทศจริงหรือไม่?

2. เราจะเจรจาเรื่องอะไร? และวาระของฝ่ายไทยคืออะไร?

   - เงื่อนไขด้านภาษีการส่งออกสินค้าไทย?
   - การเข้าถึงเทคโนโลยี การลงทุน หรือ FTA แบบใหม่?
   - การกีดกันภาษีที่สหรัฐฯ เตรียมใช้กับประเทศที่เกินดุลการค้า?

3. เราจะ “ยอมไม่ได้” เรื่องใดบ้าง?

   - ผลประโยชน์ของเกษตรกร?
   - สิทธิบัตรยา เทคโนโลยี การปกป้องตลาดภายใน?
   - อธิปไตยด้านดิจิทัลและข้อมูล?

4. เราจะ “ยอมได้” แค่ไหน?

   - ลดภาษีบางรายการเพื่อแลกกับสิทธิพิเศษ?
   - เปิดตลาดใหม่แต่มีเงื่อนไขกำกับ?
   - หรือจะยอมให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นในกิจการหลักของไทย?

5. ใครมีอำนาจ “วินิจฉัย” ว่าไทยจะได้หรือเสียจากโต๊ะเจรจานี้?

   - เป็นแค่คณะรัฐมนตรี? หรือควรเปิดให้รัฐสภา หรือภาคประชาชนเข้าร่วมติดตาม?

การเจรจาครั้งนี้ไม่ใช่แค่ “นโยบายต่างประเทศ”

แต่มันคือจุดชี้ชะตา “เศรษฐกิจ – อธิปไตย – อนาคต” ของไทยในทศวรรษหน้า

เราต้องไม่ปล่อยให้ใครเจรจาแทนเรา โดยที่สังคมไทยไม่มีสิทธิรู้อะไรเลย

ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดเผยแผนการเจรจาอย่างโปร่งใส
และให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งคำถาม ตั้งหลัก และ “ตั้งรับ” อย่างรู้เท่าทัน

เกมนี้เดิมพันสูงเกินกว่าจะให้ใครเล่นลำพัง ต่อให้ทีมเจรจาที่ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีหลายท่าน จะตั้งใจแค่ไหนก็ตาม