ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย

ขอสรุปผลกระทบจากนโยบายของทรัมป์ต่อเศรษฐกิจโลกดังต่อไปนี้

1.ประเมินว่าจะทำให้ปริมาณการค้าโลกชะลอตัวลงประมาณ 5-10% ในระยะสั้นและระยะกลาง

2.การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะชอลอตัวลงประมาณ 0.5-1.5%

3.เกิดการผันผวนในตลาดการเงิน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร เงินคลิปโต และทองคำ

ส่วนผลกระทบต่อประเทศต่างๆพอสรุปได้ดังนี้

1.เกิดผลกระทบอย่างมากต่อประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น ญี่ปุ่น แคนนาดา เกาหลีใต้ เม็กซิโก ส่วนจีนนั้นได้เตรียมตัวตั้งรับไว้นานแล้ว จึงไม่เกิดผลกระทบมาก ในทางตรงข้าม จีนกลับตอบโต้ทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ จนทำให้สหรัฐฯเองก็บาดเจ็บมากพอควร

2.ประเทศที่มีฐานะการเงินและทุนสำรองไม่มั่นคงจะเกิดความปั่นป่วน และความผันผวนในอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

3.อาจมีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศที่ถูกจัดเก็บภาษีศุลกากรจากสหรัฐฯในอัตราที่สูง ไปยังประเทศที่ถูกเก็บในอัตราที่ต่ำกว่า เช่น จากเวียดนามไปอินเดีย

ส่วนผลกระทบต่อระบบการค้าโลกจะทำให้ระบบโลกาภิวัตน์ล่มสลาย เกิดการขาดตอนของระบบห่วงโซ่อุปาทาน และเกิดแนวโน้มในการรวมกลุ่มการค้าเป็นภูมิภาค

สำหรับสหรัฐฯนั้นอาจเกิดผลกระทบที่ไม่เป็นไปตามที่ทรัมป์คาดหวัง โดยอาจสรุปพอสังเขปดังนี้

1.รายได้จากภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นในระยะสั้น แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ภาษีโดยรวมอาจลดลง และจะส่งผลให้การขาดดุลและหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น หากไม่อาจตัดทอนรายจ่ายได้ตามเป้า

2.การเก็บภาษีศุลกากรจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดเงินเฟ้อขึ้นในระยะสั้น และระยะกลาง ทำให้เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งทำให้ภาระในการจ่ายดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้จากการตอบโต้ของจีน ญี่ปุ่น และกองทุน เฮจฟัน ที่เทขายพันธบัตร ทำให้เป็นแรงกดดันให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

3.การดำเนินนโยบายที่ไม่แน่นอนทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงสูงขึ้น นักลงทุนส่วนใหญ่จึงจะชะลอการตัดสินใจ โดยเฉพาะการที่ทรัมป์ประกาศเลื่อนอัตราภาษีใหม่ที่ประกาศไปแล้วในเดือนเมษายนต่อไปอีก 90 วัน จะมีผลทำให้เกิดความไม่แน่นอนสำหรับนักลงทุนและสร้างความไม่มั่นใจในอนาคต

พิจารณาจากประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของสหรัฐฯในปีค.ศ.1930 สหรัฐฯได้ออกกฎหมาย Smoot-Hawley Tariff Act โดยเก็บภาษีเพิ่มโดยเฉลี่ย 45-50% ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าเป็นเหตุซ้ำเติมที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression)

แต่ครั้งนี้นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ยิ่งใหญ่กว่าเมื่อปี 1930 โดยเฉพาะภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์ ครั้งนี้มันใหญ่โตหลายเท่าของปรากฏการณ์ปี 1929-1930

ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจและการค้าอย่างขนานใหญ่ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป และที่สำคัญให้จับตาดูสิงคโปร์ ที่มีสัญญาณว่าจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายแบบ 360 องศา โดยอาจมีแนวทางดังต่อไปนี้

มุ่งเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับ ASEARN และ BIMSTEC ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ทั้ง 2 องค์กร ซึ่งอาจจะพิจารณาถึงผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ โดยแยกพิจารณาดังนี้

1.ผลกระทบเชิงบวก

1.1.กระจายความเสี่ยงทางการค้า

1.1.1 ลดการพึ่งพาตลาดใหญ่อย่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งมีความขัดแย้งกันอยู่หลายมิติ

1.1.2 สร้างความหลากหลายของตลาดส่งออกและนำเข้า

1.1.3 เพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อนโยบายภาษี และการกีดกันทางการค้าของประเทศมหาอำนาจ

1.2 การใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานภูมิภาค

1.2.1 เสริมสร้างฐานการผลิตในภูมิภาคที่มีต้นทุนแรงงานและทรัพยากรที่หลากหลาย

1.2.2 พัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ยึดหยุ่นมากขึ้นในภูมิภาค

1.2.3 รองรับการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

1.3 การเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่

1.3.1 ASEAN มีประชากรรวมกัน 670 ล้านคน

1.3.2 BIMSTEC เฉพาะอินเดีย และบังกลาเทศ ก็มีประชากรกว่า 1.5 พันล้าน

1.3.3 เพิ่มโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังตลาดที่มีชนชั้นกลางเติบโตอย่างรวดเร็ว

1.4 ประโยชน์ด้านภูมิรัฐศาสตร์

1.4.1 รักษาสมดุลทางการเมืองระหว่างมหาอำนาจ

1.4.2 เสริมสร้างความเป็นแกนกลางของไทยในภูมิภาค

1.4.3 เพิ่มอำนาจการต่อรองกับมหาอำนาจนอกภูมิภาค

1.5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง

1.5.1 ผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกันทั้งด้านคมนาคมและดิจิทัล และระบบการเงิน

1.5.2 ส่งเสริมเส้นทางการค้าทางเลือกที่เพิ่มขึ้นนอกจากการผ่านช่องแคบมะละกา

1.5.3 เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตกเหนือ-ใต้

แน่นอนมันไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ปัญหามีไว้แก้ ข้อสำคัญต้องมีความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่ง (Strong Determination) และต้องส่งเสริมคนมีความรู้ความสามารถ มีอุดมการณ์มาช่วยกันทำงานเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค

ดูโจทย์แล้วหวังว่าคงไม่กลับไปเป็นไข้อีกก็แล้วกัน