“ดัชนีการเมืองไทย”เดือนเมษายนดิ่งเหว! ตัวชี้วัดลดลงทุกด้าน “นายกฯแพทองธาร” ได้คะแนนไม่ถึงครึ่ง! “สวนดุสิตโพล”ชี้ภาพรวมรัฐบาลตกต่ำ ประชาชนไม่เชื่อมั่นการเมือง-เศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง "ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนเมษายน 2568" กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,208 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2568 โดยมีตัวชี้วัด 25 ประเด็นที่บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นต่อการเมืองไทยในด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน สรุปผลเรียงลำดับจากค่าคะแนนสูงสุดไปถึงต่ำสุด ได้ดังนี้ 1. "ดัชนีการเมืองไทย" เดือนเมษายน 2568 ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 4.82 คะแนน (เดือนมีนาคม 2568 ได้ 4.95 คะแนน) 2. ประชาชนให้คะแนน 25 ตัวชี้วัด "ดัชนีการเมืองไทย" โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 3. นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนคิดว่ามีบทบาทโดดเด่นในเดือนเมษายน 68 4. ผลงานของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านที่ประชาชนชื่นชอบในเดือนเมษายน 68
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า สถานการณ์การเมืองไทยเดือนเมษายนแม้ภายนอกจะมีความชุ่มฉ่ำของเทศกาลสงกรานต์ แต่ในแวดวงการเมืองกลับร้อนระอุไม่แพ้แสงแดดของเดือนเมษา ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคร่วมเพื่อไทย-ภูมิใจไทยที่ยังไม่แน่นอนจนมีเสียงว่าอาจมีการปรับ ครม. รวมถึงการที่รัฐบาลพยายามเร่งแก้ปัญหาเรื่องภัยพิบัติ แต่การตรวจสอบตึกถล่มกลับเป็นไปด้วยคำถามของทั้งฝ่ายค้านและประชาชน สะท้อนได้จากผลคะแนนของฝ่ายรัฐบาลที่ลงไปอยู่ อันดับ 15 จาก 25 ดัชนี นอกจากนี้คะแนนผลงานนายกรัฐมนตรีก็ลงไปอยู่อันดับ 10 ด้วยคะแนน 4.91 ไม่ผ่านครึ่งเป็นครั้งแรกของนายกฯแพทองธาร
ด้าน ดร.มุทิตา มากวิจิตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายปกครองและการบริหารงานภาครัฐ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนเมษายน 2568 พบว่า คะแนนภาพรวมลดน้อยลงจากเดือนก่อนหน้านี้ในทุกๆด้านอย่างชัดเจน สะท้อนถึงความกังวลของประชาชนที่เพิ่มขึ้นต่อภาวะทางเศรษฐกิจและการเมืองในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาสภาพเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งถือว่ายังเป็นจุดอ่อนสำคัญของรัฐบาลที่ยังไม่สามารถดำเนินการตามความคาดหวังของประชาชน
ทั้งนี้ รวมทั้งประเด็นสำคัญที่ประชาชนให้ความสนใจและคาดหวังให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ก็คือการตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ และติดตามตรวจสอบเรื่องอาคารของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินถล่ม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนในเรื่องการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ควบคู่กับความต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนโดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพในยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง