สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์

‘พระพุทธบาทปิลันทน์’ ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม และนับว่าเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ปกครองดูแลวัดแทน สืบต่อมา นอกเหนือจากพุทธลักษณะแล้ว ความหมายของแต่ละพิมพ์ของสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์  ในแต่ละพิมพ์เป็นอย่างไรนั้น ลองติดตามและศึกษากันเลยครับ

สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง พระสมเด็จปิลันทน์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่

สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง

เป็นพุทธอิริยาบถปางหนึ่งของพระพุทธองค์ มีกล่าวในตำนานว่า ครั้งเมื่อพระบรมศาสดา เสด็จถึงนครกบิลพัสดุ์ตามพระประสงค์ของพระพุทธบิดาแล้วนั้น พระพุทธองค์เสด็จประทับเหนือพระพุทธอาสน์ และเหล่าสาวกก็ได้ขึ้นนั่งบนเสนาสนะ ณ โครธารามวิหาร ซึ่งบรรดาศากยวงศานุวงศ์ทั้งหลายได้จัดไว้ถวายรับรองขณะนั้นกษัตริย์ศากยวงศ์ราชทั้งหลายที่เป็นผู้ใหญ่และเป็นผู้ที่มีอายุมากแล้วมีมานะทิฐิ ไม่ทำความเคารพพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่ามีอายุอ่อนกว่า พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะขจัดมานะทิฐิของพระญาติทั้งหลายเหล่านั้นจึงทรงแสดงพุทธานุภาพทรงเหาะขึ้นไปในอากาศ และทรงแสดงอิทธิฤทธิ์เนรมิตที่เดินจงกรมแก้ว แล้วเสด็จจงกรมอยู่ในที่นั้น ประหนึ่งจะโปรยธุลีละอองพระบาทให้ตกลงเรี่ยราดเหนือสีโรตม์แห่งพระประยูรญาติทั้งปวง หมู่มวลพระญาติอันมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นต้น ได้ทรงมีเลื่อมใสหายจากทิฐิมานะ พากันถวายนมัสการ ฝนโบกขรพรรษก็บันดาลตกลงมาในสมาคมแห่งพระญาตินั้น ฝนโบกขรพรรษนั้น เมื่อตกลงมา ผู้ใดปรารถนาจักให้เปียกก็เปียกไม่ให้เปียกก็ไม่เปียก และเม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกายเหมือนหยาดน้ำบนใบบัวพระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทำเป็นพระ พุทธรูปยืนเปล่งรัศมีเป็นเปลวเพลิง อย่างเช่นพระปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง ดังกล่าวแล้ว สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์โมคคัลลาน์-สารีบุตร

"เย ธัมมา เหตุปัปพวา เตสัง เหตุง ตถาคโต(อาหะ) เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาทีมหาสมโณ"

แปลความว่า ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคต ได้ตรัสถึงเหตุแห่งธรรมนั้น เมื่อสิ้นเหตุเหล่านั้นจึงดับทุกข์ได้ พระมหาสนะมีด้วยพระคาถาเพียงไม่กี่บาท แต่ประกอบด้วยเหตุและผลเป็นที่เชื่อถือ สามารถจูงใจให้คนออกศาสนาหันเข้ามายอมรับนับถือ และอุปสมบทในพุทธศาสนาที่สำคัญได้ 2 องค์คือ พระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ซึ่งสืบต่อมาได้เป็นพุทธอนุชาใกล้ชิด มักจัดสร้างเป็นรูปอัครสาวกประทับอยู่บนด้านซ้าย-ขวาเสมอวาทะตรัสสอนดังนี้

สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์โมคคัลลาน์

พระสมเด็จปิลันทน์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่

พระสมเด็จปิลันทน์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่ ได้สร้างตามพุทธอิริยาบถปางหนึ่งของพระพุทธองค์ขณะประทันนั่งปางสมาธิบนบัลลังก์ ซึ่งลาดด้วยหญ้าคา หันพระปฤษฎางค์ทางสำคัญพระศรีมหาโพธิ์ เจริญอานาปานสติกรรมฐาน พิจารณาถึงวิธีหลุดพ้นจากทุกข์โดยตั้งจาตุรงค์มหาปณิธานในพระพฤทัยว่า "ยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด จักไม่เสด็จลุกขึ้นตราบนั้น แม้พระมังสะ (เนื้อ) และพระโลหิตจะแห้งเหือดเหลือแต่พระตจะ (หนัง) พระนหารู (เอ็น) และพระอัฐิก็ตามที" จนในที่สุดพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ในพระโพธิญาณแล้วเสวยวิมุตติสุขภายได้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน สำหรับคำว่า พระสมเด็จนั้น เป็นการถวายพระนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ ธนบุรี ขึ้นเป็นครั้งแรก  

สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ ปางห้ามสมุทร พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์ครอบแก้วใหญ่                 

สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ ปางห้ามสมุทร

เป็นพุทธอิริยาบถปางหนึ่งของพระพุทธองค์ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จพระดำเนินไปสู่สำนักของชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง ท่ามกลางหมู่ศิษย์และบริวารเป็นจำนวนกว่า 1,000 คน ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา มีอุรุเวลกัสสปะผู้เป็นพี่ใหญ่ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ น้องชายคนเล็ก พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์เป็นอย่างมาก เพื่อทำลายทิฐิมานะในชฎิลทั้ง 3 หลายครั้งมีอยู่คราวหนึ่งฝนได้ตกหนักติดต่อกันหลายวันน้ำท่วมไหลบ่าไปทั่วพื้นแผ่นดิน แต่พระพุทธองค์สามารถเสด็จจงกรมอยู่ได้ในกลางแจ้งโดยไม่เปียกฝนและน้ำก็ไม่ท่วม ชฎิลทั้ง 3 เห็นเป็นอัศจรรย์ในการที่พระพุทธองค์ทรงห้ามสมุทรได้เช่นนั้นก็ยอมอ่อนน้อมขอบรรพชาพร้อมด้วยชฎิลอีก 1,000 คน ระพุทธรูปปางห้ามสมุทรทำเป็นพระพุทธรูปประทับยืน ทรงยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ

"พระสมเด็จปิลันทน์นอกจากจะได้รับความนิยมสูงสุดแล้ว ยังได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย" นอกเหนือจากพุทธลักษณะแล้ว พุทธคุณยังเข้มขลังเป็นที่ปรากฏโดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม ครับผม