นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ร่วมด้วย นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา นายเกียรติศักดิ์ ศรีวงษ์ชัย ปลัดเมืองพัทยา นายอนุวัตร ทองคำ ผู้อำนวยการสำนักช่างสุขาภิบาล ลงพื้นที่ทดสอบระบบโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ น้ำท่วมช่วงหน้าฝน โดยมี นายภูมิพิพัฒน์ กมลนาถ เลขานุการนายกเมือง เจ้าหน้าที่สำนักช่างสุขาภิบาลเมืองพัทยา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ทดสอบระบบฯ ณ บริเวณสถานีสูบน้ำเขาน้อย ถนนเลียบทางรถไฟ ระหว่างเขาน้อย-เขาตาโล ( ฝั่งขาเข้าสัตหีบ)
นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 1 ถือเป็นแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเมืองพัทยา โดยได้มีการดำเนินการก่อสร้างมาได้สักระยะแล้วแต่ด้วยติดปัญหาอุปสรรคในเรื่องของตอม่อ แนวรถไฟความเร็วสูง โดยการดำเนินการดังกล่าวเป็นการวางท่อส่งน้ำแรงดัน ขนาด 1.80 เมตร ความยาวม 2,500 เมตร และท่อระบายน้ำขนาด 2 เมตร ความยาว 3,000 เมตร ในระยะทาง 5.5 กิโลเมตร เพื่อกักเก็บและสูบส่งมวลน้ำที่ไหลบ่าจากเทศบาลเมืองหนองปรือ บริเวณซอยเขาน้อย ไปยังคลองเสือแผ้วและคลองนาเกลือ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าพื้นที่ชั้นในเมืองพัทยาบริเวณถนนสุขุมวิท บริเวณสี่แยกพัทยาใต้และซอยบงกช
โดยโครงการดังกล่าวเป็นสถานี้สูบน้ำความจุขนาด 7,000 ลูกบาศก์เมตร พร้อมเครื่องสูบขนาด 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 6 เครื่อง ซึ่งขณะนี้ระบบดังกล่าวพร้อมเปิดใช้ 100 % ทั้งนี้เมืองพัทยามีแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แบ่งเป็น 2 เฟส ซึ่งในเฟสหนึ่งคือจุดที่ยืนอยู่และได้มีการดำเนินการก่อสร้างต่อตั้งระบบเสร็จแล้ว ส่วนเฟสสอง คืออยู่ถัดไปจากนี้ โดยโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 2 จะเป็นการก่อสร้างสถานีและบ่อกักเก็บน้ำความจุ 5,400 ลูกบาศก์เมตร พร้อมเครื่องสูบน้ำขนาด 0.75 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง และท่อแรงดันขนาด 1.20 เมตร ความยาว 3,500 เมตร ทำระบายน้ำขนด 1.60 เมตร ถึง 2.20 เมตร ความยาว 2,800 เมตร ในระยะทาง 6.3 กิโลเมตร เพื่อกักเก็บและสูบน้ำที่ไหลจากเทศบาลเมืองหนองปรือ บริเวณซอยเขาตาโลไปยังคลองห้วยใหญ่ ไม่ให้ไหลเข้าท่วมถนนเลียบทางรถไฟ บริเวณซอยเขาตาโลแลถนนสุขุมวิทสี่แยกพัทยาใต้
ทั้งนี้โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำถนนเลียบทางรถไฟฝั่งตะวันออก ระยะที่ 2 จะแล้วเสร็จในปลายปี 2569 ซึ่งเมื่อทั้ง 2 โครงการแล้วเสร้จเมืองพัทยาจะมีการประเมิณประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ชั้นในเมืองพัทยาที่รองรับปรอมาณน้ำไหลบ่ามาจากเทศบาบหนองปรือ ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำท่วมได้ตามเป้าที่กำหนดเป็นอย่าง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการดำเนินการตามแนวทางที่เมืองพัทยาได้ศึกษา แต่ไม่ใช้แนวทางที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการกับสทนช ด้วยใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลถึง 9,500 ล้านบาท แต่เมืองพัทยาไม่ได้ใช้แนวทางดังกล่าว ทั้งนี้เมืองพัทยาพยามยามดำเนินโครงการที่ไม่ให้มีการขุดเจาะถนน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชน