ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ท่าเทียบเรือฯ โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้าน ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผช.รัฐมนตรีประจำวงเกษตรแกระทรละสหกรณ์ ในฐานะเป็นประธานฯมาเปิดงานในกิจกรรม "โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนธรรมชาติเพื่อหวังฟื้นฟูระบบนิเวศ จ.สมุทรสาคร" ร่วมกับ นายเผดิม รอดอินทร์ หัวหน้าประมงฯสมุทรสาคร โดยมีนาย บุญชู ถาดทอง ปลัด ทม.พันท้ายนรสิงห์ พร้อมแขกผู้ที่มาเป็นเกียรติ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมกันโดยพร้อมเพรียง
โดยนายเผดิม รอดอินทร์ หัวหน้าสนง.ประมงจังหวัดฯเปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประมงจ.สมุทรสาครได้ดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวของกรมประมง ตามแนวทางปฏิบัติการปราบปลาหมอคางดำ ตามแนวทางไว้จำนวน 7 มาตรการ ประกอบด้วยดังนี้ มาตรการที่ 1.การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด, มาตรการที่ 2. การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติและจัดปล่อยปลา (ฐานะผู้ล่า) มาอย่างต่อเนื่อง, มาตรการที่ 3. การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์, มาตรการที่ 4. การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่เขตกันชน, มาตรการที่ 5. สร้างความรู้ และความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการกำจัดหรือทำลาย, มาตรการที่ 6. การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด และ 7. การฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อให้คงอยู่
สำหรับในส่วนของสมุทรสาครปรากฏว่า ล่าสุดมีการดำเนินงานการจัดปลาหมอคางดำได้แล้ว รวมทั้งสิ้น 1,937,998 กิโลกรัม พร้อมกับในส่วนของการจัดกิจกรรมในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อคืนธรรมชาติอย่างบูรณาการแบบความร่วมมือระหว่าง ประมงจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกับเทศบาลเมืองพันท้ายนรสิงห์ ภายใต้มาตรการที่ 7 เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดฯ ตามวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร และฟื้นฟูหวังเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดยมีบรรดาเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ และประชาชนเข้า มาส่วนร่วมในการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในหลายพื้นที่
ด้าน ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผช.รมช.กระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวนี้ที่เคยมีปลาหมอคางดำแพร่ระบาด ดังนั้นทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรด้านการประมงให้คงอยู่ จากที่ถูกปลาหมอคางดำซึ่งถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามต่อระบบนิเวศของน้ำจืด ด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์ลงแหล่งน้ำในขณะนี้ซึ่งนับว่าเป็นการดำเนินมาตรการที่ 7 ว่าด้วยการฟื้นฟูระบบนิเวศที่มีพันธุ์สัตว์น้ำอยู่หลากหลายอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆ อันจะช่วยเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำให้กับการดำรงชีวิตของประชาชนและเพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติให้มั่นคงไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานด้วยต่อไป