“วิสุทธิ์” ปัดดีลลับ “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” แลกเก้าอี้กระทรวง แย้มอาจปรับมีกระทรวงค้าขาย แต่เชื่อการปรับครม.อยู่ที่ดุลยพินิจนายกฯ ไม่ปัดโอกาสเพิ่มทีมเศรษฐกิจ ชี้ “ปชช.” เริ่มเข้าใจ “กม.คาสิโน” ด้าน “กมธ.คาสิโน” จ่อประชุมนัดแรก 23 เม.ย. วางกรอบศึกษาผลกระทบ “สว.วีระพันธ์-ไชยยงค์” ย้ำเลือก ประธาฯต้องเป็นกลาง ไร้สีเสื้อ-สังคมรับได้ “นิด้าโพล” เผยผลสำรวจเรื่อง “ปรับ ครม. วันไหนดี” ชี้ “ปชช.” เกือบครึ่ง จี้ ปรับครม.ด่วน “พาณิชย์-เกษตรฯ-คลัง”ติดโผปรับเปลี่ยนมากสุด ด้าน “ซูเปอร์โพล” เผย คนไทยกลับมาทุกข์หลังวันหยุดยาว จากพิษเศรษฐกิจ ว่างงาน ราคาของแพง ความไม่มั่นคง ขณะความเชื่อมั่นต่อ“นายกฯแพทองธาร”ยังแข็งแกร่ง เหตุนโยบายจับต้องได้ สื่อสารตรงใจคนจน 

เมื่อวันที่ 20 เม.ย.68 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับครม.ในเดือนส.ค.-ก.ย.ภายหลังผ่านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2569ว่า ได้ยินแต่ข่าวจากสื่อ แต่ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ในพรรคเพื่อไทยยังไม่มีการเคลื่อนไหว หรือหารือเรื่องปรับครม. ให้เป็นอำนาจของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลตัดสินใจ ส่วนกระแสข่าวปรับครม.ที่พรรคเพื่อไทยจะเปิดดีลแลกกระทรวงกับพรรคภูมิใจไทยนั้น ไม่ทราบเป็นจริงหรือไม่ แต่นายกฯ และนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ ทุกอย่างให้เป็นอำนาจนายกฯ พรรคเพื่อไทยพร้อมสนับสนุนการตัดสินใจ 

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกระแสข่าวพรรคเพื่อไทยจะขอกระทรวงมหาดไทยจากพรรคภูมิใจไทย กลับมาดูเอง เพื่อชิงความได้เปรียบในการคุมเลือกตั้ง นายวิสุทธิ์ตอบว่า ยังไม่เคยได้ยิน ส่วนตัวไม่รู้ว่า มีความจำเป็นหรือไม่ ต้องนำกระทรวงมหาดไทยกลับมาดูแลเอง เพราะทุกวันนี้ก็ยังทำงานได้อยู่ 

  นายวิสุทธิ์ยังกล่าวถึงกระแสข่าวปรับครม.ในทีมเศรษฐกิจว่า เป็นไปได้ เท่าที่คุยกับสส.มีเสียงสะท้อนแสดงความเป็นห่วงเรื่องปัญหาเศรษฐกิจ อยากให้มีการแก้ไข โดยเฉพาะกระทรวงที่เกี่ยวกับการค้าขาย ที่เป็นห่วงในส่วนสินค้าเกษตร แต่คนตัดสินใจคือนายกฯ  

  ผู้สื่อข่าวถามว่า หลายฝ่ายมองนโยบายเรือธงแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้า ทั้งโครงการดิจิทัลวอลเลตที่ไม่ตรงปก หรือนโยบายเอนเตอร์เทนเซนต์คอมเพล็กซ์ก็ถูกต่อต้านหนัก ถือเป็นปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาปรับครม.หรือไม่ นายวิสุทธิ์ตอบว่า เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ไม่เกี่ยวกับการปรับครม. ขณะนี้ประชาชนเริ่มเข้าใจมากขึ้น หลังจากสส.ลงพื้นที่ไปทำความเข้าใจเรื่องสถานบันเทิงครบวงจร กระแสเริ่มดีขึ้น ถ้าประชาชนเข้าใจมากขึ้น ก็มีแนวโน้มไปต่อได้ เท่าที่ได้คุยกับชาวบ้านในพื้นที่ เขาก็ไม่ขัดขวาง แค่อยากรู้รายละเอียดนโยบาย ชาวบ้านเข้าใจว่าต้องหาเงินเข้าประเทศ อยากให้ประเทศมีรายได้เพิ่ม ส่วนหลังเปิดประชุมสภาสมัยหน้าจะผลักดันร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ทันทีหรือไม่นั้น ต้องรอดูผลการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน ขณะนี้พยายามเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน เท่าที่ลงพื้นที่ได้ยินมากับหูของตัวเอง ประชาชนไม่ได้คัดค้าน ไม่ต้องกังวล 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (เอ็นเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) วุฒิสภา ได้นัดประชุมครั้งแรก ในวันที่ 23 เม.ย. เวลา 10.30 น.  โดยมีวาระเลือกกรรมาธิการในตำแหน่งต่างๆ รวมถึงวางกรอบการทำงาน

ทั้งนี้นายวีระพันธ์ สุวรรณนามัย สว. ให้สัมภาษณ์ว่าการเลือกตำแหน่งต่างๆ ในกมธ. ถือเป็นเอกสิทธิที่สว.ซึ่งเป็นกมธ.จะพิจารณาเลือก ส่วนตัว มองว่าคนที่จะทำหน้าที่ประธานกมธ. ต้องไม่มองประเด็นนี้เป็นเรื่องการเมือง แต่ต้องเป็นการรักษาผลประโชน์ของประเทศชาติ ดังนั้นเมื่อการทำงานของกมธ.ไม่ใช่เรื่องการเมือง คนที่เหมาะทำหน้านี้ ไม่ควรเป็นผู้นำที่นำประเด็นเป็นเรื่องทางการเมือง เบื้องต้นนั้นตนชื่อที่ตนได้ยินมานั้น คือ ผู้ที่มีตำแหน่ง สว. มีความเป็นกลาง น่าเคารพ และไม่มีสีเสื้อ
นายวีระพันธ์ กล่าวด้วยว่าสำหรับการวางกรอบศึกษาของกมมธ. นั้น กลุ่มของตนมองว่าโจทย์หลักคือหากการเปิดวงพนันถูกกฎหมายจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้หรือไม่ หรือ หากมีวงพนันหรือพนันออนไลน์ถูกกฎหมายยจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร รวมไปถึงต้องมองในแง่ของการแข่งขัน ภูมิรัฐศาสตร์ ผลกระทบต่อสังคม ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งแง่การค้า อาชญากรรม สุขภาพ ครอบครัว เยาวชน 

เมื่อถามถึงข้อเสนอต่อการให้หัวหน้าพรรคการเมืองแสดงจุดยืนต่อนโยบายเอ็นเทอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ในกมธ.ของวุฒิสภา นาวีระพันธ์ กล่าวว่า  ตนมองว่าไม่จำเป็นเพราะต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ความเห็นทางการเมือง
ขณะที่นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สว. กล่าวว่า ในการเลือกตำแหน่งต่างๆ ของกมธ. จะใช้เวทีการประชุมนัดแรกเพื่อหารือร่วมกันก่อน เพราะกมธ.ชุดดังกล่าวมีสัดส่วนคนนอก รวมถึงกมธ.ที่มาจากทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะกลุ่มสีน้ำเงินเท่านั้น และตนมองว่าประธานกมธ.ที่จะถูกคัดเลือกต้องมีความเป็นกลาง ขณะที่การจัดสรรตำแหน่งเชื่อว่าจะทำให้สังคมรับได้ ส่วนตัวมองว่าคนที่จะทำหน้าที่ประธานกมธ. ต้องเป็นคนที่มีความรู้ มีความอาวุโส และเป็นกลาง 

เมื่อถามถึงกรอบการทำงานของกมธ. นายไชยยงค์ กล่าวว่า ต้องศึกษาข้อดีข้อเสีย และต้องสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานให้สังคมรับรู้ได้ ต้องมองทั้งข้อดีและข้อเสีย มองให้ครบทุกมิติ รวมไปถึงความกังวลของสังคมด้วย  นอกจากนั้นสิ่งที่ต้องศึกษาคือ ประเทศเพื่อนบ้านที่มีบ่อนเสรี หรือกาสิโน ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างไร รายได้ที่ได้รับกับที่คำนวณได้นั้น เป็นจริงตามนั้นหรือไม่ 

“สิ่งหนึ่งรู้สึกผมมองจากประสบการณ์คือการมีวงพนันเสรีอาจจะสร้างรายได้ให้ประเทศได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาวงพนันเถื่อน พนันออนไลน์ผิดดกฎหมายได้ เพราะคนที่เข้าไปเล่นในวงพนันเถื่อนเป็นคนกละกลุ่มกับคนที่ไปเล่นพนันถูกกฎหมาย หากเทียบกับการแก้หวยเถื่อนที่รัฐบาลพยายามหามาตรการแก้ไข แต่แก้ไม่ได้ แต่ยังทำให้หวยเถื่อนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ” นายไชยยงค์ กล่าว  

เมื่อถามว่ากมธ.ชุดนี้ จำเป็นต้องให้พรรคการเมืองมาแสดงจุดยืนว่าสนับสนุนหรือคัดค้านกาสิโน หรือไม่ นายไชยยงค์ กล่าวว่า พรรคการเมืองต้องตอบให้ได้ว่ามีจุดยืนอย่างไร ซึ่งกมธ.ชุดนี้ สามารถให้พรรคการเมืองเข้าชี้แจงได้ ว่าเห็นด้วย หรือ เห็นต่างอย่างไร ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวสังคมไทยยังไม่ตกผลึกต่อการมีกาสิโนเสรี ดังนั้นรัฐบาลต้องใช้เวลาสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนให้มากกว่านี้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “ปรับ ครม. วันไหนดี” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5-9 เมษายน 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร

เมื่อถามถึงการปรับคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.24 ระบุว่า จำเป็นต้องปรับ ครม. โดยเร็วที่สุด รองลงมา ร้อยละ 16.18 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องปรับ ครม. ร้อยละ 15.50 ระบุว่า การปรับ ครม. ควรรออีก 3 เดือน ร้อยละ 10.07 ระบุว่า การปรับ ครม. ควรรออีก 6 เดือน ร้อยละ 6.95 ระบุว่า การปรับ ครม. ควรรออีก 1 ปี และร้อยละ 1.53 การปรับ ครม. ควรรออีก 9 เดือน และไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน เมื่อถามถึงการปรับเปลี่ยนกระทรวงในรัฐบาลนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร พบว่า 1.กระทรวงพาณิชย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 57.02 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 41.60 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.55 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 49.47 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 3.กระทรวงการคลัง ตัวอย่าง ร้อยละ 46.49 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 51.98 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 4.สำนักนายกรัฐมนตรี ตัวอย่าง ร้อยละ 44.43 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 52.82 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 2.67 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 5.กระทรวงแรงงาน ตัวอย่าง ร้อยละ 43.89 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 54.05 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 6.กระทรวงมหาดไทย ตัวอย่าง ร้อยละ 43.82 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 54.58 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 7.กระทรวงกลาโหม ตัวอย่าง ร้อยละ 42.52 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 55.57 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 8.กระทรวงคมนาคม ตัวอย่าง ร้อยละ 41.53 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 56.56 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 9.กระทรวงศึกษาธิการ ตัวอย่าง ร้อยละ 41.22 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 57.10 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

10.กระทรวงยุติธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 41.07 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 56.79 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 11.กระทรวงสาธารณสุข ตัวอย่าง ร้อยละ 40.61 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 57.71 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 12.กระทรวงพลังงาน ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 60.53 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.00 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 13.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตัวอย่าง ร้อยละ 38.09 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 58.17 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

14.กระทรวงการต่างประเทศ ตัวอย่าง ร้อยละ 35.26 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 60.69 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 15.กระทรวงอุตสาหกรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 61.83 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 3.05 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 16.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตัวอย่าง ร้อยละ 34.20 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 62.90 ระบุว่าไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 2.44 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 17.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 34.04 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 61.53 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 4.12 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

18.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง ร้อยละ 33.66 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 63.97 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 19.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตัวอย่าง ร้อยละ 33.59 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 62.98 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 2.90 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 20.กระทรวงวัฒนธรรม ตัวอย่าง ร้อยละ 31.76 ระบุว่า ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 64.66 ระบุว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยน ร้อยละ 3.12 ระบุว่า ไม่มีข้อมูล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
การสำรวจครั้งนี้ อาศัยการสุ่ม