"กอบศักดิ์" เผยอีกตลาดที่สหรัฐอยากได้คืน อุตสาหกรรมผลิตเรือคอนเทนเนอร์

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า 

อีกตลาดที่สหรัฐอยากได้คืน !!!

อุตสาหกรรมผลิตเรือคอนเทนเนอร์

USTR สหรัฐมองว่า "เรือและการขนส่งทางเรือ เป็นหัวใจสำคัญของความมั่นคงของสหรัฐ ตลอดจนต่อการขนส่งสินค้า

สหรัฐต้องลดความเสี่ยงด้านการขนส่งสินค้าทางทะเลที่มีต่อ Supply Chain ของตน

ต้องช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการสหรัฐกลับมาผลิตเรืออีกครั้ง"

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกนโยบายเก็บภาษีการเข้าท่าฉบับใหม่ออกมา มุ่งเป้าไปที่เรือคอนเทนเนอร์ที่ผลิตโดยจีน และที่บริหารโดยบริษัทจีน เพื่อลดความยิ่งใหญ่ทางตลาด (Market Dominance) ของจีนในเรื่องนี้

ที่ทำให้สหรัฐกังวลใจมากเรื่องนี้ ก็เพราะ

จีนมีส่วนแบ่งตลาดการผลิตเรือคอนเทนเนอร์ประมาณ 50% ของโลกในแต่ละปี

ส่วนสหรัฐ เคยมีส่วนแบ่งประมาณ 5% ก่อนปี ปัจจุบันเหลือประมาณ 0.2%

เคยผลิตมากกว่า 70 ลำต่อปี เป็นเบอร์ 1 ของโลก ล่าสุดเหลือน้อยกว่า 5 ลำต่อปี เป็นเบอร์ 19 ของโลก ขณะที่จีนผลิตประมาณ 1,700 ลำต่อปี

รายละเอียดของค่า Fees ที่จะคิดกับเรือต่างๆ ที่มาเทียบท่าสหรัฐหลังจากช่วง 180 วันผ่านไปแล้ว ที่จะทยอยเพิ่มขึ้นใน 3 ปีข้างหน้า อยู่ใน Link ด้านล่างครับ

จาก 50$ ต่อ net ton เป็น 140$ ต่อ net ton สำหรับเรือที่ผลิตโดยจีน ที่เป็นของบริษัทเดินเรือจีน

จาก 18$ ต่อ net ton เป็น 33$ ต่อ net ton สำหรับเรือผลิตโดยจีน ที่เป็นของบริษัทเดินเรือประเทศอื่นๆ

รายละเอียดการคิดค่าธรรมเนียมค่อนข้างซับซ้อน

แต่เป้าหมายชัดเจน จีน และ เรือที่จีนผลิต

รวมทั้ง อยากให้สหรัฐกลับมาสร้างเรือแบบนี้อีกครั้ง !!!

เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ยาก

ยากที่ประเทศหนึ่งจะผลิตทุกอย่างให้กับตนเอง

เพราะตอนนี้ สหรัฐอยากผลิตทุกอย่าง รถยนต์ ชิป เหล็ก ยา ....

ปกติแล้ว ในทางเศรษฐกิจ

ประเทศหนึ่งจะผลิตสินค้าบางกลุ่ม แล้วอาศัยการค้าในการแลกสินค้าอย่างอื่น

เหมือนกับคนที่เก่งในด้านใดด้านหนึ่ง แล้วนำรายได้ที่ได้มา ซื้อสินค้าที่คนอื่นผลิตมาอุปโภคบริโภค

ถ้าคนคนหนึ่งต้องผลิตทุกอย่างใช้เอง ชีวิตก็จะไม่ง่าย ต้นทุนต่างๆ ก็จะมาก

นอกจากนี้ การที่สหรัฐลดการผลิตด้านเรือเดินทะเลลงมาเรื่อยๆ

คงมาจากต้นทุนทางเศรษฐกิจที่แข่งขันไม่ได้

บางส่วนมาจากต้นทุนที่แพงขึ้นในสหรัฐ

บางส่วนอาจจะมาจากการสนับสนุนในการผลิตของประเทศอื่นๆ

ทำให้ ซื้อมาใช้คุ้มที่สุด

การจะย้อนทวนเข็มนาฬิกาเรื่องนี้ คงไม่ง่าย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่มีเพียง 4 ปี

ที่จะต้องสะสมความชำนาญอีกรอบ ลงทุนสร้างและผลิต

โดยเรือใหญ่ 1 ลำ ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปีในการต่อ

มาดูกันครับว่า สหรัฐจะสำเร็จในเรื่องนี้หรือไม่

ท้ายสุด คงต้องเลือกเอาเพียงบางอุตสาหกรรมที่จำเป็นจริงๆ ไว้ในสหรัฐ

และบางส่วน ไว้ที่ประเทศพันธมิตรที่สหรัฐเชื่อใจ

#มุมมองดรกอบ #Trump #TradeWar2025 #ContainerShip #ข่าววันนี้ #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์