เมื่อวันที่ 18 เม.ย.68 ในที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพที่มี พลเอกทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ประธาน ได้มีการกำหนดแนวทางการนำ “หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา”ของ ป.ป.ช. มาปรับใช้ในหลักสูตรของ กลาโหม
พลเอก พงศ์เทพ แก้วไชโย ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (ผบ.สปท.) กองบัญชาการกองทัพไทย ได้ชี้แจง ต่อ ที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ว่า สืบเนื่องจากการทุจริต คอรัปชั่น ตามที่ปรากฏในข่าว พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รมช.กลาโหม จึงสั่งการให้ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการกำหนดนโยบายการพัฒนากำลังพลด้านการศึกษาอบรมและการฝึก รวบรวมข้อมูล และกำหนดแนวทางในการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในหลักสูตรการศึกษาที่ ป.ป.ช. จัดทำ นำมาปรับใชการฝึกอบรมของกระทรวงกลาโหม อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นไปตามมาตรฐานที่ ป.ป.ช.กำหนด
พลเอก ทรงวิทย์ จึงได้มีดำริให้จัดการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนการกำหนดนโยบายการพัฒนากำลังพล ด้านการศึกษาอบรมและการฝึกของ กห. ครั้งที่ 2/2568 เมื่อ10เมษายน 2568
โดยที่ประชุมมีมติกำหนดแนวทางฯ ดังนี้ 1.ให้หลักสูตรผลิต และหลักสูตรตามแนวทางรับราชการของ กห. ทุกหลักสูตร จัดการเรียนรู้หลักสูตรต้านทุจริต ศึกษา ตามแนวทางที่ ป.ป.ช.กำหนด ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. ในการประชุม ครม. ครั้งที่21/2561 วันที่22 พ.ค. 2561 เรื่อง หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ
2. ให้สถาบันการศึกษาหรือหน่วยจัดการฝึกอบรมพิจารณาคัดเลือกหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ที่สอดคล้อง กับหลักสูตรที่หน่วยจัดอบรม จากแพลตฟอร์มของ ป.ป.ช. และกำหนดให้ การผ่านการเรียนรู้และการทดสอบตามเกณฑ์ของหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษาดังกล่าว เป็นคุณสมบัติในการสำเร็จหลักสูตรการศึกษาหรือหลักสูตรฝึกอบรม
3.ให้ สปท. และ กรมยุทธศึกษา เหล่าทัพ รายงานผลการจัดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาของสถาบันการศึกษาและหน่วยจัดการฝึกอบรม เสนอ อนุกรรมการฯ ด้านการศึกษาอบรมและคณะกรรมการฯ
4.ให้ บก.ทท. และเหล่าทัพ จัดกิจกรรมต่อต้านการทุจริต และกำหนดกำลังพลกลุ่มเป้าหมายให้เข้าเรียนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในแพลตฟอร์มของ ป.ป.ช. โดยมุ่งเน้นหน่วยที่มีความเสี่ยงสูง กำหนดชั้นยศและอัตราส่วนผู้เข้ารับการอบรมให้สอดคล้องกับนโยบาย เพื่อปลุกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ในการต่อต้านการทุจริต
5. บันทึกความเข้าใจระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ กห. ที่ประชุมเห็นชอบ ขอบเขตในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ กห. จำนวน 14 ข้อ เพื่อเสนอให้ กห. พิจารณาดำเนินการต่อไป
และให้ บก.ทท. และเหล่าทัพ นำไปพิจารณาจัดทำแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อกองทัพ และ กห. บก.ทท. ทบ. ทร. ทอ.
แนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนากำลังพล ในการบูรณาการการศึกษาและการฝึกของกองทัพไทยในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
พลเอก ทรงวิทย์ ได้ให้แนวทาง. ให้เหล่าทัพนำเสนอความต้องการและแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนากำลังพล ในระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง พร้อมพิจารณาความเหมาะสมในการบูรณาการการศึกษาของกองทัพไทยในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
และ ให้ สปท. พิจารณาจัดทำเวิร์กชอปเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อรายงานของคณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา ทั้ง
2 ฉบับ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดทำนโยบาย โดยพิจารณาว่าเห็นชอบในหลักการหรือไม่ และควรเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนใด
3.ให้แต่ละเหล่าทัพเตรียมข้อมูลการฝึกกำลังพลและแผนการฝึก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาพรวมการดำเนินการของแต่ละเหล่าทัพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการบูรณาการงานด้านการศึกษาอบรมและการฝึกในภาพรวมของ กห. รวมถึงพิจารณาความสอดคล้องกับ White Paper ของกระทรวงกลาโหม