Pi Daily ธนาคารแห่งประเทศไทยออกรายงานเกี่ยวกับผลกระทบสงครามการค้าระหว่าง เป็นห่วงเศรษฐกิจไทยและ Sector Electronics แต่คล้ายกับส่งสัญญาณว่าอาจผ่อนคลายนโยบายการเงิน บวกกับกลุ่ม Non Bank
วันที่ 18 เมษายน 2568 บล.พาย เผยว่า ตลาดหุ้น Dow Jones เมื่อคืนปิดลบ 527 จุด (-1.3%) ถูกกดดันจากหุ้น United Health หลังจากรายงานผลประกอบการและรายได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ ด้านราคาน้ำมันดิบ BRT ปิดบวก 3.2% ได้แรงหนุนจากความหวังว่าสหรัฐฯและ EU จะบรรลุข้อตกลงการค้าร่วมกัน
เมื่อคืนที่ผ่านมาตัวเลขสหรัฐฯที่รายงานประกอบไปด้วยผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ 2.15 แสนรายดีกว่าที่ Bloomberg Consensus คาดหมายไว้ที่ 2.25 แสนราย รวมไปถึงยอดสร้างบ้านใหม่ที่ 1.3 ล้านหลังคาเรือนแต่ต่ำกว่าคาดที่ 1.42 ล้านหลังคาเรือน โดยใบขออนุญาตก่อสร้างอยู่ที่ 1.48 ล้านใบอนุญาตดีกว่าคาดที่ 1.45 ล้านหลังคาเรือน แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยสงครามการค้ายังคงกดดันบรรยากาศการลงทุน ทำให้ตลาดหุ้นยังเคลื่อนไหวอย่างจำกัด สอดคล้องกับตลาดพันธบัตรที่ Bond Yield ทรงตัว แต่ค่าเงิน Dollar สหรัฐฯนั้นยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องสะท้อนถึงนักลงทุนยังไม่มั่นใจกับสหรัฐฯ
ด้านราคาทองคำนั้นระหว่างวันมีการปรับฐานลงบ้างแต่ก็กลับมาฟื้นตัวได้สะท้อนถึงความกังวลยังคงอยู่ ส่วนหนึ่งนักลงทุนอาจไม่มั่นใจกับรัฐบาลสหรัฐฯกับธนาคารกลาง หลัง Trump ออกมาระบุว่า Jerome Powell ควรถูกปลดได้แล้ว แม้กระทั่ง ECB ยังปรับลดดอกเบี้ย ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐฯก็ปรับลงตามราคาน้ำมัน แต่ FED นั้นกลับทำแต่รายงานที่ไม่เป็นประโยชน์ใดๆ
สำหรับสงครามการค้าล่าสุด Trump ออกมาให้ข้อมูลว่าไม่ต้องการขึ้นภาษีจีน เพราะอาจทำให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงักและยืนกรานว่าปักกิ่งได้ติดต่อเข้ามาเจรจาหลายครั้งแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในช่วงปี 18 – 19 Trump ก็มักพูดเช่นนี้แต่สุดท้ายก็ยังคงดำเนินสงครามการค้าต่อไป สำหรับปัจจัยในประเทศเมื่อวานที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาระบุถึงผลกระทบจากสงครามการค้ากับประเทศไทยได้ใจความว่าคาดการณ์ส่งออกจะเป็นช่องทางหลักที่รับผลกระทบจาก Tariff แต่ระยะสั้นช่วง 2Q25 จะเห็นการเร่งส่งออกก่อนภาษีนำเข้าจะถูกปรับขึ้น ผลกระทบจึงน่าจะไปเห็นในช่วง 2H25 ปัจจุบันส่งออกไปสหรัฐฯเทียบเท่ากับ 22% GDP และ 18% ของส่งออกไทย Sector หลักๆที่ประเมินรับผลกระทบได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารแปรรูป และอาจรวมไปถึงสินค้าที่ไทยอยู่ใน Supply Chain เช่น ยาง เหล็ก เคมีภัณฑ์
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงและอาจมีผลต่อการท่องเที่ยวจากเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็จะปรับลดลงแต่จะเป็นผลดีกับเงินเฟ้อ โดยรวมแล้วมองเป็นลบกับหุ้นในกลุ่ม Electronics (DELTA HANA) แต่มองอีกนัยยะหนึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจัยอื่นๆวานนี้ BBL รายงานผลประกอบการ 1Q25 สูงกว่าคาดหมายไว้ที่ 7% สาเหตุเพราะกำไรสุทธิจากเงินลงทุนสูงกว่าคาด แม้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิอ่อนแอและสำรองหนี้สูงขึ้นก็ตาม วันนี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1130 – 1150 ทั้งนี้ เชิงกลยุทธ์การลงทุนยังคงเน้นย้ำเลือกเฉพาะตัวในหุ้นที่แข็งแกร่งทางธุรกิจและเป็นผู้นำอุตสาหกรรม อาทิ ค้าปลีก (BJC CRC CPALL) ศูนย์การค้า (CPN) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB) การเงิน (MTC SAWAD) อาหาร (CPF) โรงพยาบาล (BDMS)
CRC (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 29.00 บาท)
ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวจากการวางรากฐาน Ecosystem ของธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม แต่ระยะสั้นเรามองว่าบริษัทดำเนินกลยุทธ์การเติบโตแบบอนุรักษ์นิยมมากขึ้น (conservative) ทำให้คาดว่าผลประกอบปี2025 จะมีการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนจากแผนการขยายสาขาที่ชะลอตัวลง และอัตรากำไรขั้นต้นรวมที่มีแนวโน้มลดลงจากสัดส่วนยอดขายที่มีอัตรากำไรขั้นต้นต่ำเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงยังคงเป็นปัจจัยหนุนผลประกอบการปี 2025
CPALL (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 80.00 บาท)
แนวโน้ม SSSG มีทิศทางแข็งแกร่งกว่ากลุ่มต่อเนื่อง คาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ 6.5 พันล้านบาท (+8%YoY, -6%QoQ) หนุนจากยอดขายสาขาเดิมของ 7-11 ที่คาดเติบโต 2% YoY จากยอดขายกลุ่มอาหารพร้อมทานและ Personal Care ที่เติบโตดี รวมกับการเติบโตของกำไรของ CPAXT จากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (Makro +0.5% และ Lotus’s +0.5%) ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไร 2Q25 จะเติบโต YoY ต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย Ready-to-eat และ Ready-to-drinks
#ธปท #สงครามการค้า #ข่าววันนี้ #ทรัมป์ #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์ #SET #ราคาทอง #Tariff