ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า สงกรานต์ในจังหวัดแพร่ ถือเป็นจังหวัดที่มีประเพณีที่ยาวนานที่สุดในภาคเหนือ คือส่งท้าย ในวันที่ 17 เมษายน  แต่เดิม ในแต่ละอำเภอ ได้จัดประเพณีสงกรานต์ของแต่ละพื้นที่ แต่หลังจากที่จังหวัดแพร่มีการบูรณาการร่วมกัน เพื่อที่จะผลักดัน ในเรื่องเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และในต้นทุนทุกด้านของจังหวัดแพร่  เทศกาลสงกรานต์จึงได้มีการ เพอ่มสีสัน ดึงดูดความสนใจ และนำอัตลักษณ์ ของแต่ละพื้นที่ ออกมานำเสนอ ให้เกิดการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้สึกถึงอยากจะมาสัมผัสสงกรานต์เมืองแพร่

 

โดย ดร .วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่  กล่าวว่า ที่ผ่านมา การสืบสานประเพณีสงกรานต์ เมืองแพร่ เราทำกันมาทุกปี แต่การยกระดับ เมืองแพร่ให้เป็นเมืองหลักของการท่องเที่ยว เราร่วมกันบูรณาการกับส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ นำเอาความโดเด่นของแต่ละอำเภอ มาผสมผสาน กับประเพณีสงกรานต์ ที่ไม่เคยมีมาก่อน นำร่องตั้งแต่ปี 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ มหัศจรรย์สงกรานต์เมืองแพร่  ความมหัศจรรย์นั้น จะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั้งในและต่างประเทศ ให้เข้ามายังจังหวัดแพร่

ซึ่งความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร เช่นสงกรานต์ อำเภอวังชิ้น ที่จัดทุกวันที่ 13 เมษายน  ซึ่งเป็นอำเภอไกลปืนเที่ยง แต่ได้รับผลตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดแพร่ และ นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศที่เดินทางมาที่อำเภอวังชิ้น เนื่องจากเราหยิบเอาอัตลักษณ์ของพื้นที่ที่โดดเด่นออกมาสู่สายตานักท่องเที่ยว คือ ขบวนแห่งวิถีขีวิต ชนเผ่า เพราะในพื้นที่อำเภอวังชิ้น มีชนเผ่าหลากหลายทั้งกระเหรี่ยงหูกว้าง อาข่า และอื่นๆ ที่น่าสนใจ เมื่อนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีวิชีวิต จากการแสดงในขบวนแห่แล้ว การอยากจะสัมผัสอย่างลึกซึ้งหรือมากกว่านี้ นักท่องเที่ยวได้กลับเข้ามาท่องเที่ยวในหมู่บ้านชนเผ่าเหล่านี้ ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของมหัศจรรย์สงกรานต์เมืองแพร่ ที่เราพยายามผลักดันและประสบความสำเร็จ

ขณะที่สงกรานต์ที่อำเภอลอง วันที่ 15 เมษายน และอำเภอเด่นชัย วันที่ 16 เมษายน ที่ดึงเอาอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ทั้งอาชีพ การดำรงชีวิต การแต่งกาย หรือเอกลักษณ์สำคัญทั้งเรื่องผ้า หรือการสืบสืบสานภูมิปัญญาในด้านอื่นๆ ออกมาสู่สายตาของนักท่องเที่ยว ในรูปแบบขบวนแห่ เฉกเช่นเดียวกับการท่องเที่ยวรูปแบบต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวกลับมาในพื้นที่ในปีนี้อย่างล้นหลามเช่นกัน  

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในทุกปีวันที่ 17 เมษายน นอกจากจะเป็นการส่งท้ายมหาสงกรานต์ที่ยาวนานที่สุดของจังหวัดในภาคเหนือแล้ว การรดน้ำดำหัว ผู้สูงอายุและผู้ได้รับความเคารพนับถือ เป็นสิ่งที่สืบสานกันมาทุกปี ที่บ้านทุ่งกวาว อำเภอเมืองจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นบ้านพักของ ดร.วรวัจน เอื้ออภิญญกุล สส.พรรคเพื่อไทย ได้เปิดให้ประชาชน และ ผู้ที่มีความรักเคารพ ได้เข้ามารดน้ำดำหัว

อีกทั้งบริเวณถนนเจริญเมือง จะเต็มไปด้วยผู้คน นักท่องเที่ยวที่สวมใส่เสื้อหม้อห้อมอัตลักษณ์การแต่งกายที่โดดเด่นของคนแพร่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Indifo Blue City  คลื่นมหาชนต่างเล่นน้ำ ชมขบวนแห่อย่างสนุกสนาน เหมือนทุกปี ปีนี้เป็นอีกปีที่นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีที่ผลักดันให้แพร่เป็นเมืองหลัก ไม่ใช้เมืองรองในทุกๆ ด้านอีกต่อไป