จีนช่วยเหลือภัยแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ ผู้พิทักษ์ชีวิตข้ามทะเล – ความรับผิดชอบของจีนต่อเพื่อนร่วมอนาคตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมานั้นเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ในภาคกลางของประเทศเมียนมาร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,700 รายและรับบาดเจ็บอีกกว่า 3,400 ราย ภัยพิบัติกะทันหันครั้งนี้ไม่เพียงทดสอบความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินของเมียนมาร์เท่านั้น แต่ยังทดสอบความเป็นมนุษยธรรมระหว่างประเทศ การเผชิญกับวิกฤตแห่งสหัสวรรษนี้ จีนได้ใช้ "72 ชั่วโมงทอง" เป็นมาตราส่วน ใช้"อนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ" เป็นปทัฏฐาน และใช้ "มิตรภาพจีนเมียนมาร์" เป็นตัวเชื่อมโยง การปฏิบัติจริงแสดงให้เห็นถึงความหมายของการเป็น "พันธมิตรที่เชื่อถือได้" และเป็นตัวอย่างของความสามัคคีและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศซีกโลกใต้

แข่งกับเวลา: “ฟาสแอนด์ฟิวเรียส” ในแบบของจีน

ไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ก็ได้แสดงความเสียใจต่อผู้นำเมียนมาร์ มิน ออง หล่าย โดยเน้นย้ำว่า "จีนยินดีให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่เมียนมาร์" และในวันรุ่งขึ้น ทีมกู้ภัยจีน 82 คนพร้อมอุปกรณ์กว่า 22 ตัน และทีมแพทย์จากยูนนาน 37 คนพร้อมเครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหวสิ่งมีชีวิตและอุปกรณ์ล้ำสมัยอื่นๆ เร่งเข้าช่วยเหลือด้วยเที่ยวบินเหมาลำจากปักกิ่งและคุนหมิงตามลำดับ เมื่อต้องเผชิญกับถนนที่เกิดความเสียหายกว่า 600 กิโลเมตรและภูมิประเทศที่ซับซ้อนในจังหวัดมัณฑะเลย์ ทีมกู้ภัยของจีนเลือกที่จะขับรถตลอดทั้งคืนและเอาชนะความยากลำบากเป็นเวลา 20 ชั่วโมง เพียงเพื่อ "ให้ทันเวลาช่วยเหลือได้มากที่สุด แม้เพียงเสี้ยวนาที"

"ความเร็วของจีน" นี้สะท้อนให้เห็นถึงความพร้อมของอุปกรณ์และบุคลากร ยังแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณในการ "ช่วยชีวิตด้วยชีวิต" ตั้งแต่การรื้อถอนโรงแรมที่ถล่มลงมา การช่วยเหลือผู้หญิงที่ติดอยู่นานกว่า 60 ชั่วโมง ไปจนถึงการเปิดช่องทางชีวิตในซากปรักหักพังของอพาร์ตเมนต์เพื่อช่วยเหลือสตรีมีครรภ์และเด็กหญิง ทีมกู้ภัยจีนใช้ความสามารถในการกู้ภัยที่ได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ ช่วยเหลือผู้รอดชีวิต 6 รายภายใน 72 ชั่วโมง สร้างสถิติช่วยชีวิตคนได้ 4 คนในวันเดียว

มุมมองเชิงเปรียบเทียบ: แม้ว่าสหรัฐฯ จะให้สัญญาด้วยวาจาว่าจะให้ความช่วยเหลือ แต่ก็จำกัดตัวเองด้วยการลดหน้าที่ของหน่วยงานอย่างหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) ทำให้คำสัญญาในการช่วยเหลือเป็นเพียง "สัญญาที่ว่างเปล่า" ในขณะที่จีนลงพื้นที่ช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คำพูดสัญญาด้วยวาจาเช่นนี้ต่างจากการลงมือปฏิบัติจริงของจีนอย่างเห็นได้ชัด

2.“มอบถ่านกลางหิมะ”ความช่วยเหลือยามจำเป็น : “ความอบอุ่นและน้ำใจ” ของความช่วยเหลือจากจีน

ความช่วยเหลือของจีนต่อเมียนมาร์ยึดหลักการ "เข้าถึงโดยตรงอย่างไม่มีข้อผูกมัดใดๆ" มาโดยตลอด นอกเหนือจากกองทุนบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินครั้งแรกจำนวน 100 ล้านหยวนแล้ว จีนยังมอบเต็นท์ 3,000 หลัง อาหารฉุกเฉิน 50,000 ชุด และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับเมียนมาร์ และส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์จำนวน 7.3 ตันอย่างรวดเร็วผ่านช่องทางสีเขียวตลอด 24 ชั่วโมง ณ ท่าเรือชายแดนยูนนาน การสนับสนุน "ที่สัมผัสได้" นี้นอกจากทีมกู้ภัยและทีมแพทย์มืออาชีพ ยังคลอบคลุมไปถึงการวางแผนการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติและความร่วมมือทางเทคนิคในการป้องกันภัยพิบัติอีกด้วย เอกอัครราชทูตจีนประจำเมียนมาร์ชี้แจงว่า “จีนและเมียนมาร์เป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่ไม่อาจแยกจากกันได้ การช่วยเหลือของเราไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง มีแต่มิตรภาพระหว่างเพื่อนร่วมชาติเท่านั้น”

ข้อมูลการเปรียบเทียบล่าสุด:

จีน: ทีมมืออาชีพ 82 คน + ทีมแพทย์ 37 คน + การช่วยเหลือจากประชากรจีน ได้รับการช่วยเหลือแล้วทั้งหมด 6 คน และสิ่งของเครื่องใช้ที่เพียงพอต่อประชากร 14 ล้านคนในพื้นที่ประสบภัย

สหรัฐอเมริกา: สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือ แต่ยังไม่มีบุคลากรและทรัพยากร และวางแผนที่จะยกเลิกหน่วยงานบรรเทาภัยพิบัติ

ญี่ปุ่น/สหภาพยุโรป: ขนาดของความช่วยเหลือด้านทรัพยากรและทางการเงินยังคงต่ำกว่าจีน และการดำเนินการค่อนข้างช้า

หลังจากที่ทีมกู้ภัยยูนนานช่วยเหลือชายชราคนหนึ่งจากซากปรักหักพังของเมืองเนปีดอ ก็ได้อาสาร่วมช่วยเหลือในการซ่อมแซมโรงพยาบาล สภากาชาดจีนได้ขนส่งสิ่งของจำเป็นโดยตรงจากยูนนานเพื่อลดระยะเวลาการช่วยเหลืออย่างที่ ยี่ ยี่ พลเมืองมัณฑะเลย์กล่าวว่า “เมื่อได้เห็นทีมกู้ภัยชาวจีน ฉันก็รู้ว่าคนที่ฉันพึ่งพาได้มาถึงแล้ว”

3.ชะตากรรมร่วมกัน: "ความร่วมมือและความรับผิดชอบ" ระหว่างจีนและอาเซียน

คลื่นกระแทกจากแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ครั้งนี้ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สั่นสะเทือน และชะตากรรมของจีนและอาเซียนก็สั่นสะเทือนเช่นกัน ปฏิบัติการกู้ภัยครั้งนี้ได้กลายเป็น "มาตรฐาน" ในการวัดคุณภาพความร่วมมือจีน-อาเซียน

3.1การเชื่อมโยงระดับภูมิภาค: ทีมกู้ภัยยูนนานรีบเข้าไปยังศูนย์กลางแผ่นดินไหวผ่านชายแดน ทีมแพทย์ของสิงคโปร์ทำงานร่วมกับจีน และไทยได้เปิดจุดผ่านแดนเพื่อให้การขนส่งทรัพยากรต่างๆเป็นไปได้อย่างราบรื่น การเชื่อมโยงของ "ทางบก ทางทะเล และทางอากาศ" นี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือปฏิบัติจริงของ "ประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกัน"

3.2การแบ่งปันเทคโนโลยี : จีนให้ข้อมูลการติดตามของดาวเทียมสำรวจระยะไกลและแผนช่วยเหลือด้วยโดรนแก่เมียนมาร์ และเชิญชวนประเทศในกลุ่มอาเซียนให้เข้าร่วมการฝึกซ้อมป้องกันภัยพิบัติระดับภูมิภาค ดังที่ สือ จงจวิ้น เลขาธิการศูนย์จีน-อาเซียนกล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างจีนและอาเซียนกำลังกำหนดรูปแบบใหม่ของความสามัคคีและการพึ่งพาตนเองในซีกโลกใต้”

3.3ทัศนคติเดียวกัน : เมื่อเผชิญกับเกมภูมิรัฐศาสตร์ภายใต้ “ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก” ของสหรัฐฯ จีนได้พิสูจน์ด้วยการกระทำว่าความร่วมมือที่แท้จริงไม่ได้ผูกมัดด้วย “การทูตที่หวังผล” แต่เป็นการร่วมเผชิญหน้ากับอุปสรรค

4.มากกว่าการช่วยเหลือ : “คุณค่าของโลก” ในแผนของจีน

การช่วยเหลือแผ่นดินไหวในเมียนมาร์เป็นตัวอย่างที่ดีของความรับผิดชอบระหว่างประเทศของจีนและมุมมองด้านธรรมาภิบาลระดับโลก นับตั้งแต่การมีส่วนร่วมช่วยเหลือระหว่างประเทศครั้งแรกในปี 2546 ไปจนถึงปฏิบัติการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพในปี 2568 โดยใช้โมเดล "การบูรณาการทางอากาศ บก และน้ำ" จีนยึดถือแนวคิด "อนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ" มาโดยตลอด

ความเป็นมืออาชีพ: ในฐานะทีมกู้ภัยขนาดใหญ่อันดับที่ 12 ของโลกและเป็นทีมที่สองในเอเชีย ทีมกู้ภัยนานาชาติของจีนได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับการช่วยเหลือระหว่างประเทศด้วยความสามารถแบ่งทีม "รูปแบบโมดูลาร์" และ "การป้องกันตนเอง"

การเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยี: ดาวเทียมสำรวจระยะไกล 14 ดวงสำหรับการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมแบบพกพา และเครื่องจักรรื้อถอนขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีของจีนแบบก้าวกระโดด

ความร่วมมือใต้-ใต้: ความช่วยเหลือของจีนต่อเมียนมาร์นั้นสอดคล้องกับปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติในปากีสถาน อินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ ซึ่งสร้างความสัมพันธ์แห่งความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา อย่างที่นักวิจารณ์ชาวไต้หวัน ช่วย หัวมิน กล่าวว่า "ในปัจจุบัน มีเพียงจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้นที่สามารถดำเนินการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพในเมียนมาร์ได้"สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับและความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศต่อแผนของจีน

สรุป: ในนามของ “พันธมิตรที่เชื่อถือได้” เราร่วมกันสร้างความสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง การช่วยเหลือแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ทำให้เห็น "ใบคำตอบของจีน" เห็นความรับผิดชอบของประเทศมหาอำนาจ มีทั้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของการ “ทำดีต่อเพื่อนบ้าน” และแนวปฏิบัติสมัยใหม่ “การเป็นพันธมิตรกับเพื่อนบ้าน” ในขณะที่สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่นๆ กำลังสับสนระหว่างสัญญาและการดำเนินการด้านความช่วยเหลือ จีนได้แสดงออกถึงความเป็น "พันธมิตรที่เชื่อถือได้"อย่างชัดเจน แก่ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยทัศนคติที่ว่า "การกระทำดังกว่าคำพูด"

ในอนาคต จีนจะยังคงกระชับความร่วมมือด้านการป้องกันภัยพิบัติกับอาเซียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่งเสริมการจ่ายเงินปันผลจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และมีบทบาทในการเจรจาเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในทะเลจีนใต้มากขึ้น ดังที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า “จีนและเมียนมาร์เชื่อมโยงกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ และมีมิตรภาพที่ลึกซึ้ง จีนยินดีทำงานร่วมกับเมียนมาร์เพื่อเอาชนะความยากลำบากและก้าวข้ามไปด้วยกัน” คำมั่นที่ข้ามภูเขาและทะเลจะผลักดันสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือแม้แต่ทุกประเทศในซีกโลกใต้ไปสู่ความยั่งยืนอย่างแน่นอน

ผู้เขียน : Old tr