เมื่อวันที่ 25 มีนาคม สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 โดยวันที่ 25 มีนาคม 2568 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้สาเหตุที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจาก 1) ปัจจัยทางสภาพอุตุนิยมวิทยา จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าอัตราการระบายอากาศในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่างมีค่าต่ำติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 2) การเผาในที่โล่ง ซึ่งจากการติดตามจุดความร้อนของ GISTDA พบว่าวันที่ 24 มีนาคม 2568 จังหวัดนครราชสีมามีจุดความร้อนเกิดขึ้นรวม 33 จุด เพิ่มขึ้นจากวันที่ 23 มีนาคม 2568 ที่พบจุดความร้อนจำนวน 31 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด 20 จุด รองลงมาได้ได้แก่พื้นที่ สปก. จำนวน 5 จุด ป่าสงวน 5 จุด และพื้นที่อื่นๆ 3 จุด ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงใกล้ฤดูปิดหีบของโรงงานน้ำตาลและเกษตรกรกำลังอยู่ในช่วงเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
นางสาวกลุชา ธนะขว้าง ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 กล่าวว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 ได้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และแจ้งเตือนผ่านทางช่องทางต่างๆ อาทิ เพจ facbook กลุ่มไลน์ของส่วนราชการในระดับจังหวัด เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสื่อสารและแจ้งเตือนประชาชนที่มีความเสี่ยง (ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว) จึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กผ่านแอพลิเคชั่น Air4thai ดูแลสุขภาพตัวเอง โดยลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ตลอดเวลาที่อยู่ภายนอกอาคาร
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีเกินค่ามาตรฐานอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ติดต่อกันมาตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 โดยวันที่ 25 มีนาคม 2568 ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้สาเหตุที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจาก 1) ปัจจัยทางสภาพอุตุนิยมวิทยา จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่าอัตราการระบายอากาศในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่างมีค่าต่ำติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง 2) การเผาในที่โล่ง ซึ่งจากการติดตามจุดความร้อนของ GISTDA พบว่าวันที่ 24 มีนาคม 2568 จังหวัดนครราชสีมามีจุดความร้อนเกิดขึ้นรวม 33 จุด เพิ่มขึ้นจากวันที่ 23 มีนาคม 2568 ที่พบจุดความร้อนจำนวน 31 จุด โดยพบในพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุด 20 จุด รองลงมาได้ได้แก่พื้นที่ สปก. จำนวน 5 จุด ป่าสงวน 5 จุด และพื้นที่อื่นๆ 3 จุด ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงใกล้ฤดูปิดหีบของโรงงานน้ำตาลและเกษตรกรกำลังอยู่ในช่วงเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
นางสาวกลุชา ธนะขว้าง ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 กล่าวว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 ได้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และแจ้งเตือนผ่านทางช่องทางต่างๆ อาทิ เพจ facbook กลุ่มไลน์ของส่วนราชการในระดับจังหวัด เครือข่ายภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อสื่อสารและแจ้งเตือนประชาชนที่มีความเสี่ยง (ผู้สูงอายุ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว) จึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กผ่านแอพลิเคชั่น Air4thai ดูแลสุขภาพตัวเอง โดยลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ตลอดเวลาที่อยู่ภายนอกอาคาร