เมื่อวันที่ 22 มี.ค.68 นายบรรยง พงษ์พานิช ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ประเทศไทย ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Banyong Pongpanich" ระบุข้อความว่า "ซื้อหนี้เสีย” ออกจากระบบ…ดีหรือไม่?
    
ขออนุญาตยกตัวอย่างกรณีการขายหนี้ของปรส. เมื่อปี 2541@…
   
หนี้เสีย (รวมดีบางส่วน) ของ 56 บริษัทเงินทุน รวมประมาณ 850,000 ล้านบาท ถูกประมูลขาย ได้เงินรวมประมาณ 250,000 ล้านบาท ขาดทุนเกือบ 600,000 ล้าน เป็นเพราะ…

1.มีการย้ายหนี้ ซึ่งข้อมูลเชิงลึก(nondocumented) และความสัมพันธ์ไม่ได้ย้ายตามไปด้วย

2. พวก Vulture funds(distressed asset investors)มีความเสี่ยงสูง จึงมีต้นทุนการเงินสูง มีrequired rate of return 20 - 25% และ leverageได้น้อย

3.ต้องมีการสร้างoperation ตั้งองค์กรเพิ่ม ทำให้เกิดหน่วยงานซ้ำซ้อน เพิ่มต้นทุนดำเนินการของระบบ

4.เกิดmoral hazard ในวงกว้างทันที เพราะทุกคนอยากเป็น NPL เพราะหวังว่าจะได้ลดหนี้ล้างหนี้โดยง่าย เกิด strategic NPLsอย่างมโหฬารขึ้นทันที หนี้ดีที่ปนอยู่กลายเป็น NPLทันที แถมลุกลามไปถึงสถาบันการเงินที่ยังดำเนินการอยู่ จนในที่สุด NPLของระบบธนาคารไทยพุ่งไปมากกว่า 40%  จนธนาคารเจ๊งไประนาว ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูพุ่งสูงจนเกิน 1.5  ล้านๆบาท
    
ส่วนผลการดำเนินงานของพวกvulture funds ในคราวนั้นก็จะเป็นดังนี้นะครับ พวกAMCs ของธนาคารเองมักจะได้เงินคืนมากสุด ตามด้วยAMCs ของเอกชน ส่วนของรัฐ(แหะๆ)ย่อมรั่วไหลหละหลวมเป็นธรรมดา ส่วน ประธานและเลขาธิการปรส.ก็เลยต้องสู้คดีเกือบยี่สิบปีทั้งๆที่ไม่ได้โกงสักบาท(ถ้ายังจะทำไม่ต้องมาตามผมนะครับ…คราวนั้นก็เกือบไปละ)
    
ที่เขียนนี่ไม่ได้คัดค้านนะครับ เพียงแค่ยกประสบการณ์ชาติให้ทราบ เพื่อว่าจะได้ระมัดระวังให้มากไว้ถ้ายังจะทำ

ก็ต้องออกแบบรายละเอียดมาตรการให้ดี ประวัติศาสตร์จะได้ไม่ซำ้รอย และผมก็ไม่ได้ประนามมาตรการเมื่อปี2541ด้วยนะครับ ออกจะเห็นด้วยๆซ้ำ แต่ต้นทุนมันสูง
    
อ้อ…สุดท้ายขออนุญาตเปรียบเทียบกับนโยบาย”จำนำข้าว” ที่ถึงจะเจตนาดี ทำให้ชาวนาได้รับประโยชน์ไปประมาณ 200,000 ล้านบาท แต่รัฐเสียหายไป500,000ล้าน ทั้งๆที่โกงกันแค่ไม่กี่หมื่นล้าน เพราะไปบิดเบือนระบบเกิดต้นทุนแฝง(ต้นทุนดำเนินการ+ข้าวเน่าข้าวเสีย) ต้องติดคุก โดนยึดทรัพย์กันระนาว ทั้งๆที่บางคนไม่ได้โกงด้วยซ้ำ