โคราช ผสานพลังเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 68 พาเกษตรกรฝ่าวิกฤตมันสำปะหลัง
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง แห่งประเทศไทย ตำบลห้วยบง อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมนายมนัส เสียงก้อง เกษตรจังหวัดนครราชสีมา นายปัญญา บุญบันดาลฤทธิ์ นายกสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ร่วมจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day)ประจำปี พ.ศ. 2568 ในงานมีสถานีเรียนรู้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการปลูกมันสำปะหลังให้กับเกษตรกร สถานีเรียนรู้ที่ 1 ปลูกมันสำปะหลังต้องรู้ ดินดี ปุยพอดี มีกำไร สถานีเรียนรู้ที่ 2 ปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังและพันธุ์ต้านทาน สถานีเรียนรู้ที่ 3 รู้เท่าทัน ป้องกันโรคใบด่างมันสำปะหลัง สถานีเรียนรู้ที่ 4 วิธีการขยายพันธุ์มันสำปะหลังแบบเร่งรัด (X20 และ X80) สถานีเรียนรู้ที่ 5 แปรรูปอาหารสัตว์จากใบมันสำปะหลังนอกจากนี้ยังมี เวทีเสวนา "สถานการณ์มันสำปะหลัง พืชเศรษฐกิจภาคอีสาน" นิทรรศการพืชเศรษฐกิจจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4 ชนิดพืชนิทรรศการของหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสถาบันการศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 นิทรรศการ โดยมีเกษตรกรเข้าเรียนรู้ จำนวนทั้งสิ้น 300 ราย ในพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมา 210 ราย ชัยภูมิ 30 ราย ขอนแก่น 30 ราย และบุรีรัมย์ 30 ราย
เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ด้านเกษตร นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร และการจัดฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรมและองค์ความรู้ที่เห็นว่าเหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ให้เกษตรกรที่มาร่วมงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร โดรนการเกษตร และผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์และเคมีและมีการแจกตัวอย่างปุ๋ย รวมทั้งนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มอบหมายให้ให้สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 4 ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมาจัดงาน Field day โดยโจทย์คือ "มันสำปะหลัง" เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ เป็นวัตถุดิบในการผลิต
นายวีรศักดิ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า งานนี้เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เข้ามาเรียนรู้ รับทราบ เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ ช่องทางการตลาด ข้อมูลข่าวสาร การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตลอดจน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรด้วยกัน แป้งมันสำปะหลังที่ส่งออกไปยังตลาดโลก อีกทั้งยังแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น เอทานอล อาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาการลดลงของคุณภาพดินจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ความผันผวนของราคาผลผลิตรวมถึงโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น โรคใบด่างมันสำปะหลังที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยการวิจัยการสนับสนุนจากภาครัฐ และการส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืนในการแก้ไข