สุรินทร์-เจ๋ง ส่งเสริมชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมหลังทำนา โครงการร้อยสีพันลายไหมสุรินทร์พันล้าน พบข้อมูลซื้อไหมจากที่อื่นปีละ 2,000 ล้านบาท มาทอ หวังลดภาระค่าใช้จ่าย ปลูกเองทอเอง ขายเองดีกว่า

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.68 ที่ผ่านมา ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโชกเหนือ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์  ได้มีการจัดงาน“จังหวัดสุรินทร์สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568  โดยมี นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และมีหัวหน้าส่วนราชกาลทุกภาคส่วนมาร่วมงานในครั้งนี้  โดยภายในงาน จะมีการจัดบูธสิ้นค้าของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งของหมู่บ้านอำปึลหมู่ที่3 ตำบลโชกเหนือ จังหวัดสุรินทร์ เป็นหนึ่งในหมูบ้านตัวอย่าง ที่มีการปลูกใบหม่อนเลี้ยงไหม ผลิตผ้าฝ้ายเมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปที่  หมู่บ้าอำปึล หมู่ที่3 ตำบลโชคเหนือ อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ พร้อมเจ้าหน้าที่หัวหน้าส่วนราชการเข้าเยี่ยมชมสวนปลูกต้นหม่อน ที่ “ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการปลูกหม่อนไหม”อำเภอลำดวน โดยมีพื้นที่กว้างถึง 5 ไร่ ภายใต้โครงการ “ไหมพันล้าน แก้จนคนสุรินทร์” โดยพันธุ์ของต้นหม่อนไหมเป็นพันธุ์บุรีรัมย์ 601  ซึ่งต้นพันธุ์นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นหัวใจหลักของการผลิตเป็นผ้าไหมสวยงานที่สวมใส่กัน เพราะใบหม่อนเป็นอาหารหม่อนไหมเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และผลิตใยฝ้ายที่มีคุณภาพ ในการนำใยฝ้ายไปผลิตผ้าไหมสวยงามของขึ้นชื้อจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นผ้าไหมที่สวยงามที่สุดในโลก

นางเสมียน สุขประเสริฐ อายุ 46 ปี กลุ่มชาวบ้านที่ปลูกต้นหม่อนไหมไหมพันล้าน แก้จนคนสุรินทร์  เล่าว่า โครงการแห่งนี้ปลูกต้นหม่อนไหมจำนวน 5 ไร่ โดยมีชาวบ้านที่ร่วมปลูกในโครงการจำนวน 10 คนโดยแบ่งคนละสองงาน พันธุ์ที่ปลูกบุรีรัมย์ 601 เพื่อนำไปเป็นอาหารให้กับตัวหม่อนไหม เพื่อผลิตไหมที่มีคุณภาพ โดยระยะแรกที่เลี้ยงหม่อนไหม 4 วันตัวหนอนหม่อนไหมจะนอน 1 ครั้ง โดยที่ไม่ต้องให้อาหาร หลังจากที่เลี้ยงตัวหม่อนไหมจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต คือใยของฝ้ายได้ในระยะเวลาที่สุขเต็มตัวคือ 21 วัน และจะดูการเปลี่ยนแปลงจะมีสีเป็นสีเหลือง โดยรอบที่แล้วเมื่อช่วงเดือนมกราคม ได้ผลผลิตล็อตแรกสามารถผลิตผ้าไหมไปแล้วได้คนละ 3 ผืน และผลผลิตล่าสุดได้ไหมบริสุทธิ์ คนละ 1 กิโล  6 ขีด โดยใช้เวลา 21 วัน  โดยไหม 1 กิโลสามารถผลิตผ้าไหมได้จำนวน 5 ผืน ซึ่งผ้าไหมมีมูลค่าถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับลายตะกอ ส่วนใหญ่แล้วจะตกอยู่ที่ผืนละ 3,000 บาท โดยตอนนี้จะแบ่งกลุ่มเลี้ยง 3 คนต่อ 2 แผ่น ใช้เวลา21วันในการเก็บเกี่ยว หนึ่งแผ่นจะได้ 3 กิโล 2แผ่น จะได้ประมาณ5-6กิโล และสามารถผลิตผ้าไหมได้ประมาณห้าถึง 18 ผืน นับว่าเป็นการสร้างรายได้ไม่น้อยแก่ชุมชน สมกับชื่อ “โครงการผ้าอร้อยล้านแก้จนคนสุรินทร์”

นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ที่นี่เป็นแปลงปลูกหม่อนที่ทางจังหวัดสุรินทร์ของเรามาส่งเสริมตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2561 ในโครงการแก้จน ปีนี้เราใช้คำว่า “ร้อยสีพันลายไหมสุรินทร์พันล้าน”ซึ่งกำลังส่งเสริมในเรื่องปลูกหม่อน โดยหม่อนไหมกำลังดำเนินการอบรมให้ความรู้ และก็ส่งเสริมให้มอบต้นพันธุ์ แล้วก็หาระบบน้ำให้ ซึ่งก็มีหลายหน่วยที่ช่วยกันอย่างชุดนี้ ทั้งงบจังหวัดแล้วก็ “ สถาบันปิดทองหลังพระ” เข้ามาเสริมในเรื่องน้ำ ซึ่งในปีต่อไปจะทำหลายจุดหลายที่พอสมควร เพราะเราสามารถตั้งงบประมาณเองได้ กำลังทำแผนในเรื่องส่งเสริมการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหม เนื่องจากว่าสุรินทร์ของเรามีครอบครัวที่เกี่ยวข้องประมาณ 67% ของครอบครัวเพราะงั้นถือว่ามีคนที่ได้ประโยชน์จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจำนวนมาก เพราะฉะนั้นในเรื่องหม่อนไว้ก็จะอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด อยู่ในยุทธศาสตร์จังหวัด ทั้งเราได้ทำข้อตกลง MOU กับกรมหม่อนไหมอธิบดีได้มาทำธุรกรรมหน่วยงานต่างๆ ที่จะส่งเสริมการปกครองเลี้ยงไหม ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับต้นน้ำกลางน้ำปลายน้ำ

 นายธวัช ช่วยชูวงศ์  นายอำเภอลำดวน เล่าว่า แปลงปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของอำเภอลำดวน ซึ่งเป็นแปลงต้นแบบของอำเภอลำดวนซึ่งได้ดำเนินการประมาณ 5 ไร่ และก็ได้มาดูจุดที่จะเพิ่มเติมให้กับพี่น้องในพื้นที่ที่จะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอีก 40 ไร่ ซึ่งโครงการก็ได้ดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ 2561 เป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมเพราะว่าปีนึงเราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการไปซื้อไหมมาไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทในจังหวัดสุรินทร์ ก็จะทำให้พี่น้องเราได้ประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ และมีเงินหมุนเวียนในจังหวัด แล้วก็มีค่าครองชีพที่ดีขึ้น โดยปกติแล้วอาชีพทำนาในอำเภอลำดวน ก็ทำให้สูญเสียในเรื่องของน้ำในการทำนาปรังด้วย ซึ่งอาชีพที่จะส่งเสริมหลังการทำนา ก็คือการปลูกมม่อยเลี้ยงไหม ซึ่งจะทำให้พี่น้องได้ลืมตาอ้าปากได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้ว่าและคณะที่ได้มาส่งเสริมโครงการดีๆให้กับพี่น้องชาวอำเภอลำดวน