ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่ว่า คนในชุมชนหลายชุมชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ ต่างมีรายได้เสริมจากการปลูกอัญชัญ และสมุนไพรอื่นๆ ส่งให้กับผู้ผลิตเครื่องสำอาง และ ผลิตภัณฑ์ออแกนิก เพื่อส่งออกไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยโรงงานผลิตที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดแพร่ ในนาม บริษัท อัญญาเฮิร์บ จำกัด โดยมีนางสาว โสภิตา กฤตาวรนนท์ เจ้าของกิจกรรม ที่ริเริ่มทำธุรกิจเมื่อปี 2551 โดยการทำกาแฟพร้อมดื่ม และได้นำกากที่เหลือจากการทำกาแฟพร้อมดื่มนำมาเพิ่มมูลค่าด้วยงานวิจัยนวัตกรรม และได้รับรางวัลนวัตกรรมสร้างสรรค์ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)และได้รับรางวัลนวัตกรรมจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจเครื่องสำอาง และได้ศึกษาต่อในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแปรรูป พืช สมุนไพร เพื่อนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลายจากสมุนไพรและได้พัฒนาองค์ความรู้เรื่อยมา ร่วมกับการทำธุรกิจ
นางสาวโสภตา กล่าวอีกว่า ตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจได้ใช้ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่วยเหลือชุมชน กลุ่มสตรี และผู้ด้อยโอกาส โดยการไปร่วมกับชุมชน ปราชญ์ชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับแนวคิดการพัฒนาสินค้าด้วยงานวิจัยนวัตกรรม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิเข่น เครื่องสำอาง อาหาร และของใช้ เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ใช้วัตถุดิบในชุมชน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ช่วยเพิ่มรายได้ ให้กับครอบครัว ได้เดินทางให้ความรู้ ในจังหวัดแพร่ ต่างจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้าน โดยปัจจุบันได้ดำเนินธุรกิจ บริษัท อัญญาเฮิร์บ จำกัด เป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางสมุนไพร โดยรับผลิตoemและเป็นเจ้าของแบรนด์ Library ,แบรนด์Tree pana แบรนด์อัญญาเฮิร์บ และเป็นผู้ปลูก แปรรูป สมุนไพร เพื่อใช้ในเครื่องสำอาง อาทิ สารสกัดดอกอัญชันสีเขียวเพื่อกระตุ้นการงอกของผมแบะลดการหลุดร่วง ด้านอาหาร ดอกอัญชันอบแห้ง และผงดอกอัญชัน เพื่อใช้ทำเครื่องดื่ม ขายส่งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ และรับเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม จากการทำธุรกิจที่ต้องอาศัยวัตถุดิบจากชุมชน จึงได้วางเป้าหมายในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จด้วยการมอบสิ่งดีๆด้วยการมอบความรู้ในการแปรรูปสมุนไพรใกล้ตัวให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีรายได้และทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน บวกกับการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมโดยใช้storyที่มีการใช้มาแต่อดีตจากปราชญ์ชุมชน มาต่อยอดเป็นสินค้านวัตกรรมด้วยงานวิจัยซึ่งเป็น งานวิจัยที่ช่วยส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน โดยดอกอัญชัน เป็นผู้ที่ปลูกได้ง่าย ทำให้มีชาวบ้าน ปลูก ดอกอัญชันและเก็บดอกอัญชันมาขายจำนวนมากทางบริษัทจึงได้นำไปศึกษาวิจัยเพื่อ สร้างรายได้ให้กับชุมชนแบบยั่งยืน