เป็นที่ยืนดีปรีดิ์เปรม ของกองทัพเรือ อย่างที่สุด โดยเฉพาะ 141 ทหารเรือ ที่เป็นกำลังพลประจำเรือ เมื่อได้รับทราบข่าวมงคล ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อ ใหม่ ให้เรือหลวงท่าจีน ว่า เรือหลวง ภูมิพลอดุลยเดช ที่สำคัญ เป็นข่าวดี ที่ได้รับรู้กันกลางทะเล ในระหว่างที่ กำลังเดินทางกลับสู่ สัตหีบ ประเทศไทย โดยที่ป้ายชื่อ เรือก็ยังเขียนว่า เรือหลวงท่าจีน  ทร.จึงต้องเร่ง ทำป้ายชื่อเรือใหม่ พร้อม สัญลักษณ์ ตืดหมวก ให้เป็นชื่อใหม่ และ นำมาติดตั้ง ทันทีที่ เรือหลวง ภูมิพลอดุลยเดช เข้าสู่ น่านน้ำไทย ก่อนที่จะ เข้าฝั่ง เทียบท่า ท่าเรือจุกเสม็ด สัตหีบ ชลบุรี และมีพิธีต้อนรับ เมื่อ7 ม.ค.ที่ผ่านมา เรือหลวง ภูมิพลอดุลยเดช เป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ที่ต่อจาก  Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) เกาหลีใต้ โดยใช้เวลาต่อ1,963 วัน  งบประมาณ 1.46 หมื่นล้านบาท เซ็นสัญญาเมื่อ  7 สิงหาคม2556 ชื่อพระราชทาน เรือหลวง ภูมิพลอดุลยเดช  ส่งผลให้คนไทย รู้สึกผูกพันกับเรือลำนี้ ทันที แม้จะไม่ได้ต่อในประเทศไทย แต่เพราะ เป็นพระนาม ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่คนไทย รัก  และคิดถึง จึงทำให้ ทหารเรือ เกืดความปลาบปลื้ม อย่างที่สุด แค่ชื่อเรือ ที่สุดเป็นมงคล แล้ว ความหมาย ก็ยังเหมาะเหม็งว่า “พลังแห่งแผ่นดิน-อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” ได้รหัสเรือ FFG471 ซึ่ง ภูมิพล หมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน” อดุลยเดช หมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” เมื่อ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ลอยลำเหนือน่านน้ำไทย  จึง เปรียบเสมือน King of the sea. “ผู้การกุ๊ก” นาวาเอก สมิทนัท คุณวัฒน์  ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช  คนแรก  เผยว่า ตนเองและกำลังพลประจำเรือ 141 นาย  ได้รับทราบข่าว การพระราชทานชื่อใหม่นี้ ในระหว่างที่เดินทางกลับมาประเทศไทย  โดยออกเดินทาง จาก อู่Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering CO., LTD. (DSME) เมืองปูซาน เกาหลีใต้ เมื่อ 22 ธค.2561 แล่นเรือข้ามปี มาแวะรับการส่งกำลังบำรุง ที่ฮ่องกง และ ดานัง เวียดนาม  รวมใช้เวลาเดินทาง 16วัน  เข้าเขตน่านน้ำไทย  ทร.จัดเรือหลวง นเรศวร และ รล.ตากสิน ไปต้อนรับ ตามประเพณีเรือ  ในฐานะ สมาชิกใหม่ ของ กองเรือฟริเกต ที่1 กองเรือยุทธการ ถือเป็นน้องใหม่ แต่ทว่า เป็นพี่ใหญ่ ของ เรือฟริเกต ที่ทร.มีประจำการ  ในราชนาวี มีระวางขับน้ำ 3,700 ตัน  ใหญ่กว่า เรือหลวง มกุฏราชกุมาร รล.ปิ่นเกล้า รล.ตาปี รล.คีรีรัฐ รล.นเรศวร รล.ตากสิน  รล.รัตนโกสินทร์  รล.สุโขทัย “เรามารู้ข่าวกัน ตอนกำลังเดินทางกลับ ตอนนั้น รู้สึกปลาบปลื้มมาก เพราะไม่เคยคิดว่า  ชื่อเดิม เรือหลวงท่าจีน ลำนี้ จะได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อที่เปี่ยมคุณค่า และความหมาย นาวาเอกสมิธนัท และกำลังพล รวม141 นาย  ไปรับการฝึกอบรม ทุกๆด้านที่เกี่ยวกับเรือฟริเกต สมรรถนะสูงลำนี้ ที่เกาหลีใต้ ตั้งแต่ 29 ส.ค. 2560  แยกกันตามหน้าที่ ของแต่ละฝ่าย 3-4 เดือน ให้เชี่ยวชาญ โดยทุกคน รับทราบในเวลานั้นว่า ชื่อเรือ คือ เรือหลวงท่าจีน ก่อนที่จะทราบข่าวอันเป็นมงคล เมื่อทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อใหม่เรือว่า เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช นาวาเอก สมิธนัท กล่าวว่า เป็นความภาคภูมิใจอย่างมาก ที่ได้เป็น ผู้บังคับการเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อทั้ง กำลังพลประจำเรือ 141 นาย และต่อทั้งกองทัพเรือ “มันเป็นความรู้สึกที่พูดไม่ออก ครับ ปลาบปลื้ม เพราะเป็นชื่อเรือพระราชทาน ที่มีความหมาย และเป็น พระนามของ "ในหลวง รัชกาลที่9” ที่คนไทยรักและผูกพัน ยิ่งทำให้ผม และกำลังพลประจำเรือทั้งหมด ยิ่งต้องดูแล เรือหลวงลำนี้ ซึ่งเป็นเรือที่มีสมรรถนะสูง  และชื่อเรือ เป็นพระนามของ ร.9 ให้ดีที่สุด ให้สามารถปฏิบัติภารกิจ ตามหน้าที่ ให้สมกับที่เป็นเรือของกองทัพเรือ และเรือของประชาชน” ผู้การฯกล่าว ไม่ใช่แค่ชื่อเรือ เปี่ยมคุณค่าทางจิตใจ และ เป็นที่ระลึกถึง ในหลวง ร.9 เท่านั้น ที่ ทำให้ เรือหลวง ภูมิพลอดุลยเดช กลายเป็นเรือที่ ทุกคนจับตามอง  แต่เพราะ ความทันสมัย ของเรือ ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกไป เรียว ลู่และไม่ค่อยมีหน้าต่าง เพราะใช้ Stealth Technology ถือเป็นเรือที่ทันสมัยที่สุดของ ทร.ไทย  และที่ปลาบปลื้ม กว่านั้น  นาวาเอกสมิธนัท เผยว่า ตนเองเป็น ผู้บังคับการเรือหลวงมกุฎราชกุมาร คนสุดท้าย ที่ได้เป็นหมู่เรือรักษาการณ์และ ถวายความปลอดภัย ที่ไปลอยลำ บริเวณ วังไกลกังวล หัวหิน หลายครั้ง แต่ได้เป็น ผบ.รล.มกุฎราชกุมาร คนสุดท้าย ปี 2558 ที่ได้ทำการยิงสลุต ถวาย ในหลวง ร.9 และได้รับการแต่งตั้งเป็น ราชองครักษ์ ปฏิบัติหน้าที่ วังไกลกังวล  ถือเป็นความภาคภูมิใจ และ จดจำ ตราบนิรันดร์” นาวาเอกสมิธนัท เป็นนักเรียน เตรียมทหาร 34 นายเรือ 91  ที่เติบโตมา ในกองเรือทุ่นระเบิด และกองเรือฟริเกต มาตลอด เช่น เคยอยู่ เรือหลวง นเรศวร ซี่งเป็นเรือที่  “บิ๊กลือ” พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร. เคยเป็น ผู้บังคับการเรือ  นาวาเอก สมิธนัท เคยเป็น ผบ.เรือตรวจการณ์  ต.11 และ ผบ.เรือหลวงมกุฎราชกุมาร เรือฟริเกต ที่ต่อจาก อังกฤษ  เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช  กลับถึงบ้าน จอดเทียบท่าเรือจุกเสม็ด และมีพิธีต้อนรับ โดย ผบ.ทร. เมื่อ 7 ม.ค. 62 ที่ผ่านมา และ เตรียมรอการขี้นระวางเข้าประจำการ กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ เป็นลำที่10 ของ กองเรือนี้  โดยกองทัพเรือ กราบบังคมทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาทรงเจิมป้ายชื่อเรือ  และทำพิธีขึ้นระวาง ประจำเรือ  พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวกับกำลังพล ในพิธีต้อนรับ “เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช” ว่า เราต้องมีจิตวิญญาณของ “นักรบชาวเรือ” navy warrior โดยเฉพาะเรือลำนี้เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือ ทำการรบได้ทั้ง 3 มิติ ที่ผ่านมาเราเรียนรู้ ด้านวิชาการ ดังนั้นจะต้องหมั่นฝึกฝนในทางปฏิบัติ ต้องชำนาญ และ เข้าถึงเทคโนโลยีเราถึงจะทำการรบ ได้ชัยชนะอย่างที่สุด ต้องฝึกฝนและต้องทำการรบสามมิติให้ได้ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ศักยภาพใหม่ ทร.ไทย   ลำนี้ เป็นการพัฒนามาจากเรือพิฆาตชั้น Kwanggaeto Class Destroyer (KDX-I) โดยใช้มาตรฐานทางทหารของสหรัฐฯ และกองทัพเรือเกาหลีใต้ในการต่อเรือ  จึงถือได้ว่าเป็นเรือฟริเกตที่มีความทันสมัยและเป็นเรือที่มีคุณค่าทางยุทธการสูง  ถือว่า ทันสมัยในภูมิภาค เพราะ ก่อนหน้านี้ สิงคโปร์ มีเรือ Stealth FrigateRSS Formidable  ประจำการมากว่า10ปี แล้ว  เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็น เรือฟริเกตที่มีโครงสร้างเรือแข็งแรง มีโอกาสอยู่รอดสูงในสภาพแวดล้อมของการสู้รบ และการปนเปื้อนทางนิวเคลียร์ เคมี  ชีวะ ทนทะเลได้ถึงสภาวะทะเล (Sea state)ระดับ 6ขึ้นไป  โดยมีระวางขับน้ำสูงสุด 3,700 ตัน ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง 30 น็อต  ระยะปฏิบัติการประมาณ 4,000 ไมล์ทะเล โดยมีพิธีรับมอบ เมื่อ 14 ธ.ค.2561 ที่ผ่านมา ส่วน ออกแบบเรือ ใช้ Stealth Technology สามารถปฏิบัติการรบได้ 3 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามใต้น้ำ สามารถตรวจจับเป้าหมายระยะไกลด้วยโซนาร์ลากท้าย และโซนาร์ติดใต้ท้องเรือ แล้วต่อตีเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโด และอาวุธระยะไกล โดย “เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช”  เป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เทียบเท่าชั้นเรือพิฆาต ที่ได้มีการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือ ตามแนวทางการจัดหายุทโธปกรณ์หลัก ภายใต้ยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พศ.2551-2560  จึงถือได้ว่าเป็นเรือฟริเกตที่มีความทันสมัยและเป็นเรือที่มีคุณค่าทางยุทธการสูง ซึ่งจะเป็นกำลังรบทางเรือที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ การปฏิบัติการสงครามต่อต้านภัยทางอากาศ ใช้เรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติระยะไกล และระยะปานกลางในการค้นหา ตรวจจับ และติดตามเป้าข้าศึก รวมทั้งแลกเปลี่ยนและประสานการปฎิบัติกับเรือและอากาศยานที่ร่วมปฏิบัติการ แล้วโจมตีเป้าหมายด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีฯ แบบ ESSM และอาวุธปืนของเรือ  และการปฏิบัติการสงครามเรือผิวน้ำ  โดยมีระบบการรบ (Combat System) ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบการรบของเรือ ฟริเกต ชุด ร.ล. นเรศวร และ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ในลักษณะกองเรือ (Battle Group) รวมทั้งปฏิบัติการรบร่วมกับ เครื่องบินขับไล่ ของกองทัพอากาศ Gripen ใน ระบบNetwork centric ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ส่วนการป้องกันตนเองประกอบด้วยอาวุธปล่อยนำวิถี ปืนใหญ่เรือ และปืนรองต่อสู้อากาศยาน ระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) หรือที่รู้จักในชื่อPhalanx  ระบบลวงทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายแบบรวมการที่สั่งการได้จากศูนย์กลางหรือแยกสั่งการ มีระบบควบคุมการแพร่สัญญาณออกจากตัวเรือ  อีกทั้งสามารตรวจจับ ดักรับ วิเคราะห์ และก่อกวนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าของเป้าหมายได้ เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช จึงเป็น เรือรบ ลำใหม่ ที่ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร. เรียกว่า เป็นความหวังของกองทัพเรือ ในการนำ ทร.สู่กองทัพเรือสมัยใหม่ ก่อนที่ ทร.ไทยจะมีเรือดำน้ำ ที่กำลังต่อจากจีน ลำแรก เสร็จ ในปี 2566  ที่จะทำให้ยุทธศาสตร์ทางทะเล ของ ทร. สมบูรณ์มากขึ้น ยิ่งเมื่อมี พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงของชาติทางทะเล หรือที่เรียกว่า พ.ร.บ.ศรชล. ที่จะทำให้ กองทัพเรือไทย มีภาระหน้าที่ กว้างไกล มากขึ้น และจำเป็น ต้องมีเรือรบ ที่ทันสมัย มาดูแล ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล แถมเป็นช่วงที่ ทร. มีแม่ทัพเรือ ที่แข็งแกร่ง ห้าวหาญ อย่าง พลเรือเอกลือชัย ที่กำลังปลุก ความเป็น นักรบชาวเรือ และ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และทำในสิ่งที่ดี  ในการปฏิวัติกองทัพเรือ ใหม่ ในทุกๆด้าน พอดี!!