สัปดาห์พระเครื่อง / อ.ราม  วัชรประดิษฐ์

มีความเชื่อที่ว่าสร้างพระบางขึ้นมาเพื่อผู้หญิง โดยเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ เพื่อให้สามารถใช้เสน่ห์หรือที่เรียกกันว่า “มารยาหญิง” คำ ว่า "บาง" มีผู้สันนิษฐานว่าจากคำว่า “บัง" เป็นทํานองรอดพ้นปลอดภัยเช่นเดียวกับพระรอด พระคง พระเลี่ยง แต่ดูแล้วน่าจะเป็นเพราะมีความบางกว่าพระคงจึงเป็นชื่อเรียกมากกว่า องค์พระจะดูเรียบร้อย แช่ม ช้อย งามตา

ชี้ตำหนิพระบางลำพูน

“พระบาง” หนึ่งในพระสกุลลำพูนที่นับว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของภาคเหนือ  ซึ่งเป็นพระเนื้อดิน พุทธศิลปะแบบทวารวดีและศรีวิชัย มีอายุอยู่ในราว 1,300 ปี เช่นกัน ตามตํานาน “พระบาง” สร้างโดยฤๅษีวาสุเทพ เช่นเดียวกับพระรอดและพระคง มีขนาดและเนื้อมวลสารใกล้เคียงกับพระคง  เป็นพระที่นับว่ามีความคล้ายคลึงกับ “พระคง” มากๆ แต่กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในด้านพุทธคุณ  พระรอดและพระคง จะเน้นพุทธานุภาพไปทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ชาย ด้วยสมัยก่อนอยู่ในช่วงศึกสงคราม แต่ส่วน “พระบาง” นั้น เชื่อกันว่าสร้างขึ้นมาเพื่อผู้หญิง โดยเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ เพื่อให้สามารถใช้เสน่ห์หรือที่เรียกกันว่า “มารยาหญิง” ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวรอดอยู่ได้นั่นเอง อีกทั้งพุทธลักษณะองค์พระก็มีความอ่อนช้อยงดงามคล้ายอิสตรีอีกด้วย

พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย ภายในซุ้มใบโพธิ์ เหนืออาสนะฐานบัวเม็ดเป็นจุดไข่ปลาเรียงอยู่ด้านหน้าโดยรอบ 2 ชั้นคล้ายคลึงกับพระคง แต่ลักษณะที่บ่งบอกว่าน่าจะเหมาะกับหญิงคือ พระพักตร์จะยาวเป็นรูปไข่มากกว่า พระอุระสูงกว่าคล้ายหน้าอกสตรี พระวรกายก็ดูสูงโปร่งและบอบบางกว่า การหักศอกด้านซ้ายก็จะดูอ่อนช้อยกว่าเป็นลักษณะ “อ่อนข้อ” แม้กระทั่งผนังโพธิ์กิ่งด้านหลังเส้นแสงก็ดูอ่อนสลวยกว่าพระคง

พระบาง

พระบาง มีการค้นพบทั้งหมด 3 กรุ คือ กรุวัดพระคง กรุวัดดอนแก้ว และกรุวัดบ้านครูขาว ซึ่งแต่ละกรุก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันดังนี้

พระบาง กรุวัดพระคง

ลักษณะเนื้อหามวลสารเหมือนกับพระคงมากที่สุด เพียงเลือกเนื้อว่านที่มี

 พุทธาคมแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของผู้สร้างเท่านั้นแต่จะมีจำนวนน้อยมากเรียกได้ว่า พระคง 100 องค์ จะมีพระบางติดมาเพียง 1 องค์เท่านั้น การวางล าพระกรองพระบางกรุนี้ พระกรขวาวางเป็นมุมฉาก มี ลักษณะคล้ายพระคงมากคนโบราณเรียก "พระคงทรงพระบาง" ใบโพธิของพระบางมจานวนใบเท่ากันกับพระ คงคือ 20 ใบ แต่จะไม่ช้อนทับกัน ลําพระกรด้านขวาจะตั้งขึ้น 45 องศา ไม่ตั้งฉากอย่างพระคง และระหว่าง บัวฐานไข่ปลานั้นจะเป็นแอ่งยุบ ระหว่างเม็ดบัวเม็ดที่สองนับจากขวามือขององค์พระมีเส้นเล็กๆ วิ่งเชื่อมติด บัวเม็ดบนกับเม็ดล่าง       

พระบาง กรุวัดดอนแก้ว     

พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

นับว่าเป็นพระบางที่มีเนื้อละเอียดที่สุดในพระบางทุกกรุ ถ้าสังเกตความแตกต่างจะเห็นว่า “พระบาง กรุวัดดอนแก้ว” นั้น พระพักตร์เป็นผลมะตูม พระนลาฏกว้าง ที่สำคัญ ขนาดขององค์พระค่อนข้างสูงกว่าปกติและแคบกว่าพระบางกรุอื่น นอกจากนี้ องค์พระค่อนข้างบางอย่างเห็นได้ชัด และขอบพระเรียบสม่ำเสมอ      ผิดกับพระพิมพ์อื่นๆ ทั่วไปที่สร้างในสมัยเดียวกันซึ่งจะเน้นความสวยงามเพียงพิมพ์ด้านหน้าเท่านั้น

พระบาง กรุวัดดอนแก้ว

พระบาง กรุวัดบ้านครูขาว

เรียกได้ว่ามีความแตกต่างที่เด่นชัดที่สุดง่ายต่อการพิจารณา นั่นคือเนื้อขององค์พระจะมี 2 เนื้อ คือ เนื้อดินปนกรวดและเนื้อดินหยาบ ซึ่งไม่มีในกรุวัดพระคงและกรุวัดดอนแก้วเลย สำหรับพุทธลักษณะนั้นจะค่อนข้างเหมือนกับพระบาง กรุวัดดอนแก้วมาก

แนวทางการพิจารณา พระบาง  จังหวัดลำพูนมีจุดสังเกตและแนวทางการพิจารณาเอกลักษณ์แม่พิมพ์ในเบื้องต้นดังนี้                                                                                                                                   

1. เม็ดบัวลักษณะเป็นจุดไข่ปลาเรียงอยู่ด้านหน้าโดยรอบ 2 ชั้นคล้ายกับพระคง                         

2. พระพักตร์จะยาวเป็นรูปไข่มากกว่า พระอุระสูงกว่าคล้ายหน้าอกสตรี พระวรกายดูสูงโปร่งและบอบบางกว่า การหักศอกด้านซ้ายก็จะดูอ่อนช้อยกว่า อันเป็นลักษณะเฉพาะที่บอกได้ถึงความน่าจะเหมาะสมกับอิสตรีมากกว่าบุรุษ      

3. ผนังโพธิ์กิ่งด้านหลัง เส้นแสงต่างๆ ดูอ่อนสลวยกว่าพระคง           

พระบาง กรุวัดพระคง                                     

ปัจจุบัน “พระบาง” ถือได้ว่าเป็นพระกรุเก่าแก่ที่หาดูหาเช่าของแท้ๆ ได้ยากมาก เช่นเดียวกับพระสกุลลำพูนพิมพ์อื่นๆ ส่วนทางด้านพุทธคุณ “พระบาง” นั้น เชื่อกันว่าสร้างขึ้นมาเพื่อผู้หญิง โดยเน้นไปทางเมตตามหานิยมและเสน่ห์ เพื่อให้สามารถใช้เสน่ห์หรือที่เรียกกันว่า “มารยาหญิง” ที่จะทำให้รักษาเนื้อรักษาตัวให้รอดอยู่ได้นั่นเอง ครับผม

พระบางลำพูน เนื้อเขียว