วันที่ 3 มีนาคม 2568 ที่ศาลแพ่งรัชดา นายสมโรจ สายคำตา ผู้เสียหายของชาวบ้านจำนวนหนึ่ง เข้ายื่นหนังสือขอความเมตตาเร่งรัดการพิจารณาคดี และคัดค้านอัยการเลื่อนคดี รวมถึงพิจารณาชดใช้เงินคืนตามหนังสือคุ้มครอง ต่ออธิบดีศาลแพ่งรัชดา อ้างถึง 1.คดีหมายเลขดำที่ ฟ.20002566/ ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566และ คดีหมายเลขดำที่ ฟ.2239/2567 ลงวันที่ 2567 พร้อมสิ่งที่แนบมาด้วย 1.ภาพผู้เสียหายที่ถูกมิจฉาชีพหลอกลวงแล้วคิดสั้นผูกคอตาย 2.บัญชีรายชื่อตัวแทนผู้เสียหาย และหนังสือคุ้มครองสิทธิ์ 3.ใบมรณะบัตร

ตามประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินคืนหรือชดใช้คืนซึ่งทรัพธ์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือชดใช้ท่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ในความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกง ประชาชนตามประมวลกฎหมาขอาญา อันเป็นความผิดมูลมูลฐานมาตรา 3 ( 3) เเพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 คดีราย นายสฤษฏ์ อดุลย์พิจิตรและคดีนายเขาเซียนชูกับพวก ได้ร่วมกันหลอกลวงประชาชน โดยได้ร่วมกัน
ประกาศ โฆษณาเผยเพร่ด้วยเอกสาร ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎข้อความทางอินเตอร์เน็ตในแอพพลิเคชั่นไลน์และเฟซบุ๊กชักชวนให้มาลงทุนซึ่งเป็นความเท็จเป็นเพียงกลอุบายที่จะหลอกลวงเอาพรัพย์สินจากผู้เสียหาย ผู้อื่น และประชาชนที่หลงเชื่อเท่านั้น

พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขยายขยายศลีมาสู่ศาลแล้วตามหนังสือที่อ้างถึงข้อล และข้อ 2ตามมาตรา 455 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.พ.ศ.2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป้องกันเฟอกเงิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2565 และข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงการคืนหรือการชดใช้คืนซึ่งทรัพย์สินเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในความผิดพ.ศ.2567 

นายสมโรจ กล่าวว่าในฐานะผู้เสียหายหายและได้รับความเดือดร้อนและตัวแทนผู้เสียหายตามบัญชีรายชื่อที่ส่งมาพร้อมนี้ มาขอความเมตตาจากท่านเพื่อเร่งรัดดังกล่าวและคดีนายเขาเชือน ซู และพวกซึ่งอัยการได้ขอเลื่อนตามหนังสือที่อ้างถึงข้อเลื่อนตั้งแต้ปี 2566ออกไป พิจารณาวันที่  27-30 มกราคม 2569 ผู้เสียหายเห็นว่ายาวนานเกินไปที่จะยอมรับได้และเล็งเห็นว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้าเกิดคือความไม่ยุติธรรม