นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ปธ.กมธ.ทรัพย์วุฒิสภา ลงพื้นที่ตรวจสอบบุกรุกที่ดินในอ่างเก็บน้ำ 2 จังหวัดชี้ต้องแก้ทุนจีนเทา พร้อมแนะจนท.ป่าไม้ทำสำนวนเอาผิดร้ายแรง ชี้จนท.ชลประทานตราดตายต้องตรวจสอบเชื่อมโยง พร้อมให้ความเป็นธรรมปชช.ทำกินในอ่าง
อ.บ่อไร่ จ.ตราด/เวลา 09.45 น.วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 นายนายชีวะภาพ ชีวะธรรมประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ประธานหัวหน้าคณะเดินทาง พร้อมด้วย นายกิติศักดิ์ หมื่นศรีรองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง นายกัมพล ทองชิวที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ นายธีรวิทย์ โชติที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการ นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการมนายจักรเพชร กุนทอง ผู้สื่อข่าว นายการุณย์ พิมพ์สังกุล เลขานุการ นายศุภารัฏฐ์ ธันยพัฒน์ ผู้ช่วยเลขานุการ เดินทางตรวจสอบพื้นที่บุกรุกป่าไม้ และที่ดินในอ่างเก็บน้ำคลองห้วงแร้ง อ.บ่อไร่ จ.ตราด หลังจากตกเป็นข่าวว่ามีกลุ่มทุนจีนสีเทาเข้ามาครอบครองและปลูกทุเรียนจำนวนนับร้อยไร่
โดยที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง นายพีระ เอี่ยมสุนทร รองผู้ว่าราชการจ.ตราด นายธำรงศักดิ์ นคราวงศ์ ผู้อำนวยการชลประทานตราด นายศักดินัย นุ่มหนู สส.ตราด ประธานกมธ.การเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และกำนันผู้ใหญ่บ้านในตำบลด่านชุมพล และชาวบ้านที่ทำกินอยู่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วงแร้ง กว่า 50 รายรออยู่
หลังจากคณะกมธ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่บแวดล้อมเดินทางมาถึงได้แนะนำตัวกับข้าราชการ และส่วนราชการที่มาคอยต้อนรับแล้วได้รับฟังสถานการณ์จากนายธำรงศักดิ์ นคราวงศ์ ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และยอมรับว่า สถานการณ์ดังกล่าว ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดตราดและในจังหวัดจันทบุรี เกี่ยวกับปัญกาการบุกรุกที่ดินหลายแห่งทั้งในอ่างเก็บน้ำห้วยแร้ง อ.บ่อไร่ จ.ตราดและในเขื่อนคิรีธาร อ.ขลุง จ.จันทบุรี และอีกหลานแห่ง ซึ่งที่ผ่านมาได้เชิญเจ้าหน้าที่ทีทเกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลกับทางคณะกรรมาธิการแล้วระดับหนึ่ง การเดินทางมาวันนี้ก็เพื่อต้องการได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมในพื้นที่ว่า จะเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง แต่ยอมรับว่า เรื่องปัญหาจีนเทาเข้ามาบุกรุกที่ดินทั้งในอ่างเก็บน้ำและในพื้นที่ป่านั้น เป็นเรื่องใหญ่ทีทจะต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่าจริง และเสนอให้รัฐบาลเข้ามาดูแล รวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน และยังไม่ได้รับค่าเวนคืนจำนวนหนึ่งว่า มีปัญหาข้อขัดข้องอย่างไร
จากนั้น นายชีวะภาพ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า จากการร้องเรียนที่เขาบ่อทอง จ.จันทบุรี ว่ามีการบุกรุกป่า และมีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งระหว่างดำเนินการนั้น ได้มีการร้องเรียนจากประชาชนในจังหวัดตราดถึงปัญหาดังกล่าว และทางตำรวจจันทบุรีได้ทำการขยายผลและทำการแจ้งความดำเนินคดีไป6 คนรวมทั้งตำรวจ 2 คน เป็น 2ผัวเมีย รวมทั้งมี 2 แม่ลูกที่ครอบครองพื้นที่ที่ใช้ภบท.5 และมีพื้นที่จำนวน 900 ไร่ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะครอบครองระดับนั้น และมีอีกคดีหนึ่งที่มีการครอบครองที่เขาบ่อทองจำนวน 1800 ไร่เป็นทุนจีนซึ่งคณะกันมาธิการทราบว่าเป็นทุนจีนซึ่งพวกเราตกใจว่ามีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างไรจึงรวมกันเข้ามาที่จะแก้ปัญหาใน 3 กรรมาธิการ ซึ่งมีกมธ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมาธิการกฎหมายและกรรมาธิการยุติธรรมร่วมกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้ามาช่วยกันติดตามแก้ปัญหา และตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง และเมื่อทำอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีก็มีเรื่องร้องเรียนที่จังหวัดตราด รวมทั้งที่จังหวัดอื่นๆด้วย และจากการตรวจสอบในพื้นที่ชลประทานตราด มีการบุกรุกมานานนับ 10 ปี และชลประทานตราดก็ทำการจับกุมมาดำเนินคดีแล้วหลายครั้บ ปี 2549 มีถึง 10 คดี แต่ใช้กฎหมายชลประทานซึ่งโทษเบา จึงยังคงบุกรุกกันอีก จะรื้อถอนไม่ได้ และในปี 2565-2566 ก็จับกันอีกกว่า 20 คดี
“ผมมองว่า หน่วยงานที่เข้าไปให้ข้อมูลที่วุฒิสภาระบุว่า มีการใช้กฏหมายที่เบาเกินไปทำให้ผูักระทำผิดไม่เกรงกลัว เราจึงแนะนำให้ใช้ยาแรง ซึ่งพื้นที่นี้ในเขตชลประทานได้รับการใช้ประโยชน์แล้ว ให้ใช้บังคับคดีด้วยพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ และนำกฏหมายตามพรบ.ชลประทาน มาใช้และใช้ทั้งสองพรบ.ก็จะดีขึ้นและเมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็นกลุ่มทุนมาบุกรุกก็จะประกาศรื้อถอนทันที และก็มีอำนาจตัดทุเรียนออกได้เพราะเป็นของนายทุน จากนั้นชลประทานก็หางบมาปลูกป่าต่อไป ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นทุนจีนหรือทุนไทยก็ตามก็จะต้องถูกดำเนินการไม่ว่าเป็นใครทั้งนั้น สำหรับเรื่องการปลูกทุเรียนเป็นเรื่องที่ดีที่จะทำให้รายได้เข้าประเทศมากขึ้น แต่ถ้าเป็นทุนจีนที่เข้ามาลงทุนและมาบุกรุกก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทุกคน ทุกหน่วงยงานจะต้องไม่ยอมแพ้กับเรื่องนี้“
นายชีวะภาพ กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ชาวบ้านจะทำกินไม่ได้นั้น แล้วนายทุนทำได้ ไม่ต้องกังวลเพราะหากพบว่าเป็นนายทุนต้องถูกจับแน่และรื้อถอน ขณะเดียวกันกลุ่มทุนที่ทางกรรมาธิการจะลงไปจับกุมทีทบุกรุกนับ 100 ไร่นั้น จะมีเรือหรือแพที่สามารถสูบน้ำขึ้นไปบนเขาที่ปลูกได้ จึงเลือกที่ใกล้อ่างเก็บน้ำซึ่งเหมือนที่จันทบุรี ทั้งนี้ แนะนำตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่ทำคดีนี้ ควรจะทำการสอบสวนและหาหลักฐานที่หนาแน่น มีรายละเอียดที่ชัดเจน ทั้งสองหน่วยงานคือ ชลประทานและป่าไม้ ต้องจับมือให้แน่น เช่น แพที่ลากไป ตัวเครื่อง หรือเลขเครื่องจะต้องใส่อยู่ในบันทึกด้วย และมิเตอร์ไฟ มิเตอร์น้ำ รวมทั้งพยานบุคคลที่เป็นแรงงานที่ดูแลนั้น เขาๆออกๆตรงไหน เก็บไว้ เมื่อไปแจ้งตำรวจ ตำรวจก็จะขยายผลจากข้อมมูลที่สงไปให้ ก็สามารถสั่งฟ้องได้ และหากเป็นกลุ่มทุนก็จะทิ้งหรือหนีคดีไป เพราะคดีป่าสงวนแห่งชาติโทษจะหนัก ซึ่งพรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ ใน ม.25 ที่ระบุว่า หากรู้ว่า กลุ่มที่ครอบครองเป็นกลุ่มทุน ทางนายอำเภอ รองผู้ว่าฯหรือ ผู้ว่าฯก็สามารถประกาศยึดพื้นที่ได้และสามารถตัดต้นไม้หรือต้นทุเรียนได้ เพราะไม้เหล่านี้ไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ชลประทานนี้ได้
นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ยังรับทราบจากสื่อมวลชนว่า เมื่อ 4-5 ปี ทีทผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ชลประทานตราดที่เฝ้าพื้นที่อยู่ถูกวางยาเสียชีวิต ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับปัญหานี้ ซึ่งเรื่องนี้ ไม่ทราบมาก่อน จึงจะต้องทำการสอบสวนและหารายละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป เพราะหากเป็นเรื่องจริงก็แสดงให้เห็นว่า เรื่องนี้มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง และหากเป็นจริงต้องขอแสดงความเสียใจกับเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นทราบเรื่องนี้ก็จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อเข้ามาติดตามและตรวจสอบในพื้นที่อย่สงจริงจังแม้จะต้องเสียเวลาไปเท่าไรก็ต้องทำ และต้องนำเรื่องเดิมมาขยายผลต่อไป หากเป็นกลุ่มทุนใหญ่และมาทำเช่นนี้ก็ไม่ควรให้เกิดขึ้นอีก ในเรื่องการประหัตประหารเจ้าหน้าที่ที่ถูกต้อง และหากมีเบาะแสก็จะติดตามต่อไป
จากนั้นนายชีวะภาพ ชีวะธรรมประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ประธานหัวหน้าคณะเดินทาง ไปพร้อมคณะรองผู้ว่าราชการจ.ตราดเดินทางไปยังที่กลุ่มทุนบุกรุกที่มีพื้นที่นับ 100 ไร่ เพื่อตรวจสอบความจริงต่อไป ++++-