เมื่อวันที่ 21 ก.พ.68 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ทีมแพทย์จีน ค้นพบ "ไวรัสโคโรนา" สายพันธุ์ใหม่ใน "ค้างคาว" ที่อาจติดต่อสู่คนได้ทางเดียวกับ "โควิด-19"

ทั้งนี้ การวิจัยนำโดย "สือ เจิ้งลี่" Shi Zhengli นักไวรัสวิทยาที่รู้จักกันในชื่อ "batwoman" ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาในห้องแล็บในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

โดยทีมนักวิจัยชาวจีน เรียกเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ว่า HKU5 เป็นไวรัสจากสกุลย่อยของกลุ่ม merbecovirus และ กลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ เมอร์ส (Mers) ด้วย ซึ่งไวรัสชนิดใหม่ตรวจพบเจอครั้งแรกในค้างคาวสายพันธุ์ Japanese pipistrelle bat ที่อาศัยอยู่ในประเทศฮ่องกง 

อย่างไรก็ตาม แม้ยังไม่ทราบต้นกำเนิดของเชื้อในค้างคาวที่ชัดเจน แต่การศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสในค้างคาวจะสามารถแพร่ไปสู่คนได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่าเชื้อ “โฮสต์เริ่มต้น” ก่อนแพร่ระบาดในร่างกายมนุษย์

นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิดใหม่ยังสามารถจับกับแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (ACE2) ซึ่งเป็นตัวรับ (human receptor) แบบเดียวกับที่เชื้อ Sars-CoV-2 หรือ โควิด-19 ใช้เพื่อแพร่สู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ด้วย

สำหรับ "สือ เจิ้งลี่" เป็นนักไวรัสวิทยาชั้นนำ ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสในค้างคาวอย่างกว้างขวาง ที่ห้องปฏิบัติการกว่างโจว ร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์กว่างโจว มหาวิทยาลัยหวู่ฮั่น และสถาบันไวรัสวิทยาหวู่ฮั่น