“นายกฯ” โชว์วิสัยทัศน์ “เชื่อมั่นประเทศไทย” เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สั่งเร่งแก้หนี้ครัวเรือนให้จบปลาย มี.ค.นี้ รับยกหนี้รายย่อยไปแล้วกว่า 8.3 แสนบัญชี พร้อมขอแบงค์ชาติ ลดดอกเบี้ยช่วยลดภาระ ปชช. ด้าน “สภาพัฒน์” ชี้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแกร่ง ดึงดูดลงทุนดิจิทัล-ดาต้าเซ็นเตอร์ ปี’67 กว่า 2.4 แสนล้าน

เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 19 ก.พ. 68 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “เชื่อมั่นประเทศไทย” ในงานสัมมนา Matichon Leadership Forum 2025 Trust Thailand : เชื่อมั่นประเทศไทย ที่สำนักพิมพ์มติชนจัดขึ้น เมื่อมาถึงนายกฯได้เยี่ยมชมบูธจำหน่ายหนังสือของมติชน พร้อมอุดหนุนหนังสือประชุมลับกับธงทอง ของนายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี และหนังสือนิทานการเงิน

โดยน.ส.แพทองธาร กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า เป็นโอกาสอันดีที่ได้มาเล่าให้ประชาชนฟังว่าเรากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ประเทศของเราผ่านอะไรมาบ้างและเจออะไรมาบ้าง ต่างประเทศมองเราอย่างไรและเรามีแผนอะไรต่อไปในอนาคต ตลอดปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาและความท้าทายต่างๆมากมาย เศรษฐกิจยังไม่มีเงินในระบบยังฝืดเคือง แต่มีปัญญานที่ดีมาในปลายปีที่แล้วเรามีเศรษฐกิจมีตัวเลขจีดีพีปี 2567 ขยายตัวขึ้น2.5% มากกว่าเป้าที่วางไว้ที่ 2% จากปี 2566 การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเกิดผล การบริโภคภายในขยายตัว ตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากมาตรการฟรีวีซ่า และความเชื่อมั่นในการดูแลนักท่องเที่ยว และในปี 2568 รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้จีดีพีเติบโตขึ้นที่ 3% โดยที่แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการลงทุนของภาคเอกชนที่เพิ่มมาคือ การใช้จ่ายของประชาชน และภาครัฐต้องขับเคลื่อนงบลงทุน แต่การนำตัวเลขเศรษฐกิจไทยเทียบกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนว่ามีตัวเลขที่ต่ำที่สุด มองว่ายังดูปัจจัยไม่ครบทั้งภายในภายนอก เช่นประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องแต่ของไทยไม่ได้มีการพัฒนามาหลายปี สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจหลายอย่างไม่ เพียงพอธนาคารยังปล่อยกู้ไม่มากพอโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงส่งผลให้เกิดการฝึกการทางด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มเอที่ถือเป็น 75% ของประเทศหากกลุ่มนี้ยังไม่มีสินเชื่อมาพัฒนาเศรษฐกิจของเขาก็จะยังไม่มีการพัฒนาและขยายตัวก็ต้องขอความช่วยเหลือช่วยกันทุกภาค

น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า งบประมาณของรัฐยังไม่เพียงพอและจะถูกใช้ไปกับรายจ่ายประจำตนบอกทุกคนว่าให้รัดเข็มขัด ในเรื่องของงบประมาณ แต่เราต้องทำเรื่องการลงทุนควบคู่ไปด้วย ทำให้เม็ดเงินต่างๆเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้ดีไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาในอนาคต และวันนี้เพด้านกู้แทบไม่เหลือ รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศเจอปัญหาเหล่านี้ แต่พยายามหาทางออกในมุมต่างๆ ยังไม่ได้ทำการตลาดจุดแข็งของประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ พอการลงทุนจากต่างชาติหรือเม็ดเงินจากต่างประเทศไม่เข้ามาการขยับเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น ปัญหาเหล่านี้ต้องใช้เวลาตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ ก็พยายามดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เสนอการทำตลาดดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติทำให้ยอดการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงอ 35% หรือประมาณ 1.14 ล้านๆบาท คิดเป็น5% ของจีดีพี เป็นสิ่งที่ขยับและเห็นผล โดยจะเร่งให้เม็ดเงินเหล่านี้เข้าสู่ระบบ รวมถึงมีมาตรการอื่นๆไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอี การดึงอุตสาหกรรมใหม่เข้าประเทศ การสร้างสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยวางแผนจะทำในทุกจังหวัดให้ประเทศไทยไม่มีโลซีซั่น และมาตรการเร่งด่วน รัฐบาลได้พูดคุยและอยากจะขอความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ต่างๆที่มีกำไรเข้ามาช่วยเสริมสภาพคล่องด้วยการปล่อยกู้ให้กับคนไทยให้มีสภาพคล่องให้การพัฒนาธุรกิจของตัวเอง และอีกเรื่องคือขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาลดดอกเบี้ยเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนซึ่งเรื่องนี้สามารถทำได้เพราะเงินเฟื้อยังน้อยอยู่

น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า รัฐบาลมีมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินต่างๆออกมา เช่นหนี้สินครัวเรือนที่เป็นปัญหาและอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ทำโครงการ “คุณสู่เราช่วย” มุ่งช่วยเหลือหนี้สินเชื่อบ้าน รถยนต์ และธุรกิจเอ็ดเอ็มอี ตัวเลขสำหรับการแก้หนี้ครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา มีการยกหนี้รายย่อยไปแล้วกว่า 8.3 แสนบัญชี ทำให้ลูกหนี้กลุ่มนี้หลุดออกจากการติดเครดิตบูโรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอีกครั้ง ตนก็สานต่อเรื่องนี้มีกลุ่มลูกหนี้ค้างอยู่ 2.6 แสนบัญชี จะทำให้จบในวันที่ 15 มี.ค.นี้ และยังขอให้กระทรวงการคลังหารือกับแบงค์ชาติพัฒนาโครงการคุณสู่เราช่วย ให้ครอบคลุ่มถึงกลุ่มลูกหนี้เข้าถึงแหล่งทุนซึ่งมาตรการน่าจะออกมาปลายเดือน มี.ค.นี้

นายกฯ กล่าวว่า นอกจากนี้รัฐบาลจะผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ของฝั่งอ่าวไทยและอันดามันเพื่อจุดประสงค์ในการลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า และจากการที่ตนไปเยือนจีนมา เขาได้สนับสนุนในเรื่องนี้ เขาขอข้อมูลเพิ่มเติม และสนใจเรื่องการลงทุนด้วย นี่เป็นสิ่งที่เราต้องทำต่อ  นี่ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จีนให้ความสนใจ ซึ่งการขนส่งแลนด์บริดจ์ถ้าเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ประหยัดเวลาการขนส่ง เช่น ขนส่งผลไม้ใช้เวลาเพียง4วัน จะทำให้ส่งผลไม้ได้มากและสดใหม่ขึ้น ซึ่งเราคิดตัวเลขแล้วสามารถประหยัดต้นทุนได้ถึง 15%“

นายกฯ กล่าวอีกว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดสงขลา ยังมีคำถามว่าเราจะสนับสนุนโครงการแลนด์บริดจ์อย่างไรและมีคนมาต่อต้าน อันนี้ไม่แปลกเมื่อประเทศของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงมีการเพิ่มเติม จะต้องมีคนมาคอมเม้นต์ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย นั่นคือระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้ว รัฐบาลตระหนักถึงข้อนี้ดีและพร้อมรับฟังทุกคน และต้องการมีเวลาอธิบายว่าทำไมโครงการใหญ่ๆอย่างนี้ถึงต้องการสับสนต่อ บางเรื่องรัฐบาลไม่อยากมองเป็นภาพเล็ก หรือแก้ปัญหาได้ภายใน1ปี หรือปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นอีกแล้วแค่ปีนี้ แต่ปีหน้าจะเกิดขึ้นใหม่ เราไม่อยากมองปัญหาระยะสั้นอย่างนั้น

นายกฯ กล่าวว่า นอกจากนี้เรายังส่งเสริมการลงทุนของคนไทยให้ไปต่างประเทศโดยพยายามทำFTAกับทุกประเทศในยุโรป

ด้าน  นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย” ว่าสำหรับเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ดัชนีทั้งภาคการผลิตและการใช้จ่ายของประเทศดีขึ้นทุกตัว โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนรวมที่ขยายตัว 5.1% ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มากขึ้น ตอนนี้มันเป็นปัญหาของพื้นฐานของภาคธุรกิจและภาคประชาชน ซึ่งยังมีความรู้สึกถึงความไม่แน่นอนอยู่ แต่ในภาพใหญ่ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รัฐบาลก็ได้ดำเนินการไปหลายเรื่อง อาทิ การแก้หนี้ครัวเรือน โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ถ้าพี่น้องประชาชนเข้าสู่โครงการตัดต้นเงิน และหลุดพ้นจากการเป็นหนี้ได้

“ถ้าไปดูในยอดของเอฟดีไอจะเห็นว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลเข้ามาถึง 2.4 แสนล้านบาท และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อีก 2.3 แสนล้านบาท คำถามคือทำไมภาคดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเยอะจัง ส่วนหนึ่งการคือไทยเรามีพื้นฐานด้านดิจิทัลที่สมบูรณ์มาก เรียกว่าอันดับต้นๆ ดีไม่ไม่ดีจะเป็นเบอร์หนึ่งของภูมิภาคด้วยซ้ำ ซึ่งเกิดจากภาคเอกชนที่ลงทุนจนสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศ ขณะเดียวกันการใช้ที่ประชาชนมีความสามารถใช้โซเชียลมีเดีย อี-คอมเมิร์ซ ทำให้ตลาดส่วนดิจิทัลของไทย มีโพเทนเชียลสูง ทำให้นักลงทุนมาลงในภาคดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งไม่ใช่ดาต้าเซ็นเตอร์เล็กๆ แต่เป็นระดับไฮเปอร์สเกล แต่แน่นอนว่า ช่วงนี้ยังคงเห็นได้ว่าที่เศรษฐกิจไทยยังโตได้ไม่มากเนื่องมาจากอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition) ทั้งเรื่องหนี้ครัวเรือนสูง ถ้าปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ ใน 1-2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยก็จะเริ่มขยับตัวได้ดีขึ้น”