จากกรณีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ประกาศให้นักเรียนสวมชุดไปรเวทมาเรียนได้ทุกวันอังคาร โดยจะเริ่มวันนี้ (8 ม.ค.62) เป็นวันแรก ปรากฏว่ามีกลุ่มศิษย์เก่าบางคน บางกลุ่มออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยกับแนวปฏิบัตินี้ ด้วยการโพสต์ข้อความผ่านทาง facebook เช่น "ผมขอคัดค้านความคิดอันนี้ครับ" ,เด็กนักเรียนมันคิดอะไรวะ,ไล่มันออกไปเสียสถาบันเปล่าๆครับ ล่าสุดได้สอบถามไปยังโรงเรียน ได้รับการชี้แจงว่า แนวคิดนี้เริ่มต้นจากคณะครูในโรงเรียนที่ตัดสินใจร่วมกัน โดยมีผู้อำนวยการเป็นคนอนุมัติ ไม่ใช่สภานักเรียนแต่อย่างใด ซึ่งแนวปฏิบัตินี้ทำในลักษณะวิจัยทดลอง เพื่อตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ทันสมัยขึ้น เพราะโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย จึงอยากจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยจะใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา เริ่มในวันอังคารที่ 8 ธันวาคมที่จะถึงนี้เป็นวันแรก โดยไม่บังคับ และหากพบว่าการแต่งชุดไปรเวทมาเรียนแล้วทำให้ผลการเรียนแย่ลง หรือได้รับผลกระทบต่อการเรียนหนังสือก็จะยกเลิกแนวคิดนี้ทันที "ถือเป็นนโยบายที่ทางคณาจารย์และผู้บริหารเห็นพ้องเพื่อเป็นการทดลองเท่านั้น ไม่ได้มีการบังคับเด็กว่าต้องแต่งชุดไปรเวท ซึ่งเป็นภาคสมัครใจ แต่ก็ให้อยู่ในขอบเขตความเหมาะสม ชุดไปรเวทต้องเป็นชุดที่สุภาพ ไม่ใช่แต่งอะไรมาก็ได้ โดยโรงเรียนจะทดลองเป็นเวลา 1 เทอม หากประเมินแล้วไม่ดีก็เลิก" สำหรับกรณีมีศิษย์เก่าออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วยนั้น ทางโรงเรียนได้รับข้อมูลแล้ว ซึ่งพบว่าเป็นศิษย์เก่าเพียงบางคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ความเห็นของคนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วย และถึงตอนนี้ยังไม่มีใครมายื่นเรื่องคัดค้านอย่างเป็นทางการกับทางโรงเรียน โดยความหมายของเครื่องแบบนักเรียนไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายถึง รูปแบบการแต่งกายของผู้เข้าศึกษาในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ในสถานศึกษาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง โดยการแต่งกายของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงแตกต่างกันออกไป นักเรียนชายกำหนดการแต่งกาย ดังนี้ - เสื้อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่มีสาบหลัง มีกระเป๋าเสื้อที่หน้าอกด้านซ้าย ปักอักษรย่อหรือสัญลักษณ์ของโรงเรียนที่หน้าอกซ้ายและชื่อหรือตัวเลขประจำตัวนักเรียนที่หน้าอกขวา ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินหรือสีแดงในการปัก - กางเกงและเข็มขัด มี 3 แบบ คือ กางเกงขาสั้นสีกากี คู่กับเข็มขัดหนังสีน้ำตาล กางเกงขาสั้น สีดำคู่กับเข็มขัดหนังสีดำหรือน้ำตาล สีน้ำเงินคู่กับเข็มขัดสีดำหรือสีน้ำตาล ในปัจจุบัน โรงเรียนที่ใช้กางเกงนักเรียนสีกากีส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร โรงเรียนรัฐบาลมักให้ใส่กางเกงนักเรียนสีดำ และโรงเรียนเอกชนจะใช้กางเกงนักเรียนสีน้ำเงิน โดยความยาวของกางเกงจะแตกต่างกันตามโรงเรียน โดยจะมีส่วนคล้ายกันคือต้องเหนือเข่าประมาณ3-4นิ้ว โดยเฉลี่ยแล้ว ความยาวกางเกงนักเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15-16นิ้วเป็นอย่างน้อย บางโรงเรียนจะมีกฎบังคับไม้ให้ใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่าความยาวหนึ่ง เช่น โรงเรียนชายล้วนชื่อดังแห่งหนึ่ง ห้ามนักเรียนใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่า15นิ้ว อีกแห่ง16นิ้ว และโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งถือว่าการใส่กางเกงนักเรียนยาวกว่า18นิ้วเป็นเรื่องน่าอับอายและจะต้องถูกลงโทษอย่างเคร่งครัด - รองเท้าและถุงเท้า มี 2 แบบ คือ กางเกงน้ำตาล จะใช้รองเท้าและถุงเท้าสีน้ำตาล อีกแบบคือกางเกงดำและน้ำเงิน ใช้ถุงเท้าสีขาว คู่กับรองเท้าผ้าหรือหนังสีดำ โดยสรุปแล้ว นักเรียนต้องสวมเสื้อนักเรียนและกางเกงนักเรียนที่สั้นที่สุดเท่าที่ตนเองมี บางแห่งอาจมีการกำหนดความยาว เช่น ต้องสั้นกว่า 18นิ้ว หรือ ชายกางเกงต้องสูงเหนือเข่าอย่างน้อย 2นิ้ว โดยผู้ที่ไม่มีกางเกงตามแบบดังกล่าวจำเป็นต้องนำกางเกงนักเรียนไปตัด นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่ควรปฏิบัติแต่ไม่เคร่งครัดอีกด้วย เช่น ควรสวมกางเกงนักเรียนให้ฟิตที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการเห็นกระเป๋ากางเกงแลบออกมาจากการตัดกางเกงนักเรียนถือเป็นสิ่งที่น่าทำตาม นักเรียนหญิงกำหนดการแต่งกาย ดังนี้ - เสื้อ มีรายละเอียดดังนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ใช้เสื้อคอปกบัวสีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนไม่มีจีบ ปล่อยชายเสื้อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้เสื้อคอปกกะลาสี สีขาว เนื้อผ้าแบบเสื้อนักเรียนชาย ที่แขนมีจีบและกระดุม ผูกโบสีกรมท่าใต้ปกเสื้อ ปล่อยชายเสื้อ ความยาวของกระโปรงเหนือเข่าไม่เกิน 5 ซม. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เสื้อเชิ้ตปกแหลม สีขาว ที่แขนมีจีบและกระดุม สอดชายเสื้อไว้ในกระโปรง คาดทับด้วยเข็มขัดหนังสีดำ ความยาวของกระโปรงเกหนือเข่าไม่เกิน 5 ซม. ปักอักษรย่อของโรงเรียนที่หน้าอกขวาและชื่อนักเรียนที่หน้าอกซ้าย ซึ่งใช้ด้ายสีน้ำเงินปัก - กระโปรง เป็นกระโปรงสีกรมท่า มีจีบด้านหน้า 6 จีบ และด้านหลัง 6 จีบ - รองเท้าและถุงเท้า รองเท้าหนังสีดำ ถุงเท้าสีขาว