สุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก์แจกต้นไม้เวียนเทียนยุคใหม่ด้วยต้นไม้ดีต่อใจดีต่อโลก


ที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี จัดพิธีเวียนเทียนด้วยต้นไม้ “เวียนเทียน ยุคใหม่ด้วยต้นไม้ ดีต่อใจ ดีต่อโลก” วัดป่าเลไลยก์ แจกต้นไม้และกล้าไม้นานาชนิด จำนวน 2,000 ต้น อาทิ ต้นสัก ต้นพยุง และต้นขี้เหล็ก ให้กับพุทธศาสนิกชนที่มาเวียนเทียน วันมาฆบูชา ซึ่งมีนางอภิญญา เอี่ยมอำภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนข้าราชการ และพุทธศาสนิกชน มาร่วมพิธีสวดมนต์และ “เวียนเทียนยุคใหม่ ด้วยต้นไม้ ดีต่อใจ ดีต่อโลก” วันมาฆบูชา ซึ่งพระครูโสภณวีรานุวัตร,ผศ.ดร. รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ได้ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ ต้นไม้ก่อนนำมาแจกให้กับพุทธศาสนิกชน ได้นำต้นไม้มงคล เวียนเทียน 


พระครูโสภณวีรานุวัตร,ผศ.ดร.รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เปิดเผยว่า สำหรับการเวียนเทียนด้วยต้นไม้  ถือเป็นการปฏิรูปพิธีกรรมดั้งเดิม สู่การสร้างพฤดิกรรมใหม่ที่เหมาะกับโลกในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหามลภาวะ เวียนเทียมด้วยต้นไม้ ไม่เพียงช่วยลดฝุ่นควันที่เป็นอันตรายกับสุขภาพ แต่ยังช่วยลดขยะจากธูปเทียนจำนวนมหาศาลให้กับวัด และต้นกล้าที่ใช้เวียนเทียนนี้ 


หลังเสร็จพิธีเวียนเทียนด้วยต้นไม้แล้ว ทางวัดมอบต้นไม้และกล้าไม้ ให้ประชาชนนำไปปลูกในที่ดินของตนเองเพื่อเป็นสิริมงคล หรือใครที่ไม่สะดวกนำต้นไม้ไปปลูกเอง  จะมอบต้นไม้ให้กับทางวัด เพื่อนำไปปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นการลดโลกร้อน ขยายถิ่นรมณีย์ให้แผ่กว้าง เกิดความร่มรื่นสมกับเป็นอาราม ส่งเสริมการพัฒนาจิตใจให้กับประชาชน ต้นไม้ยังช่วยคืนความสมดลให้ระบบนิเวศน์ ช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่นพิษ ช่วยลดภาวะเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน ในปัจจุบัน 
ซึ่งนายวีระพงศ์ ปัตแวว ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้สุพรรณบุรี ได้นำต้นไม้ และกล้าไม้นานาชนิด จากกรมป่าไม้ ส.พ.จำนวน 2,000 ต้น มามอบให้กับทางวัดป่าเลไลยก์ เพื่อนำต้นไม้และกล้าไม้ มาแจกให้กับพุทธศาสนิกชน ได้ใช้ต้นไม้เวียนเทียน วันมาฆบูชา เป็นการเวียนเทียนยุคใหม่ ด้วยต้นไม้ ดีต่อใจ ดีต่อโลก


สำหรับต้นไม้ มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องในพุทธประวัติหลายชนิด ทั้งที่เป็นสถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม และ ปรินิพพาน จากพุทธประวัติ ทรงประทับในป่ามากกว่าที่อื่นใด ดังนั้นต้นไม้หลายชนิดจึงมีความหมายต่อชาวพุทธและพระพุทธศาสนา อย่างมีนัยสำคัญมิใช่น้อย ทรงประสูติ ใต้ต้นสาละ ณ อุทยานลุมพินี ทรงตรัสรู้ ภายใต้ร่มเงาของต้นพระศรีมหาโพธิ์  จากนั้น ทรงดำเนินสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน    ใกล้เมืองพาราณสี และ ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา ดังนั้น ปรากฎการณ์ในสมัยพุทธกาล วันมาฆบูชา ตรงกับ 15 ค่ำ เดือน 3  จึงเป็นวันสำคัญยิ่งของระพุทธศาสนา ที่พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ ป่าอิสิมฤคทายวัน  และ มาถึงปัจจุบันชาวพุทธต่างยังร่วมกันทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เจริญภาวนา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถเช่นทุกปี