เต่าทะเลเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีอายุยืนยาวแต่กับใกล้ศูนย์พันธุ์ จนนับได้ว่าหากไม่มีการดูแลกันอย่างเป็นระบบเต่าทะเลเหล่านี้ก็คงเป็นแค่เต่าสต๊าฟ ที่ไม่มีตัวตนให้ลูกหลานได้เห็นกันอีกต่อไป กองทัพเรือ ได้รับพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร์มหาภูมิพลอดุลยเดช ถึงการเข้ามาดูแลอนุรักษ์เต่าทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ ที่ทรงเล็งเห็นว่าประชากรเต่าทะเลหลายสายพันธุ์กำลังศูนย์หายไปจากท้องทะเลไทยอย่างรวดเร็ว ในปีพุทธศักราช 2538 กองทัพเรือได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามันซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยได้มอบภารกิจให้ ทัพเรือภาคที่ 3 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามันขึ้น ณ บริเวณฐานทัพเรือพังงา ต่อมา ทัพเรือภาคที่ 3 ได้มอบหมายให้ฐานทัพเรือพังงารับผิดชอบศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามันโดยมีพื้นที่ดำเนินการ 2 พื้นที่คือ 1. พื้นที่เพาะฝักไข่เต่า เกาะหนึ่ง หรือเกาะหูยงในหมู่เกาะสิมิลัน อ.คุระบุรี จ.พังงา 2. พี้นที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ภายหลังเกิดเหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2547 ทำให้อาคารเพาะเลี้ยงพันธุ์เต่าทะเลและอาคารที่พักได้รับความเสียหาย ทั้งในพื้นที่เกาะหูยงและพื้นที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน ฐานทัพเรือพังงา ในปัจจุบัน สถานที่ทำงานและอาคารต่างๆได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้ง 2 แห่ง ขั้นตอนการดำเนินการมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 เป็นการสำรวจเก็บฝักไข่เต่า และมีเจ้าหน้าที่ 3 นาย ปฏิบัติงานในเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นที่ทำการเพาะฝักไข่เต่า เจ้าหน้าที่ดูแลไข่เต่าบนเกาะหูยงแห่งนี้ จะทำงานอยู่บนเกาะ 15 วัน แล้วทำการสับเปลี่ยนกำลังพล 1 ครั้ง ระยะทางการเดินทางของเจ้าหน้าที่ที่นี้ จากฐานทัพเรือพังงาทัพเรือภาคที่ 3 ถึงเกาะหูยงระยะทาง 40 ไมล์ทะเล ใช้เวลา 8 ชั่วโมง การปฏิบัติเจ้าหน้าที่บนเกาะ จะออกเดินสำรวจหาด 2 ครั้ง ทั้งในเวลากลางวันกับเวลากลางคืนเพื่อตรวจร่องรอยและแนวทางเท้าเดินของเต่าทะเล เมื่อได้ตรวจพบเต่ามาวางไข่บนหาด เจ้าหน้าที่ก็จะได้ดูแลป้องกันและช่วยเหลือ เมื่อแม่เต่าได้ลงกลับทะเลไปแล้ว เจ้าหน้าที่จะเก็บนำไข่เต่ามาทำการฝักที่สถานที่เพาะฝักไข่เต่า ซึ่งจะอยู่ห่างจากศัตรูทั้งทางตรงและทางธรรมชาติโดยจะทำการเพาะมีระยะเวลาประมาณ 70-80 วัน ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นการอนุบาลเต่าทะเลที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน ฐานทัพเรือพังงาทัพเรือภาคที่3 โดยจะทำการอนุบาลลูกเต่าทะเลจนลูกเต่าจนถึง 6 เดือน ในช่วงนี้จะมีการดูแลและปรับสภาพเต่าไปในตัว การให้อาหารนอกเหนือจากจะให้ปลาเป็นอาหารแล้ว ยังมีการให้ส่าหร่ายทะเลเป็นอาหารอีกด้วย ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการปล่อยเต่าสู่ทะเล เพื่อให้ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ที่มีความสมบูรณ์ตามวัฏจักรหรือวงจรชีวิต เต่าที่รับการปล่อยลงสู่ทะเลจะวายไปสู่เกาะอินเดีย หรือ หมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย และเต่าเหล่านั้น ก่อนเมื่อมาทุ่นวางไข่ที่เกาะหูยง ก็จะถูกเจ้าหน้าที่บนเกาะทำการฝังไมโครชิบทุกตัว เพื่อที่จะติดตามวิถีชีวิตของมัน ในขณะดำดงชีพอยู่ในทะเลต่อไป แม้ว่าการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลของกองทัพเรือจะมีปัญหามาหลายประการ แต่ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐและประชาชน ศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลสามารถดำเนินการเพาะเลี้ยงอนุบาลเต่าและปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติ ปกติปีละ 18,000 ตัว มีนักเรียน นักศึกษา ประชาชนเข้ามาเยี่ยมชมการอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลมากกว่า 1 แสนคนต่อปี เพื่อให้การดำเนินการงานอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากที่สุด ในโครงการนี้นอกจากจะเป็นการดำเนินการดูแลสภาพแวดล้อมทางทะเลให้เป็นแหล่งขยายพันธ์เต่าทะเลแล้ว ยังได้ก่อสร้างอาคารศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล เพื่อเป็นแหล่งความรู้ความเข้าใจ และเสริมสร้างความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองพันธ์เต่าทะเลให้เป็นทรัพยากรธรรมชาติของประชาชนสืบไป สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวในอนาคตของฐานทัพเรือพังงานั้น ฐานทัพเรือพังงาได้มีแนวความคิดในการปรับปรุงสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ 1. โครงการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์สึนามิ ฐานทัพเรือพังงา ซึ่งเป็นการสร้างอาคารให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้นรวมทั้งภายในตัวอาคารมีการแสดงความรู้เรื่อง ในเรื่อง สึนามิให้ผู้เยี่ยมชมได้เข้าใจเพื่อผ่านทางสื่อที่สวยงาม 2. โครงการปรับปรุงอนุสรณ์สถานรำลึกสึนามิ ฐานทัพเรือพังงา เป็นการปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบเรือ ต.215 ให้สวยงามน่าเยี่ยมชมมากขึ้น 3. โครงการสร้างอาคารนิทรรศการศึกษาธรรมชาติชีวิตเต่าทะเลฐานทัพเรือพังงา เป็นอาคารที่รวบรวมประวัติความเป็นมาของชีวิตเต่าทะเล โดยนำเสนอแบบนิทรรศการ รวมทั้งมีห้องบรรยายเพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ติดต่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน ได้ที่ ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ ๓ ต.ลำแก่น อ. ท้ายเหมือง จ.พังงา 82210 โทร 076453342 ต่อ 21459