ชวนเที่ยวงาน หอการค้าตราดเกษตรแฟร์ ครั้งที่ 1 โชว์นวัตกรรมด้านการเกษตรกรรม และเทคโนโลยี่ด้านการเกษตรของจังหวัด รวม 9 วัน
ระหว่าง 22 ก.พ.- 2 มีนา 2568 คาดคนเที่ยวงาน2 หมื่นรายได้ 240 ล้านบาท
จ.ตราด/วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 ที่"สวนหลงบูรพา" ต.อ่าวใหญ่ อ.เมืองตราด จ.ตราด นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ทพญ.วิภา สุเนตรประธานหอการค้าจังหวัดตราด ดร.สุทัศน์ เวชโชติ รองประธานหอการค้าจ.ตราด ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดย นายพีระ เอี่ยมสุนทร รองผวจ.ตราด นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด นางวรัญญา ถนอมพันธุ์ พาณิชย์จ.ตราด ว่าที่ ร้อยตรีกรกฎ โอภาส ผอ.ททท.สนง.ตราด ร่วมแถลงข่าวงาน "หอการค้า ตราดเกษตรแฟร์ ครั้งที่ 1 22 กุมภาพันธ์-2 มีนาคม 2568
นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า จังหวัดตราดมีพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ สร้างรายได้หลักและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ถึง 50% มีผลผลิตสำคัญๆ ทุเรียน มังคุด เงาะ และผลิตทางด้านการประมง โดยในปี 2567 สามารถสร้างรายได้เข้าจังหวัดตราดเกิน 2 หมื่นล้านบาท แต่ในขณะเดี๋ยวกันเกษตรกรเองต้องเผชิญกับภาวะภัยธรรมชาติ การแข่งขันทางด้านการตลาด และปัญหาด้านคุณภาพของผลผลิต ยกตัวอย่างเรื่องของสารตกค้างแคดเมียม BY2 ในทุเรียน ที่มีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทั้งภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนเวลานี้ และจ.ตราดเองได้รับผลกระทบเต็มๆ ปีนี้ทุเรียนจ.ตราดมีปริมาณ 132,237 ต้น ออกก่อนเหลือเวลา 30 วันเดือนมีนาคมจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดและตลาดหลักของเรา
กว่า 90%เป็นประเทศจีน เกษตรกรเราต้องเตรียมปรับตัวตั้งรับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันภาคเกษตรกรรมเองประสบกับกับปัญหาต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในเรื่องของอาหารปลอดภัย ที่จำเป็นต้องเร่งสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพให้ได้รับความเชื่อมัน โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารปลอดภัย จังหวัด
ตราดเองพร้อมที่จะช่วยสนับสนุนให้ภาคเกษตรกรรมของจังหวัดตราดเข้มแข็ง มีผลผลิตและผลิตภัตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีการสร้างแบรนด์ของจังหวัดตราดให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือกันอย่างจริงจังในทุก ระดับ จะทำให้ภาคเกษตรกรรมของจังหวัดตราดเข้มแข็ง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
ทพญ.วิภา กล่าวว่า ได้ร่วมกับ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่(YEC) จัดงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและประสิทธิภาพของเกษตรกร สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกการค้าในยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้ภาคเกษตร การพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์เกษตรของจ.ตราด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมขยายช่องทางการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการสร้างความร่วมมือ เครือข่ายระหว่างภาครัฐ ทั้งนี้จ.ตราด มีรายได้ 3 เสาหลัก คือ ภาคเกษตรกรรม การท่องเที่ยวและการค้าชายแดนทำอย่างไรให้มีการเชื่อมโยงให้เป็นปึกแผ่นพัฒนาไปด้วยกัน เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจจ.ตราด มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน โอกาสของหอการค้าสามารถที่จะผลักดันภาคเกษตรกรรมเชื่อมโยงกับกับเศรษฐกิจหลักได้ ตัวอย่างเรื่องการยกระดับการเกษตรสมัยใหม่ให้มีมาตรฐานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น การพัฒนาเป็น Smart Farming การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย อาทิ การตรวจสอบดิน การใช้ drone พ่นปุ๋ยและยา เพื่อนำไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆเช่น GAP, Organic, หรือ GI เพื่อเพิ่มมูลค่าและความ น่าเชื่อถือในตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการแปรรูปทางการเกษตร เพื่อให้ก้าวสู่ครัวโลกได้อย่างยั่งยืน
ว่าที่ ร.ต.กรกฎ โอภาส ผอ.ททท.สนง.ตราด กล่าวว่าความสำคัญภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยว ถือว่าเป็นเศรษฐกิจหลักของจ.ตราด ปี 2567 ปีที่ผ่านาภาคท่องเที่ยวสร้างเม็ดเงินให้จ.ตราด 18,192.74 ล้านบาท ด้วยศักยภาพของภาคเกษตรกรรมของจ.ตราด ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้หลายด้าน ด้วยมีผลผลิตหลากหลายและมีคุณภาพ ททท.ทำมา มีการท่องเที่ยวเชิงเกษตร แคมเปญ "อร่อยทุกไร่ ชิมไปทุกสวน" ในจ.ตราดมีหลายแห่ง ทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนผลไม้ เช่น สวนผลอำไพ สวนสละสมโภชน์ สวนคุณไพฑูรย์หรือที่สวนทุเรียน GI ชะนีเกาะช้าง การท่องเที่ยวเชิงอาหาร บ้านไร่เขียวขจี ภาสกรฟาร์ม รววมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ นอกจากลิ้มรสผลไม้ อาหารแล้วสามารถเรียนรู้กระบานการผลิตได้
การจัดงานหอการค้าตราดเกษตรแฟร์ เป็นโอกาสที่จะมองเห็นศักยภาพของจ.ตราดที่จะสนับสนุนการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือเชื่อมโยงกันได้อย่างไร เช่น การเปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้าชมหลายๆสวน จะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและกระจายนักท่องเที่ยวได้ นักท่องเที่ยวได้มารับประทานผลไม้คุณภาพ ปลอดภัยและซื้อผลไม้กลับไป ซึ่งพื้นที่ ต.อ่าวใหญ่ ต.อ่าวช่อ ได้เปรียบที่มีมีถนนสายทุเรียน การเดินทางที่สะดวกสบาย บรรยากาศสองข้างทางเป็นสวนทุเรียนเกือบ 100% ติดกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ทุเรียนจ.ตราดที่ ต.อ่าวใหญ่ ออกก่อนที่อื่นในภาคตะวันออก ชื่นชมกับผู้จัดงาน "ชิมทุเรียน ริมเล" ลักษณะนี้น่าจะดึงนักท่องเที่ยวสายชิมทุเรียน ทุเรียนเลิฟเวอร์ให้มาท่องเที่ยวได้ แต่ต้องคิดกิจกรรมอะไรที่สร้างประสบการณ์เพิ่มขึ้นเพราะคนมาเที่ยวหลักๆคือมาชิมทุเรียนต้องมีทุเรียนให้ชิมให้ซื้อ
"การเปิดรับนักท่องเที่ยวในสวนผลไม้จะเป็นโอกาสต่อยอดของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการใช้สวนที่เป็นรู้จักกันกว้างขวางมาเป็นซอฟพาว์เวอร์ได้ สื่อโชเชียลจะเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ง่ายและรวดเร็ว จังหวัดตราดมี
โอกาสที่พัฒนาได้ เพราะมีสวนผลไม้ที่หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและการบริหารจัดการของเจ้าของสวน มีหลายสวนที่เปิดแล้วประสบความสำเร็จ บางสวนที่ไม่เปิดรับอาจจะคิดว่ามีข้อเสียหลายอย่าง จริงๆอยากให้งานหอการค้าตราดเกษตรแฟร์ครั้งนี้ มีเวทีเสวนาเรื่องการเปิดสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ผู้ประสบความสำเร็จมาพูดคุยถึงปัญหาอุปสรรรคการแก้ไข และการบริหารการจัดการที่ทำให้เปิดสวนและสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวได้ เพื่อจุดประกายให้เกษตรกรเปิดสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรกันมาขึ้น"ผู้อำนวยการ. ททท.สนง.ตราดกล่าว
หลังจบการแถลงข่าวแล้ว ก่อนเดินทางกลับนายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ได้ทดลองบินโดรนเพื่อการเกษตรในการบินเพื่อใช้สารเคมีให้ปุ๋ยและกำจัดศัตรูพืช และการขับขี่รถเอวีทีATVเข้าไปชมสวนทุเรียนด้วย โดยเฉพาะโดรนกว่าจะสามารถบินได้ต้องใช้เวลานาน ท่ามกลางหัวหน้าส่วนราชการที่เอาใจช่วยตลอดเวลา และกลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุและกลัวว่าโดรนจะไม่ขึ้น …