"กฤษฏา” สั่งทุกหน่วยงานเร่งระดมสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติพายุ ปาบึก พบ 13 จว.ใต้ เกษตรกร ได้รับผลกระทบ 189,688 ราย พร้อมกำชับเฝ้าระวังฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและกักตุนสินค้าวัสดุ การเกษตร ซ้ำเติมเกษตรกร ชี้ฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามกฏหมายทันที วันนี้ (6 ม.ค.62) นายกฤษฏา บญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการศูนย์อํานวยการและบัญชาการสถานการณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศอบ.กษ.) พายุโซนร้อนปาบึก สถานการณ์ห้วงต่อจากนี้ จะต้องเร่งสำรวจประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเกษตร โดยเฉพาะความเสียหาย ต่อการประมง ท้ังประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน เพาะเลี้ยงชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ดังนั้น จึงขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ได้พิจารณาดำเนินการ เฝ้าระวัง เตือนภัย พื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ พื้นที่ริมเชิงเขา ริมแม่น้ำลำคลอง (พื้นที่มีความล่อแหลม เปราะบางสูง) โดยเฉพาะชาวประมง ให้เร่งสำรวจ และเกษตรกร ให้ได้รับการ ช่วยเหลือตามระเบียบท่ีเกี่ยวข้องจากรัฐอย่างทั่วถึง ทันการณ์ ทันเวลา โดยให้วางแผนระดมและจัดกำลังเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับปริมาณภาระงาน เพื่อสำรวจความเสียหายสิ้นเชิง ด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เป็นรายอำเภอ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขอให้เร่งวางแผนและดำเนินการ ทันที รวมทั้งจัดทำชุดข้อมูลเพื่อประกอบการเสนอกองบัญชาการบรรเทาสาธารณภัย กชภอ.และกชภช.พิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และเร่งดำเนินการจัดท้าเอกสารตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกร ได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ เฝ้าระวัง ป้องปราม การจำหน่ายวัสดุทางการเกษตร เพื่อไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและกักตุนสินค้าวัสดุ การเกษตร หากพบการฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สำหรับพื้นที่การเกษตรประสบภัย 13 จังหวัด เกษตรกรรวมทั้งสิ้น 189,688 ราย แบ่งเป็น -ด้านพืช 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง ปัตตานี ชุมพร เกษตรกร 158,550 ราย พื้นที่ได้รับผลกระทบ 116,823 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 20,437 ไร่ พืชไร่ 2,513 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 93,873 ไร่ ลักษณะความเสียหาย ระยะแรกของพายุจะมีลมพัดแรง ส่งผลต้นไม้ขนาดใหญ่หักโค่น และระยะต่อมาเมื่อปริมาณฝนสะสมตกหนักจะเกิดมวลน้ำสะสมไหลหลากผ่านพื้นที่เกษตร ส่งผลให้หน้าดินในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ถูกกัดเซาะ จากน้ำหลาก และเกิดน้ำท่วม พื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ ส่งผลให้สวนยางพารา สวนปาล์ม มีน้ำขังท่วมโคนต้น และพื้นที่นาข้าวในจังหวัด นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระยะการเจริญเติบโตอายุปลูก 60 วัน ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากไหลผ่านและท่วมขัง -ด้านประมง 7 จังหวัดได้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราชสุราษฎร์ธานีสงขลาปัตตานีประจวบคีรขันธ์จันทบุรี ตราด เกษตรกร 6,653 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำ คาดว่าจะเสียหาย 22,364 ไร่ (บ่อปลา 12,484 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 9,880 ไร่) กระชัง 4,050 ตารางเมตร ลักษณะความเสียหาย ปลาที่เลี้ยงในกระชังถูกคลื่นซัดได้รับความเสียหาย สัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อถูกน้ำท่วม -ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎรธ์ านี นราธิวาส ปัตตานี เกษตรกร 25,138 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,216,681 ตัว แบ่งเป็น โค- กระบือ 46,678 ตัว สุกร 49,993 ตัว แพะ-แกะ 9,021 ตัว สัตว์ปีก 1,110,989 ตัว ลักษณะความเสียหายสัตว์ปีกพื้นบ้านที่ไม่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย สูญหาย และโรงเรือนสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ (ไก่เนื้อ ไก่ไข่)ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ถูกน้ำท่วมโรงเรือนสัตว์ใหญ่โคเนื้อสามารถอพยพขึ้นที่สงูตามคำเตือนซึ่งในระยะต่อมาสุขภาพสัตว์อาจอ่อนแอเนื่องจาก ภาวะเครียดและความชื้น ได้รับอาหารไม่เพียงพอ ส่วนเรือประมง ประสบภัย 8 จังหวดั ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ระนอง สงขลา ปัตตานี จ้านวน 86 ลำ ลักษณะความเสียหาย ในพื้นที่ภาคตะวันออก เรือประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นเรือที่จอดบริเวณชายหาด น้ำเข้าเครื่องยนต์เรือ สามารถถอดมาล้างและใช้งานได้ เปลือกเรือแตกเนื่องจากเรือกระแทกกันขณะจอด สามารถซ่อมแซมได้ ในขณะนี้หน่วยงาน กรมประมง ร่วมบูรณาการตรวจสอบความเสียหาย ทั้งนี้ การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2556 ในกรณีเสียหายสิ้นเชิง และ ตาย/สูญหาย ด้านพืช ช่วยเหลือรายละไม่เกิน 30 ไร่ ข้าว 1,113 บาท พืชไร่ 1,148 บาท พืชสวน 1,690 บาท ช่วยเหลือค่าขนย้ายดินโคลน ไร่ละไม่เกิน 7,000 บาท รายละ 5 ไร่ ช่วยเหลือค่าปรับเกลี่ยพื้นที่ช่วยเหลือ ไร่ละ 700 บาท ไม่เกิน 30 ไร่ ด้านประมง ปลา 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง/ปู หอย ทะเล 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชัง 315 ตรม. ไม่เกิน 80 ตรม. ด้านปศุสัตว์ โค-กระบือ ตัวละ 6,000 บาท-22,000 บาท ไม่เกินสองตัว ยางพารา สมาชิกการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เสียสภาพสวน ให้ทุนปลูกแทน ไร่ละ 16,000 บาท ช่วยเหลือค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมคอกสัตว์/โรงเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 5,000 บาท รวมทั้งช่วยเหลือเรือประมงตามระเบียบกรมประมง พ.ศ. 2541/ตามระเบียบก.คลัง พ.ศ. 2556 กรณีเรือความยาวไม่เกิน 10 เมตร ช่วยเหลือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ลำละ 20,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 30,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 66,000 บาท กรณีเรือความยาวเกิน 10 เมตร ช่วยเหลือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 70,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 95,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 200,000 บาท กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบกรมประมงฯ ให้ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท