วันที่ 10.00 น. วันที่ 6 ก.พ. 68 (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงปักกิ่ง) ที่มหาศาลาประชาชน สาธารณรัฐประชาชนจีน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมคารวะนายสี จิ้นผิง (H.E. Xi Jinping) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางเยือนสาธารณประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 5-8 ก.พ. 68
โดยนายกฯ กล่าว สวัสดีปีใหม่จีนและยินดีที่ได้มาเยือนจีนในปี 2568 ซึ่งเป็นปีที่พิเศษครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ไทย-จีน นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจนปัจจุบัน ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในปัจจุบัน จีนถือเป็นหุ้นส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 อีกทั้งจีนยังเข้ามาเป็น นักลงทุนอันดับต้นๆของไทยต่อเนื่องหลายปี มูลค่ากว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นว่าไทย-จีน มีมิติทางความสัมพันธ์เป็นพิเศษ ทีั้งนี้ทั้งสองฝ่ายจะร่วมส่งต่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันต่อไปอีก 50 ปีข้างหน้า เพื่อสานต่อความร่วมมือไปยังคนรุ่นต่อไปในอนาคต
ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง กล่าวถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 50 ปี ไทย-จีน มีหลักการและวิสัยทัศน์ความร่วมมือในการแบ่งปันความเจริญรุ่งเรือง (shared prosperity) ซึ่งจีนสนับสนุนบทบาทไทยในทุกกรอบความร่วมมือ ทั้งระดับทวิภาคี พหุภาคีและภูมิภาค และยังเห็นควรขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เศรษฐกิจดิจิทัล เขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี) และการใช้ประโยชน์ความร่วมมือเศรษฐกิจ ไทย ลาว จีน อีกทั้งจีนยังส่งเสริม ภาคเอกชนไทยในทุกมิติ ทั้งนี้ จีนจะมีการจัดงาน “China International Import Expo” เป็นงานสำคัญของการค้าขายระหว่างกัน ซึ่งจีนยังสนับสนุนสินค้าและบริการที่ดีของไทย ส่วนความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์ทางทหาร ไทย -จีนมีจุดเริ่มต้นจากโครงการเรือดำน้ำอีกด้วย
นายกฯ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในความร่วมมือ ด้านความเชื่อมโยงระหว่างไทย-จีน โดยรัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 4 ก.พ. ที่ผ่านมาอนุมัติดำเนินการโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย รวมทั้งจะให้การรถไฟแห่งประเทศ ยกระดับความร่วมมือด้านการรถไฟ ระหว่างไทยและจีน ให้เพิ่มเติมมากกว่าระบบรางอีกด้วย
นายกฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ไทยยังมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ โครงการ Entertainment complex และ Land bridge ซึ่งจะเป็นโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ พร้อมเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำมาตรฐานร่วมกันในการจัดการ ณ ด่านศุลากร เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ใช้เหลือผู้ประกอบการทั้งไทย-จีน รวมทั้งเพื่อประโยชน์ ของผู้บริโภคจีนด้วย
นายกฯ กล่าวว่า ด้านความปลอดภัยของประชาชน และนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทย เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญสูงสุด ซึ่งไทยพร้อมเดินหน้าความร่วมมือกับจีนในการสะกัดกั้นกระบวนการอาชญากรรมที่เดินทางผ่านประเทศไทยและจะเตือนภัย ผ่านกลไกความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เป็นที่น่ายินดีที่ทั้งสองฝ่าย รวมถึงประเทศที่เกี่ยวข้องในภูมิภาค ได้มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ขบวนการ call center อย่างจริงจังแล้วในปัจจุบัน
นายกฯ กล่าวว่า ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง กล่าวว่า จีนสนับสนุนอย่างเข็มแข็งในการปราบปราม ขบวนการหลอกหลวง( online scam )การลักพาตัว การค้ามนุษย์ ถือเป็นการบั่นทอนผลประโยชน์ของประชาชนจีน เป้าหมายหลักของทั้งสองประเทศ คือ การปราบปรามกิจกรรมผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาจีนได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและท้องถิ่นสามารถปราบปรามยาเสพติด จนประสบความสำเร็จ
โดยอาชญากรรมข้ามชาติ ถือเป็นความท้าทาย มีความเสี่ยงสูง และชี่นชมรัฐบาลไทยที่พยายามอย่างเต็มที่และเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการตัดน้ำ ไฟ อินเตอร์เน็ตและน้ำมัน ที่จะสามารถตัดวงจรกิจกรรมที่เป็นอาชญากรรมต่างๆ ได้ และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม จะดูแลความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศด้วยการยกระดับการบังคับใช้กฏหมายทั้งในระดับทวิภาคีและอนุภูมิภาค
ส่วนการยกระดับความร่วมมือในระดับประชาชน อาทิ การจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ 50 ปี ไทย -จีน ในการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ร่วมทั้งการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนการแสดงวัตถุโบราณ การส่งมอบแพนด้ายักษ์ รวมไปถึงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่ และการให้ทุนการศึกษา และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและ soft power เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมและสื่อวัฒนธรรมสมัยใหม่ ความร่วมมือด้านสื่อ วัฒนธรรม เพื่อส่งต่อความร่วมมือจากรุ่นสู่รุ่น เป็นสิ่งที่ทั้งสองประเทศจะได้ร่วมมือกัน
ทั้งนี้นายกฯ ได้แสดงความยินดีที่ไทยและจีนเห็นถึงความสำคัญของความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในสาขาแห่งอนาคต เนื่องจากคนถือเป็นอนาคตของประเทศและความสัมพันธ์ไทย - จีน นอกจากนี้ ไทยยังมุ่งส่งเสริมและแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา วัฒนธรรม soft power เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งให้แก่ประชาคมไทย-จีนที่มีอนาคตร่วมกัน