วันที่ 28 ม.ค.2568 รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 10 สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 2 โดยมีนายบุญส่ง น้อยโสภณ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้มีการพิจารณาญัติด้านสาธารณสุข ตามที่ นพ.วีระพันธ์ สุวรรณนามัย สว. เป็นผู้เสนอ
นพ.วีระพันธ์ กล่าวว่า ตนขอเสนอญัตติเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาได้พิจารณาร่วมกันถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทยและควรเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน แม้ที่ผ่านมาเราได้พยายามแก้ไขมาโดยตลอด แต่ยังพบว่านับวันปัญหายิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันการสาธารณสุขของไทยกำลังเผชิญกับการขาดแคลนบุคลาการด้านการแพทย์ และด้านสาธารณสุข ซึ่งการสาธารณสุขถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการที่จะให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล ซึ่งส่งผลต่อความเท่าเทียมการเข้าถึงด้านการแพทย์ของประชาชน
ที่ผ่านมาตนเคยนำเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาถึงชั่วโมงการทำงานของแพทย์และบุคลาการด้านสาธารณสุข ว่าพวกเราทำงานกันหนักหน่วงมาก เราพบว่ามีหมออยู่เวรติดต่อกัน3-4 วัน นอกจากนี้ยังเกิดความไม่สมดุลของการกระจายบุคลากรทั้งในเชิงจำนวนและประเภทของบุคลาการทางแพทย์ รวมทั้งมีประเด็นเรื่องความไม่สอดคล้องกันของงานกับค่าครองชีพทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหนา้ที่สาธารณสุข แม้แต่เวรเปล ค่าตอบแทนยังไม่พอเพียง มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมในหลายๆอย่าง ทั้งความปลอดภัย และการเจริญก้าวหน้า ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อแพทย์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้รับบริการทุกคน
ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและเร่งด่วน ดังนั้นจึงอยากให้วุฒิสภาร่วมกันแสดงความเห็นและแสวงหาแนวทางการแแก้ไขปัญหาด้านการแพทย์และยุคลากรในสาธารณสุข ของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
นพ.วีระพันธ์ กล่าวว่า ตนขอเสนอแนวทางแก้ไขด้วยกัน 8 ข้อได้แก่ 1. ควรเพิ่มจำนวนแพทย์และบุคลากร รวมทั้งจัดการการกระจายให้เกิดความเหมาะสม รวมถึงคุ้มครองความปลอดภัยให้อยู่ในระบบได้ด้วย 2. ควรมีการกำหนดชั่วโมงการทำงานสูงสุด มีการจัดเวร หมุนเวียนที่เหมาะสม ไม่ให้แพทย์ และพยาบาลต้องเหนื่อยมากจนเกินไป 3.ต้องมีการปรับโครงสร้างรายได้ ค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรด้านสาธารณสุข 4.มีการส่งเสริมศักยภาพการอบรมให้มีอนาคตที่ดีขึ้นในด้านวิชาชีพของเขาเอง 5.ควรมีการกำหนดนโยบายการกระจายตัว ของบุคลากรอย่างเป็นธรรม
6. ด้านงบประมาณ และอุปกรณ์ต่างไ ต้องจัดสรรให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนให้เพียงพอ 7.ควรมีการสร้างสมดุลระหว่างสิทธิและความสะดวกในการเข้าถึงการบริการสุขภาพของประชาชนอย่างสมเหตุสมผล 8.ควรสร้างสมดุลระหว่างนโยบายการให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวต่างชาติเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กับการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในประเทศ ดังนั้นขอเสนอญัตติ และขอให้ที่ประชุมมีข้อสังเกต ส่งข้อเสนอแนะไปยังครม.เพื่อดำเนินการต่อไป