สุรินทร์ เกษตรอำเภอสังขะ ร่วมกับภาคเอกชนแก้ปัญหาไรแดงและโรคต่างๆที่ระบาดให้กับเกษตรกรที่ปลูกทุเรียน เงาะ สละอินโดสายน้ำผึ้ง 

วันที่ 28 มกราคม 2568 นางศิริวรรณ ทัดศรี เกษตรอำเภอสังขะ. น.ส สิทธิณี พิศงาม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ  น.ส.กรรณิการ์ สุโขพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการและเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอสังขะ ร่วมกับ กลุ่มทันสมัยการเกษตร และผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกทุเรียน ลงพื้นที่ให้ความรู้กับกลุ่มเกษตกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ตำบลตาตุม ตำบลเทพรักษา ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์  โดยในช่วงภาคเช้าเป็นการให้ความรู้เรื่องด้านวิชาการด้านวิชาการเกษตร ภาคบ่ายเป็นการลงพื้นที่ดูสวนปลูกทุเรียน ปลูกเงาะ ปลูกสละอินโดพันธุ์สายน้ำผึ้งและปลูกมังคุด  ซึ่งในขนาดนี้เกษตกรกำลังประสบภัยเกี่ยวกับไรแดง โรคราใบติด โรคจุดสาหร่าย เป็นต้น  

นางศิริวรรณ ทัดศรี หัวหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอสังขะ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า ทุเรียนมีศัตรูหลายชนิด และพบระบาดเป็นประจำในพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วไป บางชนิดมีการระบาดรุนแรงเฉพาะในบางพื้นที่ และบางชนิดมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ตันทุเรียนตายได้ ปัญหาที่สำคัญของทุเรียนอย่างหนึ่ง คือ ปัญหาโรครากเน่า นอกจากปัญหาการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า และยังมีโรคที่สำคัญอีกหลายชนิดได้แก่ โรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราแปัง โรคแอนแทรคโนส โรคใบจุด และอาการที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร รวมทั้งความสับสนของเกษตรกรเกี่ยวกับโรคราสีชมพูของทุเรียนกับโรครากเน่าและโคนเน่า ที่ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคพืชไม่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง และป้องกันกำจัดโรคไม่ได้ ที่ผ่านมานั้นสำนักงานเกษตรอำเภอสังขะ ได้ให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายลงพื้นให้ความรู้กับเกษตรกรมาโดยตลอด 

นายชารี ภูมิสิงห์  ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลบำรักษาต้นทุเรียน ตัวแทนกลุ่มทันสมัยการเกษตร  กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า  หลังจากที่ลงไปดูสวนทุเรียนของกลุ่มเกษตกรทำให้รู้ว่า เกษตรกรบางท่านยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับโรคทุเรียนร่วมทั้งการดูแลรักษา การใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อเกิดโรคกับทุเรียนแล้วจะดูแลรักษาต้นทุเรียนอย่างไร  วันนี้ทางกลุ่มทันสมัยการเกษตรมาให้ความรู้ทุกๆด้าน ตอบปัญหาทุกคำถามที่ชาวสวนถาม  อำเภอสังขะถือเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่น่าสนใจ ตอนนี้ชาวสวนปลูกทุเรียนอยู่สามสายพันธุ์คือ ทุเรียนหมอนทอง  ทุเรียนก้านยาว ทุเรียนมูซังคิง ร่วมทั้ง เงาะ มังคุด สละอินโดสายน้ำผึ้ง  เชื่อว่าหากเกษตรกรเข้าใจเกี่ยวกับโรคของทุเรียนและมีการดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกต้องถูกวิธี จะเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้เป็นอย่างดี 

ทั้งนี้อำเภอสังขะมีเกษตกรที่สนใจปลูกทุเรียนและผลไม้ชนิดต่างๆ มากเป็นลำดับที่สามของจังหวัดสุรินทร์  ทั้งนี้นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ได้มอบนโยบายด้านการเกษตรและการเพิ่มผลิตเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตกรทุกๆกลุ่ม