จังหวัดชัยนาท เปิดโครงการฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนขยะกำพร้า เป็นทรัพยากรมีค่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

วันนี้ 28 มกราคม 2568 ที่ ห้องประชุมนันทภรณ์ โรงแรมแฟนตาซี รีสอร์ท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาทนายสังคม คัดเชียงแสน ปลัดจังหวัดชัยนาท ประธานในพิธีเปิดโครงการ ฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ภายใต้ แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนขยะกำพร้า เป็นทรัพยากรมีค่า สู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

สืบเนื่องจากกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำแผนการขับเคลื่อนการขจัดความ ยากจน และลดความเหลื่อมล้ำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโมเดล เศรษฐกิจ BCG ซึ่งกำหนดประเด็นการขับเคลื่อน ๔ ประเด็น คือ  1 การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานการ พัฒนา 2 ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างและกระจาย รายได้อย่างเป็นธรรม 3 ลดการใช้ทรัพยากร ลดขยะและของเสีย และ 4 มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใน 2567 จังหวัดชัยนาท มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 329.77 ตัน/วัน มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ เพียง 188.71 ตัน/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 57.23 ซึ่งปัญหาการจัดการขยะ มูลฝอยที่ต้นทางของจังหวัด เกิดจากประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการ ลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ในครัวเรือน และวิธีการนำขยะกลับมาใช้ ประโยชน์ ทำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัดเป็นจำนวนมาก ทรัพยากรถูกทิ้งโดยไม่เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะขยะพลาสติก เช่น ถุงพลาสติกหูหิ้ว แก้วน้ำ หลอดพลาสติก กล่องพลาสติกใส่อาหาร ซ้อน-ส้อมพลาสติก รวมถึงกล่อง เครื่องดื่มยูเอชที ถุงนมโรงเรียน ซองกาแฟ และขยะเศษอาหาร (Food Waste) โดยเฉพาะน้ำมันทำอาหารใช้แล้ว ซึ่งหากจัดการไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม อุดตันท่อระบายน้ำ และทำให้แหล่งน้ำและดินเสื่อมโทรม

ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยนาท จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยชุมชน ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนขยะกำพร้า เป็น ทรัพยากรมีค่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมุ่งหวัง ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ และรับทราบแนวทางการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยชุมชนด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำไปปรับ ใช้ในการปฏิบัติงานในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น