เมื่อวันที่ 26 ม.ค.68 เพจเฟซบุ๊ก "วัดสุทธิวราราม" โพสต์รูป พร้อมข้อความระบุว่า จากกระแสละครเรื่อง "คุณพี่เจ้าขา ดิฉันเป็นห่านมิใช่เป็นหงส์" เกี่ยวกับผ้าจีวรลายดอกพิกุล และนิยมสร้างพระพุทธรูปที่มีการห่มผ้าลายดอดพิกุล ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น
วัดสุทธิวราราม กรุงเทพ ได้พบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดสนใจศึกษา เชิญแวะเยี่ยมชมได้ ณ วัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร
โดยวัดสุทธิวราราม เปิดกรุ พบจีวรผ้าไหมลายดอกพิกุล และผ้าไหมจีนโบราณ อายุราว 200-250 ปี ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 เมษายน 2-3 ปีที่ผ่านมา วัดสุทธิวราราม ได้อัญเชิญพระพุทธรูปเก่าแก่ของวัด มาให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนร่วมสรงน้ำ เพื่อเป็นสิริมงคล
ในการนี้ระหว่างค้นและอัญเชิญพระพุทธรูปได้เปิดตู้โบราณ ได้พบกับจีวรผ้าไหมลายดอกพิกุล และผ้าสบงที่ทำจากผ้าไหมจีนลายดอกโบตั๋นและลายต้นไผ่ อายุเก่าแก่ จำนวน 5-6 ชุด (นักวิชาการด้านผ้ามาดูแล้ว บอกว่า เป็นผ้าไหมจากประเทศจีน อายุน่าจะเก่าแก่ สมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สำหรับจีวรผ้าไหมลายดอกพิกุลและลายดอกโบตั๋น และต้นไผ่ นั้นทราบมานานแล้วว่า "จีวรดอกพิกุล"นั้น แท้จริงแล้ว นายช่างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เลียนแบบ "ผ้าต่างประเทศ" ที่มีการทอเนื้อผ้าเป็นลายดอกดวงเล็กๆ คล้ายกับดอกพิกุล อันนับเป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น ทำให้เป็นที่นิยมถือเป็นของดีมีค่าสูง เหล่าทายกทายิกาผู้มีศรัทธา ปรารถนาจะถวาย "ประณีตทาน" เลยนำผ้าลายดอกนี้มาตัดย้อมเป็นจีวรถวายพระภิกษุ จนเป็นที่ปรากฏแพร่หลายโดยทั่วไป
อันเป็นแรงบันดาลใจอย่างสำคัญในมีการประดิษฐ์ "พระพุทธรูปจีวรดอก" ขึ้นมาด้วยประการฉะนี้ และเชื่อกันว่า เป็นจีวรที่ถวายสำหรับพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ระดับสูง
วัดสุทธิวราราม มีพร้อมทั้งจีวรลายดอกพิกุล ดอกโบตั๋น และต้นไผ่ ซึ่งนำมาจากจีน และพระพุทธรูปลายดอกพิกุล
โดยทางวัดจะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด เผื่อให้ประชาชนได้เยี่ยมชมเป็นลำดับสืบต่อไป
อ้างอิง รู้จัก 'จีวรลายดอกพิกุล' เทรนด์พระสงฆ์ไทย ยุคต้นรัตนโกสินทร์ https://www.matichon.co.th/local/arts-culture/news_5017090
#จีวรลายดอกพิกุล #ประวัติศาสตร์ไทย #คุณพี่เจ้าขาดิฉันเป็นห่านมิใช่เป็นหงส์ #โบว์เมลดา #ภณณวัสน์