คมนาคม - กระทรวงเกษตร นำร่อง ปลดล็อคใช้โดรนเพื่อการเกษตร ลดต้นทุน

คมนาคม จับมือกระทรวงเกษตร นำร่อง นครพนม โมเดล เป็นพื้นที่ ปลดล็อคใช้โดรนเพื่อการเกษตร ลดต้นทุน หนุนศูนย์ข้าวชุมชน มีโดรนเพื่อการเกษตร บริการ เกษตรกร ขานรับนโยบายรัฐบาล นำนวัตกรรมใหม่ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  

  

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2568 ที่แปลงสาธิตการผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ กข 22 ต.พนอม อ.ท่าอุเทน นครพนม ส.ส.เดือน นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ส.ส.เขต 2 นครพนม พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายอัครา พรหมเผ่า รมช.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำร่องโครงการโดรนเกษตรปลอดภัยนครพนม พร้อมเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวเหนียวคุณภาพดี ในพื้นที่นำร่องเขตปลดล็อคอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรนเพื่อการเกษตร โดยความร่วมมือของ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด กระทรวงคมนาคม กรมการข้าว หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขานรับนโยบายรัฐบาล พรรคเพื่อไทย เน้นลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส เติมเงินใส่กระเป๋าเกษตรกร ทั้งนี้จะมีการส่งเสริม เกษตรกร ใช้นวัตกรรมโดรน มาสนับสนุนการเกษตร ในงานลดแรงงาน พ่นปุ๋ย พ่นสารกำจัดวัชพืช ศรัตรูพืช ภายใต้การดูแลศูนย์ข้าวชุมชน ทั้งประเทศ รวมกว่า 5,000 ศูนย์ ส่วนนครพนม มีจำนวน 79 ศูนย์ ครบทั้ง 12 อำเภอ

นอกจากนี้ยังมี อบรมอาสาสมัครบินโดรน ให้กับเกษตรกร และจะมีการสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อโดรน ประจำศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อบริการเกษตรกร ตามนโยบาย 1 ตำบล 1 โดรนการเกษตร สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ปัจจุบัน ประเทศไทย มีการใช้โดนการเกษตรแล้วมากกว่า 50,000 ลำ ภายใต้การตรวจสอบดูแล ของกระทรวงคมนาคม ทำการจัดการจราจรทางอากาศ ควบคู่กับการตรวจสอบโดรนต้องสงสัย ที่เสี่ยงกระทำผิดกฎหมาย เชื่อว่าอนาคตจะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรมีรายได้มากขึ้น อย่างแน่นอน ในครั้งนี้ มีผุ้นำชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงตัวแทนเกษตรกร ในพื้นที่ จ.นครพนม ร่วมเปิดงาน

ส.ส.เดือน นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ส.ส.เขต 2 นครพนม พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม ได้จับมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายให้ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย รวมถึงกรมการข้าว และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ส่งเสริมเกษตรกรใช้นวัตกรรมใหม่ หรือโดรนเพื่อการเกษตร ทั่วประเทศ รวมถึงนครพนม ได้นำร่อง เป็นพื้นที่ สำคัญ นครพนม โมเดล ในการปลดล็อคพื้นที่โดรนเพื่อการเกษตร ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส โดยจากข้อมูลกรมการข้าว พบว่า โดรนเพื่อการเกษตร สามารถลดต้นทุนด้านแรงงาน ลดระยะเวลา ในการพ่นปุ๋ย การกำจัดศรัตรูพืช สามารถลดต้นทุนได้ ไม่ต่ำกว่า ไร่ละ 5,000 บาท  นอกจากนี้จะได้ผลักดันให้รัฐบาล สนับสนุนงบประมาณ จัดซื้อโดรน ให้ศูนย์ข้าวชุมชน ไว้บริการประชาชนในพื้นที่ และอนาคตไม่เพียงพื้นที่ทำนา ยังจะได้ส่งเสริมนำนวัตกรรมใหม่ มาช่วยลดต้นทุนการเกษตรทุกด้าน