สุรินทร์ อากาศหนาวนานส่งผลดีแก่เกษตรกรปลูกหัวผักกาดขาว เพื่อแปรรูปส่งขายรายได้งามหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เป็นของดีของฝากหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดสุรินทร์
เกษตรกรกำลังรวมกลุ่มกันเก็บเกี่ยวหัวไชเท้า หรือ หัวผักกาดขาวจากผืนนา ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีตามฤดูกาล หรือว่างเว้นจากการทำนาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนมกราคม เกษตรกรที่วนใจหันมาปลูกหัวไชเท้า เพื่อไม่ให้พื้นที่ว่างเปล่า ถือเป็นการสร้างรายได้งามอีกทางหนึ่งเป็นอย่างดี ได้ ไถแปลงนาและหว่านเมล็ดหัวผักกาดขาว ที่เป็นพืชระยะสั้น และได้เก็บผลผลิตได้ช่วงเดือนมกราคม ที่ถือว่าเป็นช่วงสภาวะอากาศที่เหมาะสมแล้วสำหรับการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวหัวผักกาดขาว เนื่องจากผลผลิตของหัวไชเท้าที่ได้ในแต่ละปีถือเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกอย่างมาก เมื่อเทียบกับการเพาะปลูกข้าว หรือ มันสำปะหลัง หัวผักกาดถือว่าคุ้มค่ากับการเพาะปลูกเพื่อเป็นรายได้ที่ดีมาก
นายชุม พูนแสง เกษตรกรบ้านหนองกก ต.นาบัว อ.เมืองสุรินทร์ ที่ใช้พื้นที่เพาะปลุกในฤดูกาลนี้เพียง 3 ไร่ แต่ได้ผลผลิตนำส่งขายคาดไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท อย่างแน่นอน เนื่องจากผลผลิตหัวผักกาดปีนี้หัวใหญ่ได้ขนาด แมลงหรือศัตรูพืชไม่ค่อยมี ทำให้ไม่ต้องใช้ยากำจัดหรือสารเคมีใดๆมาใช้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพียงแค่ดูแลโดยการรดน้ำเป็นประจำ ทำให้หัวมีเปอร์เซ็นต์สมบูรณ์มากกว่าทุกปี และยิ่งสภาพอากาศหนาวเย็นและแห้ง ทำให้เหมาะแก่การเพาะปลูกหัวผักกาดให้ได้ผลดี ทำให้มีผลกำไรเป็นที่น่าพอใจ และโรงงานที่รับซื้อก็พอใจที่จะให้ราคาดีตามคุณภาพอีกด้วย
นางสาวกรรณสุรินทร์ ทรัพย์วงกรต ประธานกลุ่มเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย และสมาชิกตัวแทนเกษตรกรในหลายภาค เดินทางลงเยี่ยมชมแปลงการเพาะปลูกหัวผักกาด เพื่อศึกษาดูขั้นตอนกรรมวิธีตั้งแต่การเพาะปลูก ดูแล เก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนขึ้นตอนการแปรรูป ที่จะมองว่าเกษตรกรน่าจะสามารถปลูกเพื่อสร้างรายได้ที่ดีหลังจากเพาะปลูกพืชหลักอย่างข้าวและมันสำปะหลัง
ช
โดยเกษตรกรจะเก็บผลหัวไชเท้า หรือ หัวผักกาดขาว เพื่อนำไปแปรรูปเป็นหัวผักกาดเค็ม ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารที่ได้รับความนิยม โดยเกษตรกรจะนำหัวผักกาดที่ตัดใบแล้ว นำไปใส่ไว้ในหลุมที่ปูด้วยพาสติก และโรยด้วยเกลือทะเลในปริมาณที่เหมาะ และจะทำสลับกันเป็นชั้นๆ เพื่อให้เกลือหมักและปนอยู่ในตัวหัวผักกาดขาวอย่าทั่วถึง เกลือจะทำปฏิกิริยากับตัวหัวผักกาดทำให้เกลือดูดน้ำและความชื้นออกจากตัวหัวผักกาด ที่หมักไว้ในหลุม ซึ่งหัวผักกาดอวบๆขาวๆจะเริ่มรัดตัวเปลี่ยนสีและแห้งลง น้ำจากหัวผักกาดจะออกมายังก้นหลุม เกษตรกรก็จะเปิดเพื่อนำหัวผักกาดออกมาผึ่งลมผึ่งแดด จากนั้นก็จะนำผักกาดลงหมักในหลุมกับเกลือเช่นนี้อีก 5 – 6 รอบ จนกว่าหัวผักกาดจะฟีบเล็กและรัดตัวเนื่องจากเกลือดูดน้ำออกจากหัวและเกิดเป็นหัวผักกาดขาวความเค็มได้ที่ ส่วนน้ำที่ขังอยู่ภายในก้นหลุมก็มีความเค็มสูง สามารถนำน้ำนี้ไปรดโคนต้นไม้อย่างมะพร้าวได้ เพื่อบำรุงให้ลูกมะพร้าว เนื่องจากดินส่วนใหญ่แถบอีสานจะมีความเปรี้ยว การนำน้ำเกลือหมักนี้ไปรดต้นไม้ก็จะช่วยปรับให้ดินเกิดความเค็ม ผลผลิตมะพร้าวก็จะเกิดความหวานมันได้ดี
ผักกาดหวานสามผึ้ง ของฝากขึ้นชื่อจากจังหวัดสุรินทร์ เริ่มต้นจากภูมิปัญญาการเกษตรดั้งเดิมของ นายเซียะง้วน แซ่เจ็ง บิดาของนายธนกฤต เจียรวัฒนากร เจ้าของโรงงานผักกาดหวานสามผึ้ง นายเซียะง้วน เป็นชาวจีนอพยพที่อำเภอกาบเชิง ได้คิดค้นวิธีการถนอมอาหารด้วยการหมักหัวผักกาดกับน้ำผึ้งในโอ่งมังกร จากการทำเพื่อรับประทานในครัวเรือน ต่อมาได้พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก จนกระทั่งความอร่อยของผักกาดหวานสามผึ้ง ได้ไปถึงลิ้นของบุคคลสำคัญระดับโลกอย่างท่านเหมา เจ๋อตุง ผู้นำประเทศและผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และจอมพลเจียง ไคเชก อดีตผู้นำไต้หวัน ส่งผลให้ผักกาดหวานชนิดนี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แม้เวลาจะผ่านไปหลายชั่วอายุคน ความอร่อยหอมหวานกรอบของผักกาดหวานสามผึ้งก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของฝากยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนสุรินทร์
ปัจจุบัน การปลูกผักกาดหวานสามผึ้งยังคงมุ่งมั่นที่เสริมการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีตามฤดูกาล หรือว่างเว้นจากการทำนาในช่วงปลายฝนต้นหนาว เกษตรกรส่วนใหญ่จะหันมาปลูกหัวไชเท้า เพื่อไม่ให้พื้นที่ว่างเปล่า ถือเป็นการสร้างรายได้หลักอีกทางหนึ่งเป็นอย่างดีได้ ไถแปลงนาและหว่านเมล็ดหัวผักกาดขาว ที่เป็นพืชระยะสั้น (45 วัน) และได้เก็บผลผลิตได้ช่วงเดือนมกราคม ที่ถือว่าในช่วงสภาวะอากาศเย็นและแห้ง เหมาะสมแล้วสำหรับการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวหัวผักกาดขาว เนื่องจากผลผลิตของหัวไชเท้าที่ได้ในแต่ละปีถือเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกอย่างมาก โดยนายธนกฤต เจ้าของผักกาดหวานตรา “สามผึ้ง” ได้มีการที่จะส่งเสริมการปลูกผักกาดหวานอินทรีย์ พร้อมแจกเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยฟรี และวางอนาคตที่จะร่วมมือกับภาครัฐส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและแปรรูปหัวผักกาดอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการให้เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย เกลือ เพราะเกษตรกรปลูกแล้วได้รายได้ดีหลังว่างเว้นจากการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งมีการปลูกมานานแล้วก่อนงานการแสดงของช้างครั้งแรก (61 ปี) ซะอีก และได้เอาไปจำหน่ายภายในงานแสดงของช้างสุรินทร์ และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวไทยชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก มีชื่อเสียงจนได้เป็นส่วนหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดสุรินทร์ ที่ว่า “ สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม”