เมื่อวันที่ 13 ม.ค.68 ที่หอประชุมสุริยะจันทร์ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม ได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ร่วมกับสถานประกอบการและโรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 127 แห่ง ในจังหวัดมหาสารคาม นายสุภชัย จันปุ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี นายสุคนธ์ นาเมืองรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 และคณะ ผู้อำนวยการ, รองผู้อำนวยการ ตัวแทนจากสถานประกอบการ, คณะครูวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม และสมาคมผู้ปกครองและครูวิทยาลัยเทคนิค ในงาน ชมวิดีทัศน์ “ทักษะการทำงานเพื่อเข้าสู่โลกอนาคต เสวนา “หัวข้อการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกับการพัฒนาประเทศสู่โลกอาชีพ”

นอกจากนี้ มีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือ การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกับสถานประกอบการและโรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสถานศึกษาภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยการนำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษา ระบบทวิภาคี, การจัดการเรียนการสอน,หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น, ระบบสะสมหน่วยกิตอาชีวศึกษา(Credit Bank) ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะวิชาชีพ เพื่อรองรับการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย ในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม จึงได้ดำเนินการเพื่อสนองแนวนโยบายดังกล่าว

นายสุรวัจน์ ปิติจรัสเชาว์กุล ผอ.วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม กล่าวว่า โครงการพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา ร่วมกับสถานประกอบการ และโรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด จำนวน 127 แห่ง  เป็นโครงการที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดย มี 8 AGENDA” พัฒนาอาชีวศึกษา “ทำดี ทำได้ ทำทันที” ได้นำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในส่วนที่สอดคล้องกับบทบาทภารกิจของสถานศึกษาโดยตรง สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมประเด็นพัฒนาที่ 2ปฏิรูประบบอาชีวศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา (2.1) สร้างความเข้มแข็งให้กับการ จัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (2.4) ขับเคลื่อนระบบคลังหน่วยกิตอาชีวศึกษา (CreditBank) ประเด็นพัฒนาที่ 5 พัฒนาภาคีเครือข่ายและเสริมพลังความร่วมมือ (5.3) เชื่อมโยงการจัดการศึกษาภายในกระทรวงศึกษาธิการ (Connect MOE) (5.4) ผลักดันการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบความร่วมมือ (Active MOU/MOA)จึงได้จัดทำโครงการพิธีลงนามบันทึกความความร่วมมือการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกับสถานประกอบการและโรงเรียนเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพิ่มโอกาสและทางเลือกให้กับนักเรียนนักศึกษา สถานประกอบการ ให้มีทักษะวิชาชีพ เพื่อเป็นการ พัฒนากำลังคนในการพัฒนาประเทศต่อไป