มข. เปิดตัวเสื้อเกราะกันกระสุน จากใต้นกันชง พร้อมนำมาทดสอบจากกระสุนจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจคอนเฟิร์ม ได้มาตรฐานสากล  มาในรูปแบบเป้สะพายหลัง

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สนามยิงปืน ตำรวจภูธรภาค 4 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ผศ.ดร.พนมกร ขวาของ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และดร.สุธา  ลอยเดือนฉาย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นทีมนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. ได้นำแผ่นนกระสุน ซึ่งผลิตจากต้นกัญชงกับพลาสติกมามอบให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสววจาก กก.สส.ภ.จว.หนองบัวลำภู และ บก.สส.ภ.4  จำนวน 30 ตัว  ซึ่งทางทีมนักวิจัยได้ดีไซน์ออกมาในรูปแบบของกระเป๋าเป้สะพายหลัง เหมาะกับงานสืบสวนที่จะต้องแฝงตัวปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้ใครรู้ว่าเป็นตำรวจ ้้

พร้อมนำแผ่นกันกระสุน ซึ่งผลิตจากกัญชงกับพลาสติก มาการทดสอบประสิทธิภาพ ด้วยการทดลองใช้กระสุนจริงยิงใส่ ซึ่งในการทดสอบนั้นมาตรฐานของแผ่นกันกระสุน  หากภายใน 5 นัด ชุดเกราะไม่ทะลุ หรือมีรอยนูนขนาดใหญ่จนเข้าถึงร่างกายผู้สวมใส่ ถือว่ามีประสิทธิภาพป้องกันที่สามารถใช้งานในสถานการณ์ได้จริง

ซึ่งเจ้าหน้าที่ ได้ใช้อาวุธปืนบรรจุกระสุนขนาด 9 มม. ยิงเข้าใส่  จำนวน 3 นัด และใช้อาวุธปืนบรรจุกระสุนขนาด.45 มม.ยิงใส่อีกจำนวน 2 นัด โดยกระสุนเข้าเป้าทุกนัด ซึ่งนัดแรกนั้นเป็นกระสุนขนาด 9 มม. พบว่าไม่ทะลุและไม่มีรอยนูนที่ด้านหลังชองแผ่นดังกล่าว และนัดที่ 2 เป็นกระสุนขนาด .45 มม. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าขนาด 9 มม. โดยจากการทดสอบพบว่ากระสุนเข้าไปประมาณ 3 มม.แต่ไม่ทะลุ และไม่มีรอยนูนจากแผ่นด้านหลัง หลังทดลองยิงจำนวน 5 นัด แต่กระสุนไม่ทะลุ และรอยนูนที่แผ่นดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ไม่สร้างความเสียหายหรือบาดเจ็บให้กับผู้สวมใส 

ผศ.ดร.พนมกร ขวาของ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. กล่าวว่า เสื้อเกราะกันกระสุนจากกัญชงกับพลาสติกนั้น เป็นงานวิจัยชิ้นใหม่ มาจากการใช้วัสดุใหม่ คือกัญชงกับพลาสติก ซึ่งมีกรดเพชร ที่สามารถเอามาทำเสื้อเกราะได้ เส้นใยกัญชงมีความเหนียวค่อนข้างมาก แต่จะเปราะแต่เมื่อผสมกับเลซิ่น จะมีความแข็งแรงค่อนข้างสูงเหมือนเหล็ก ส่วนตัวพีอีทีที่ใช้ข้างหลังจะมีความพิเศษคือยืดก่อนขาด รับการกระจายของแรงได้ แล้วเมื่อนำมาทักทอเป็นแผ่นประกบเป็นชิ้นหลังก็จะกระจายได้ดี  แผ่นแรกทำลายหัวกระสุน หยุดหัวกระสุนชะลอหัวกระสุน  ส่วนตัวพีอีที เป็นตัวกระจายแรงไปทั่วแผ่น

 

"การใช้เส้นใยกัญชงในการผลิตเกราะกันกระสุนเป็นแนวคิดที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากคุณสมบัติของเส้นใยมีความแข็งแรงและน้ำหนักเบา ผู้ใช้งานจะมีความคล่องตัว แล้วก็ป้องกันกระสุนได้ รวมทั้งรอยยุบตัวก็ไม่เกินมาตรฐาน 4.4 ซม. เพราะถ้ายุบตัวมากจะส่งผลต่อร่างกาย ที่อาจจะซี่โครงหัก ปอด ม้าม ช้ำใน ที่ต้องพักรักษาตัวนาน  ซึ่งข้อดีของเสื้อเกราะกันกระสุนชิ้นนี้จะไม่มีผลกระทบเหล่านี้ เพราะเสื้อเกราะจากใยกัญชงและพลาสติก ที่ทีมวิจัยทำขึ้นมาสำเร็จนั้น จากการทดลองตามมาตรฐานนั้น สามารถป้องกันผลกระทบเหล่านี้ได้"

 

ขณะที่ ดร.สุธา ลอยเดือนฉาย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. กล่าวว่า แผ่นกันกระแทกและเสื้อเกราะกันกระสุนที่ทำสำเร็จครั้งนี้  เป็นขนาดมาตรฐาน ที่ออกแบบมาป้องกันส่วนสำคัญของร่างกาย   โดยทีมวิจัยมองการทำวิจัยในครั้งนี้ว่า ทำจากการนำของทิ้ง โดยทีแรกจะเอากัญชามาทำ แต่ติดปัญหาในเรื่องของกฏหมายของกัญชาที่ยังไม่ลงตัว จึงมาตกลงที่การใช้ต้นกัญชงและพลาสติก ซึ่งเมื่อการทำวิจัยสำเร็จก็ได้ทำการทดลองของแผ่นเสื้อเกราะจากใยกัญชงและพลาสติก โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทดลองยิงจำนวน 5 นัด ไม่มีทะลุ 

"  บช.ภ.4  เป็นศูนย์กลางตำรวจที่รับผิดชอบหลายจังหวัด จึงมอบให้ตำรวจชุดสืบสวน ที่เป็นตำรวจผู้เผชิญเหตุ เพื่อให้ตำรวจมีความปลอดภัยมากขึ้น  เสื้อเกราะรุ่นนี้ มีกระเป๋าอย่างดีที่บรรจุแผ่นกันกระสุน ซึ่งประเมินราคาที่ตัวละ 8,000 บาท ซึ่งก็ถือว่า เสื้อเกราะจากใยกัญชงและพลาสติกที่ทีมวิจัยภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.ทำสำเร็จเป็นทีมแรกของประเทศไทย"

 

ด้าน พ.ต.ท.สุรัตน์ วันทะมาตร รอง ผกก.(สส.)สภ.ท่าพระ กล่าวว่า   เห็นการทดสอบอาวุธปืน 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 9 มม. และ .45 ซึ่งได้ดำเนินการทดสอบและประเมินในครั้งที่ 1 ด้วยกระสุนขนาด 9 มม. พบว่าด้านหลังของแผ่นเกราะไม่มีการทะลุของกระสุน และมีข้อดีสำคัญคือ การปูดออกของแผ่นเกราะมีปริมาณน้อย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากสรีระร่างกายของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เมื่อแผ่นเกราะไม่มีการปูดออกมาก ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่กระสุนจะกระแทกบริเวณซี่โครงของเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้เกิดความปลอดภัยสูงขึ้น

"ในฐานะผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จริง การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้แผ่นเกราะช่วยเพิ่มความปลอดภัยระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยแผ่นเกราะที่ได้มาตรฐานสามารถใส่ลงในกระเป๋าเกราะได้อย่างคล่องตัว อีกทั้งในสถานการณ์ที่มีการตอบโต้กับคนร้าย หากเจ้าหน้าที่ถูกยิงแล้วแผ่นเกราะสามารถป้องกันกระสุนไม่ให้ทะลุ เจ้าหน้าที่จะสามารถหลบเพื่อหาที่กำบังใหม่ได้ ลดความเสี่ยงจากการถูกยิงซ้ำในนัดที่สองหรือนัดที่สาม ดังนั้น การที่แผ่นเกราะสามารถป้องกันกระสุนได้ตั้งแต่นัดแรก ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในการรักษาชีวิตของเจ้าหน้าที่"