“การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ” พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเรื่องการปลูกป่า3อย่างประโยชน์ 4อย่าง “....อาจมีบางคนเข้าใจว่า ทำไมถึงสนใจเรื่องชลประทาน หรือเรื่องป่าไม้ จำได้เมื่ออายุ 10 ขวบ ที่โรงเรียนมีครูคนหนึ่ง ซึ่งเดี๋ยวนี้ตายไปแล้ว สอนเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการอนุรักษ์ดินแล้วให้เขียนว่า ภูเขาต้องมีป่าไม้ มิฉะนั้นเม็ดฝนลงมาแล้วจะชะดินลงมาเร็ว ทำให้ ไหลตามน้ำไป ไปทำความเสียหาย ดินหมดจากภูเขาเพราะไหลตามสายน้ำไป ก็เป็นหลักของป่าไม้ เรื่องการอนุรักษ์ดิน และเป็นหลักการของชลประทานที่ว่า ถ้าเราไม่รักษาป่าไม้ข้างบน จะทำให้เดือดร้อนตลอด ตั้งแต่ดินภูเขาจะหมด ไปกระทั่งการที่จะมีตะกอนลงมาในเขื่อน มีตะกอนลงมาในแม่น้ำทำให้น้ำท่วมนี่นะ เรียนมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ....” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล่าถึงแรงบันดาลพระราชหฤทัยในความสัมพันธ์ระหว่างป่า น้ำ ดิน ซึ่งเชื่อมโยงส่งผลกระทบต่อกัน เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2512 พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอันเกิดจากพระพระเมตตาพระราชหฤทัยห่วงใยราษฎรผ่านการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาอย่างต่อเนื่องนับแต่เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติตราบเสด็จสวรรคตเป็นเวลายาวนาน 70 ปี เป็นการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างหนักตรากตรำ โดยการเสด็จพระราชดำเนินไปทุกหนแห่งที่ทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่าประชาชนของพระองค์ทุกข์ยากเดือดร้อน เฉพาะอย่างยิ่งที่ประสบทุกข์จากความลำบากเรื่องที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ ทุกข์เพราะขาดที่ดินทำกิน ขาดแคลนน้ำ ขาดแคลนป่า ขาดแคลนผลผลิตที่เป็นแหล่งอาหารแหล่งปัจจัยดำเนินชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้ทรงบุกป่า ปีนเขา ลุยน้ำลุยโคลนเสด็จฯไปเพื่อทรงแก้ปัญหาให้ราษฎร เพราะทรงรักทรงห่วงคนไทยทุกคนไม่มีเลือกชั้นวรรณะ ศาสนายากดีมีจน ทุกคนคือลูกของพระองค์ “จะมีพระเจ้าอยู่หัวประเทศไหนทรงมุดรั้วลวดหนาม พระดำเนินลุยท้องนาแห้งแล้งดินแตกระแหงแม้ยามค่ำคืน เพื่อไปหาแหล่งน้ำให้ราษฎร”เป็นคำพูดที่นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรีที่วันนี้เสียชีวิตไปแล้วได้พูดไว้ ช่วงเวลา 70 ปีแห่งการครองราชย์ได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไว้กว่า 5,000 โครงการ อันเป็นพื้นฐานการศึกษาเรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพเพื่อนำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ แนวทางในการดำเนินชีวิตที่พระราชทานผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทรงเน้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญปัจจัยหลักที่ชีวิตต้องมีไว้พึ่งพิงเพื่อความเจริญงอกงาม ก็คือป่า คือน้ำ คือดิน คือชีวิตที่ต้องพึ่งพิงอาศัยกันและกัน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่พระราชทานไว้จึงมีผลสำเร็จที่ทรงทุ่มเทพระองค์ทรงคิดค้นทดลองศึกษาด้วยพระกำลังกายพระกำลังสติปัญญาทุ่มเทให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมเป็นต้นแบบให้ประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปปรับประโยชน์ใช้ให้เกิดประโยชน์ตามภูมิสังคม ทรงปลูกป่าและทรงแนะวิธีการปลูกป่าและทรงแนะวิธีสร้างแหล่งน้ำ และทรงแนะวิธีพัฒนาดินให้เกิดประโยชน์ ดั่งพระราชดำริที่เชิญมาเป็นสิริมงคลขวัญกำลังใจข้างต้น ต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมามีโอกาสไปที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสงขลา ไปที่ตำบลเขาพระ บ้านครอบครัวนายอภินันท์ หมัดหลี ที่เป็นชาวไทยมุสลิม วันนี้คนมักเรียกนายอภินันท์ว่า “ครูอภินันท์”เพราะได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 7 โดยสำนักงานคณะกรรมการสภาการศึกษา(สกศ.)กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) การจะได้คัดเลือกเป็นครูภูมิปัญญาไทยเพราะในการพื้นฐานการดำเนินชีวิตนั้นครูอภินันท์ได้รับการยอมรับจากชาวบ้าน เพื่อนบ้านให้เป็นผู้มีความรอบรู้เชี่ยวชาญเรื่องป่า เรื่องน้ำ เรื่องการประกอบอาชีพเกี่ยวกับต้นไม้พืชพรรณต่างๆ ทั้งที่เป็นไม้ผล พืชผัก ไปจนถึงพืช ไม้สมุนไพรต่างๆ รู้คุณรู้ค่าขของป่าของน้ำจนเป็นที่ยอมรับของชาวบ้านว่าเป็นปราชญ์เป็นที่พึ่งพิงเรื่องเกี่ยวกับป่า น้ำ ต้นไม้ทุกชนิด ในความเป็นปราชญ์ที่ชาวบ้านให้การเชื่อถือ ครูอภินันท์จึงได้ใช้โอกาสนี้เผยแพร่ขยายผลแนวพระราชดำริเรื่องความสำคัญของป่าน้ำทรัพยากรธรรมชาติ สำคัญกับสรรพชีวิต สำคัญเพราะเป็นทั้งแหล่งปัจจัย 4 สำคัญที่เป็นทั้งการสร้างสมดุลยในการสร้างความผาสุกร่มเย็นร่มรื่น ทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุลย์จะปกป้องภัยอันตรายให้คุณประโยชน์เกื้อกูลกัน ซึ่งครูอภินันท์ตระหนักในหัวใจอย่างลึกซึ้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพยายามที่จะย้ำให้ราษฎรของพระองค์ตระหนักในเรื่องนี้ไม่ควรแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะตัวพวกพ้องแต่ถ่ายเดียว และเรื่องนี้ครูเคยบอกเห็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงสืบสานพระราชปณิธานต่อเนื่องกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ครูอภินันท์ดำเนินชีวิตโดยการประกอบอาชีพ สร้างฐานะครอบครัวด้วยการคลุกคลีอยู่กับป่ากับธรรมชาติ เดินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เกิดแรงบันดาลใจในการอาศัยผืนป่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นที่กินที่นอน ที่รักษาชีวิตและสร้างชีวิต สร้างความรู้ความรักทรัพยากรธรรมชาติ รักต้นไม้ รักน้ำ รักสรรพสัตว์ด้วยเพราะการซึมซับจากพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แล้วอีกแรงบันดาลใจหนึ่งของครูอภินันท์ก็คือป๊ะหลน หมัดหลีผู้พ่อนั่นเอง ป๊ะหลนวันนี้ท่านจากโลกไปแล้ว ท่านเป็นผู้ที่คนทั่วไปแล้วก็คนในอำเภอรัตนบุรีต่างให้การยอมรับยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง รักต้นไม้ทุกชนิด ปลูกต้นไม้ทุกอย่าง ปลูกด้วยความรักและเห็นประโยชน์ของไม้ทุกชนิดตั้งแต่วัชพืชไปจนถึงไม้ขนาดใหญ่ ว่ากันว่าป๊ะหลนไม่เคยรู้สึกเลยว่าทรัพยากรธรรมชาติอย่างป่าอย่างแหล่งน้ำเป็นอันตรายไร้ค่ากับชีวิต ป๊ะหลนก็ได้รับการเชิดชูให้เป็นปราชญ์ชาวบ้านและได้รับการประยกย่องให้เป็นครูภูมิปัญญาเช่นเดียวกันเป็นรุ่นแรกๆของโครงการที่สกศ.ดำเนินการขึ้น นายอภินันท์ หมัดหลีสร้างครอบครัวใหญ่รวมญาติพี่น้องลูกหลานที่มีสำนึกหัวใจรักป่ารักน้ำรักทรัพยากรธรรมชาติในผืนป่านับร้อยไร่มรดกที่คุณพ่อคือป๊ะหลนรักษาไว้และสืบสานมรดกรักษาผืนป่าผืนน้ำที่มีอยู่ไว้อย่างเหนียวแน่น มีความสุขแบบพออยู่พอกินอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แปลคววามอย่างเข้าใจง่าย ก็ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์ พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า ผืนป่าที่มีทั้งไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ไม้ป่าดงดิบพืชพรรณธัญญาหารรวมกันอยู่ในนั้นโอบกอดบ้านหลังย่อมแผ่ไอแห่งความร่มรื่นชื่นสุขตอบแทนที่ได้ร่วมกันรักษากันไว้ ที่ในแต่ละวันแต่ละเดือนแล้วก็แต่ละปีมีผู้แวะเวียนไปเยือนอย่างไม่ขาดสาย ทั้งไปซึมซับเอาความร่มรื่น ทั้งไปเรียนรู้วิธีการปลูกป่าปลูกไม้และการร่วมกับทรัพยากรธรรมอย่างพึ่งพาอาศัยกันและกันได้ประโยชน์ร่วมกัน ในฐานะมรดกของครอบครัว มรดกของชุมชนแล้วก็มรดกของประเทศชาติ เป็นอาณาจักรของครอบครัวหมัดหลีที่เรียกขานว่า “สวนธาติ 4 “ ครูอภินันท์ หมัดหลี เกิดวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่บ้านเลขที่ ๑๓/๑ หมู่ที่ ๖ ตำบลเขาพระ อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวนพี่น้อง ๑๑ คน ของนายหรน หมัดหลีและนางเหรียม หมัดหลี ภรรยาผมดรณี จินดามณี มีบุตรชาย ๒ คน ได้แก่ นายปรัชญา และนายภูมิปัญญา หมัดหลี การศึกษาผมจบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โดย เสกสรร สิทธาคม