จากกรณีหนูน้อยวัย 3 ขวบ เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสที่อยู่ในอากาศและลงไปที่หัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 8 ม.ค.68 นพ.จิรรุจน์ ชมเชย กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้โพสต์ข้อความถึงอาการดังกล่าวว่า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ(myocarditis) ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส...
เช่น Enterovirus 71 , Coxsackievirus, แต่ที่เจอบ่อยกว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A นี่แหละครับ...
ที่ ICU ผมเจอประจำ คือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A... ปีที่แล้วประมาณ 3 คน มีทั้งเด็กเล็กและเด็กโต
อาการเริ่มต้น ไข้สูง อ่อนเพลีย
ถ้าเด็กเล็กจะกินได้น้อยลง ร้องกวน หรือ ซึมมาก
หากอาการหนักขึ้นจะเริ่มหายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ซึ่งณจุดนี้จะเริ่มแย่ลงอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ
โรคนี้ไม่มียารักษา ฆ่าเชื้อไวรัสจำเพาะ...
ที่พอช่วยได้คือ IVIG
ที่เหลือคือการรักษาด้วยการประคับประคอง ใส่ท่อช่วยหายใจ ใช้ยากระตุ้นหัวใจ หรือจะแย่ที่สุดก็ใส่ เครื่องพยุงปอดและหัวใจ (ECMO)
หมอเด็กเราจะรู้จักกันดีว่า โรค 1 ใน 3
หมายถึง
1 ใน 3 หายเป็นปกติ
1 ใน 3 หายไปยังมีภาวะแทรกซ้อนหัวใจโต dcm อยู่ และ
1 ใน 3 เสียชีวิต
ให้ไว้เป็นความรู้นะครับ เพราะโรคนี้จะไม่ได้เจอ กันบ่อยๆ
แต่ถ้าเจอทีไร ลำบากทั้งคนไข้ทั้งทีมแพทย์ พยาบาลใน ICU ทุกที
#หมอจิรรุจน์
ขอบคุณ เพจ หมอจิรรุจน์