ร่วมสมัย / ชะมวง พฤกษาถิ่น ในแต่ละช่วงวโรกาสสำคัญของการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ในหลวงรัชกาลที่ 9” สิ่งหนึ่งที่สื่อคือตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลฯ ในที่นี้ได้ทำการหาข้อมูลตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ นับตั้งแต่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติมาถึงปัจจุบัน ครบ 70 ปี มีจำนวน 9 ตราสัญลักษณ์ โดยในแต่ละตราสัญลักษณ์ฯ ในรูปแบบศิลปกรรม มีความหมายอย่างไรบ้างนั้นนำเสนอสังเขป เริ่มตั้งแต่ ตราสัญลักษณ์ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี (รัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514) แบบตราสัญลักษณ์ เป็นรูปพระมงกุฎ ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้ ามีรัศมีแผ่โดยรอบ ตั้งอยู่บนวิมานเมฆ ระหว่างพระมหามงกุฎและพานมีตราโอมหรือเลข 9 อันหมายถึง รัชกาลที่ 9 ข้างพานมีราชสีห์และคชสีห์ ค้ำจุนเศวตฉัตรขนาบซ้ายขวา ด้านล่างมีตัวอักษร “รัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี” ตราสัญลักษณ์นี้มีปรากฏใช้เพียง 2 แห่ง คือ ภายใต้พัดรอง จำนวน 200 เล่ม เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าคณะจังหวัดขึ้นไปตามโบราณราชประเพณี และหนังสือที่ระลึกซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นในวโรกาสนี้ มิได้มีใช้ทั่วไป ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 ลักษณะเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ยืนเหนือเมฆ เทิดพระแสงจักรและแสงตรีศูลองค์กลางสองข้างซ้ายขวาของพระครุฑ พ่าห์เป็นรูปคชสีห์และราชสีห์ประคองฉัตรเครื่องสูง 7 ชั้น เบื้องล่างของพระครุฑ พ่าห์เป็นแพรแถบมีอักษรข้อความว่า “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530” ประมวลความหมายของตราสัญลักษณ์นี้ พระครุฑพ่าห์หมายถึงแผ่นดิน คือรัฐบาล และประชาชนชาวไทยเทิดทูล พระแสงจักรและพระแสงตรีศูลหรือจักรี คือพระบรมราชวงศ์จักรี และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 องค์พระแสงจักรเวียนขวา ในความหมายแห่งธรรมานุภาพ ดังพระปฐมบรมราชโองการว่าจะทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมด้วยรัศมีและฉัตรเครื่องสูงสองข้าง หมายถึงราชาธิปไตย ราชสีห์หมายถึงมหาดไทย เป็นใหญ่ในฝ่ายพลเรือน และคชสีห์หมายถึงกลาโหม เป็นใหญ่ในฝ่ายทหาร ประคองฉัตรเครื่องสูงแสดงพระบรมราชอิสริยยศ หมายถึงข้าราชการทั้งสองฝ่ายร่วมกันปฏิบัติราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2 กรกฎาคม 2531 ลักษณะเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชฯ สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร คือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตรเหนือพระที่นั่งประดิษฐานพระแสงจักรพร้อมด้วยเปลวรัศมี กลางวงจักรมีอุณาโลม ทั้งหมดนี้อยู่ภายในกรอบรูปวงรี แวดล้อมด้วยเครื่องหมายเบญจราชกกุธภัณฑ์ ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวีชนี (พัดและพระแส้) ฉลองพระบาทใต้พระมหาพิชัยมงกุฎมีเลขเก้า สองข้างพระราชลัญจกรเป็นสัปตปฎลเศวตฉัตร เบื้องล่างเป็นแพรแถบมีอักษรข้อความว่า“พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531” ประมวลความหมายของตราสัญลักษณ์นี้ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเสด็จประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้สัปตปฎลเศวตฉัตร มีราชบัณฑิตคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทิศทั้งแปดเป็นผู้ถวายน้ำอภิเษกเพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ในแผ่นดิน คือความเป็นพระมหากษัตริย์ พระแสงจักรเวียนขวาพร้อมด้วยเปลวรัศมีและอุณาโลม หมายถึงทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่กระจายไปทั่วทุกสารทิศ เพื่อปกป้องคุ้มครองพสกนิกรของพระองค์ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ และเลขเก้า หมายถึงได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และได้เสด็จดำรงสิริราชสมบัติยืนนานยิ่งกว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นๆ เมื่อนับเนื่องจนถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531 อันเป็นวันประกอบพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก สัปตปฎลเศวตฉัตรเป็นเครื่องแสดงพระบรมราชอิสริยยศ ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 2539 ตราพระราชลัญจกรเป็นตราประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีตราพระบรมราชวงศ์จักรี และพระมหามงกุฎอยู่ด้านบนเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีมีพานเครื่องสูง 2 ชั้น เทินรัฐธรรมนูญที่เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการปกครองในระบอบประชาธิไตย โดยมีช้าง 2 เชือกเทินตราอยู่ภายใต้เศวตฉัตร โดยมีความหมายได้หลายทาง ดังนี้ ความหมายที่ 1 ช้างเป็นพาหนะของพระเจ้าแผ่นดิน เป็นเหมือนข้าช่วงใช้ของพระมหากษัตริย์ จึงเปรียบได้กับประชาชน ซึ่งเป็นเหมือนข้ารับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทในสัญลักษณ์ จึงเสมือนพสกนิกรเทิดทูน และเชิดชูองค์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์จักรี ขณะเดียวกันก็ได้อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้ร่มฉัตร ความหมายที่ 2 ช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระองค์พระมหากษัตริย์ อีกทั้งตามความเชื่อทางพราหมณ์ ช้างเผือกที่มีลักษณะตรงตามตำราจะมีส่วนช่วยหนุนให้เกิดทั้งทางแสนยานุภาพ และปรีชาสามารถ ความรอบรู้แก่องค์พระมหากษัตริย์ จึงแสดงความเป็นผู้มีบุญญาธิการ และทรงพระปรีชาญาณ ความหมายที่ 3 ช้างมีความเป็นมาคู่กับประวัติศาสตร์ของชาติมาโดยตลอด อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่เคยใช้ในธงชาติไทยในอดีต และเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว จึงเปรียบกับประเทศไทย ซึ่งมีอายุและประวัติศาสตร์ยาวนานเช่นกัน และความหมายอื่นๆ ช้างเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ที่สมควรช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ไว้ ฯลฯ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎอยู่ตรงกลางตราสัญลักษณ์ฯ ประดิษฐานอยู่เหนือพระที่นั่งอัฐทิศ เป็นการแสดงความหมายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของไทยทั้งชาติทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเคารพบูชาอย่างสูงสุดของประชาชน สีเหลืองของอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. เป็นสีประจำวันพระราชสมภพอยู่บนพื้น วงกลมสีน้ำ เงิน ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ ล้อมรอบด้วยตราพระแสงจักรและมีเลข 9 บนอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ซึ่งหมายถึงทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ มีสัปตปฎลเศวตฉัตรประกอบอยู่ 2 ข้างซ้าย –ขวา และมีนพปฎลมหาเศวตฉัตรประดิษฐานอยู่เบื้องบนสุด เส้นกรอบรอบนอกที่ออกแบบให้มีลักษณะเป็น 4 แฉก หรือส่วน 4 ส่วน แทนประชาชนชาวไทยทั่วทุกภาคของประเทศที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระองค์ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข สีพื้น ที่ใช้จึงเป็นโทนสีเขียว อันแสดงถึงความสงบ ร่มเย็นและอุดมสมบรูณ์ มีดอกบัว 4 ดอก แทรกตรงกลางระหว่างแฉกทั้ง 4 แสดงความหมายเป็นการเทิดทูนบูชาในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ รัศมีทองโดยรอบตราสัญลักษณ์ฯ เปรียบได้ดังพระบุญญาบารมี พระมหากรุณาธิคุณและน้ำพระราชหฤทัยที่แผ่ไพศาลไปทั่วทุกทิศทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก ยังความปลาบปลื้มมาสู่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า เบื้องล่างตราสัญลักษณ์ฯ ออกแบบเป็นแพรแถบสีน้ำเงินแสดงข้อความพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี 2549 อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองนวลทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทองบนพื้นสีน้ำเงินเจือทอง อันเป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้อมด้วยเพชรอันเป็นเอกแห่งรัตนะ หมายความว่า เหล่านักปราชญ์ ราชกวีสำคัญ อีกบรรดาช่างอันมีชื่อ พระยาช้างสำคัญ นางงามเหล่าทแกล้วทหาร ข้าราชบริพารอันยออดฝีมือในการปฏิบัติราชการอย่างสุจริตยิ่ง เหล่านี้เปรียบด้วยเพชรอันได้ชื่อว่ารัตนะ แวดล้อมประดับพระเกียรติยศแห่งพระมหากษัตริยาธิราชพระองค์นั้น อันเหนือยิ่งกว่าเพชรอันได้ชื่อรัตนะทั้งปวง คือ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถิตเป็นเพชรอันยอดค่ายิ่งใหญ่ในดวงใจราษฎร์ ทรงบำบัดทุกข์ผดุงสุขเป็นที่พึ่งอันเกษมสุขร่มเย็นแกปวงพสกนิกร ซึ่งต่างเชื้อ ชาติศาสนาในพระราชอาณาจักรของพระองค์ ณ บัดนี้ มหามงคลสมัยที่จะเฉลิมฉลองพระเกียรติในการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี อันยาวนานที่สุดยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในพระราชพงศาวดารในสยามประเทศ ตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พระราชสัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นภาพพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุณาโลม รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือวงจักรเป็นพระเศวตฉัตร 7 ชั้น ตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ อันหมายถึง พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ มีพระบรมเดชานุภาพเป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ตามโบราณราชประเพณี และสมาชิกรัฐสภาได้ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้งแปดเป็นครั้งแรกแทนราชบัณฑิต ส่วนพระแท่นลานั้น โรยด้วยดอกพิกุลเงินพิกุลทอง 9 ดอก พระราชสัญจกรล้อมรอบด้วยเพชร 80 เม็ด หมายถึงพระชนมพรรษา 80 พรรษา ด้านบนพระราชสัญจกรเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชวตฉัตรซึ่งอยู่กึ่งกลาง และขนาบข้างด้วยพระเศวตฉัตร 7 ชั้น อันเป็นเครื่องแสดงพระราชอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ด้านล่างพระราชสัญจกรเป็นเลข 80 หมายถึงพระองค์มีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ถัดจากเลขไทยลงมาเป็นแพรแถบบอกชื่องานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แพรแถบนอกจากบอกชื่องานพระราชพิธีแล้ว ยังรองรับประคองพระเศวตฉัตรด้วย ตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองทอง อันเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ อยู่กลางตราสัญลักษณ์ ขลิบรอบตัวอักษรด้วยสีทอง บนพื้นวงกลมสีน้ำเงิน ล้อมรอบด้วยกรอบโค้งเรียบสีเหลืองทอง หมายความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนไทยทั้งชาติ ด้านบนอักษรพระปรมาภิไธยเป็นเลข 9 หมายถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เลข 9 นั้น อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ถัดลงมาด้านข้างซ้ายขวาของอักษรพระปรมาภิไธยมีลายพุ่มข้าวบิณฑ์สีทอง ซึ่งมีสัปตปฎลเศวตฉัตรประดิษฐานอยู่เบื้องบน ด้านนอกสุดเป็นกรอบโค้งมีลวดลายสีทองบนพื้นสีเขียว หมายถึงสีอันเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ อีกทั้งยังหมายถึงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และความสงบร่มเย็น ด้านล่างอักษรพระปรมาภิไธยเป็นรูปกระต่ายสีขาว กระต่ายนั้นทรงเครื่องอยู่ในลักษณะกำลังก้าวย่าง อันหมายถึง ปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ตรงกับปีเถาะ ซึ่งมีกระต่ายเป็นเครื่องหมายแห่งปีนักษัตร โดยรูปกระต่ายอยู่บนพื้นสีน้ำเงิน มีลายกระหนกสีทอง อันหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภาร เบื้องล่างตราสัญลักษณ์เป็นแพรแถบสีชมพูขลิบทอง เขียนอักษรสีทอง ความว่าพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. สีเหลืองนวลทอง เป็นสีประจาวันพระบรมราชสมภพ ขอบริมอักษรสีทองบนพื้นสีขาบเข้ม (น้าเงินแก่) เป็นสีประจาสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายในกรอบลายทองปนนากมีลายเนื่องสีทองมากกว่า 70 ดวง เป็นการถวายพระพร ให้ทรงสถิตดารงในสิริราชสมบัติมากกว่าปีที่ 70 ให้สถาพรโดยสวัสดีเป็นอเนกอนันต์ ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. และกรอบลายทองปนนากนี้สถิตอยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประกอบพระอุณาโลมสีทอง แวดล้อมด้วยพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้จามรีอยู่เบื้องซ้ายแห่งพระมหาพิชัยมงกุฎ มีธารพระกรและพัชนีฝักมะขามอยู่เบื้องขวา มีฉลองพระบาททอดอยู่ที่ปลายพระแสงและธารพระกรนั้นเบื้องล่าง รวมเรียกว่าเครื่องเบญจสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นนิมิตหมายแห่งการฉลองสิริราชสมบัติ ล่างลงมาเป็นแพรแถบสีหงชาด(ชมพู) ขลิบทอง เขียนอักษรสีทอง ความว่า ฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ปลายด้านขวาของแพรแถบระบุ พ.ศ. 2489 อันเป็นปีที่ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ปลายด้านซ้ายของแพรแถบระบุ พ.ศ. 2559 แสดงกาลเวลาที่ล่วงมา 70 ปีตราบจนปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ 9 ตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติในแต่ละวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลฯ ในรูปแบบศิลปกรรมและความหมายในแผ่นดินรัชกาลที่ 9