“นพดล“ โต้ ”สนธิ“ รัฐบาลไม่กังวลการลงถนน เชื่อ ตอบข้อคำถามได้ทุกข้อ ยัน MOU 44 ไม่ใช่ยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา เชื่อไม่ซ้ำรอยเขาพระวิหาร ชี้ต้องผ่านประตู 5 บาน แอบทำไม่ได้แน่นอน
วันที่ 25 ธ.ค.67 ที่รัฐสภา นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ได้แถลงถึงกรณี เมื่อวานนี้ (24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ไปทวงคำตอบจากรัฐบาล ในประเด็นที่ได้เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือเอ็มโอยู 44 ว่า ในฐานะที่ตนเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยากให้ความชัดเจนกับพี่น้องประชาชน
ในเรื่องนี้นั้นประเด็นแรก คือ การเคลื่อนไหวของนายสนธิไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไม่ได้กังวล แต่เราขอให้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ อย่าใช้เฮทสปีชหรือวาทกรรมสร้างความเกลียดชัง และที่สำคัญอย่าใช้ความเท็จสร้างกระแสปลถกความเกลียดชังในชาติ รัฐบาลไม่ได้กังวล ถ้าลงถนนก็อาจจะรถติดนิดหน่อย
ประเด็นที่สอง ตนอยากชี้แจงว่ารัฐบาลชี้แจงได้ทุกประเด็น ในข้อห่วงใยทั้ง 6 ข้อที่ได้ยื่นไปให้รัฐบาลนั้น รัฐบาลกำลังทำคำตอบอยู่และชี้แจงได้ทุกข้อ ตนอยากจะเรียนไว้เบื้องต้นว่า รัฐบาลได้ดำเนินการเรืาองเจรจาอ้างสิทธิทั้บซ้อนบนไหล่ทวีปทับซ้อนกันต่อเนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านๆมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชาก็ใช้เอ็มโอยู 44 นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็ได้ยืนยันว่าชัดเจนว่าเอ็มโอยู 44 ไม่ได้มีปัญหาอะไร ไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดนใดๆทั้งสิ้น แม้ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะมีมติครม.ว่าควรจะยกเลิกเอ็มโอยู 44 แต่ก็ไม่ได้มีหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชาเพื่อยกเลิก เพราะดังนั้นในแง่เนื้อหา เอ็มโอยู 44 ไม่ได้มีอะไรที่น่ารังเกียจ
ประเด็นที่สาม ข้อห่วงใยที่บอกว่าซึ่งเป็นข้อเห็นต่างระหว่างนายสนธิกับฝ่ายรัฐบาล เป็นไคลแม็กซ์นั้นคือ นายสนธิกับพรรคพวกบอกว่าเอ็มโอยู 44 จะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน เพราะไปยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา แต่ความจริงแล้วฝ่ายรัฐบาลและกรมสนธิสัญญาและกฎหมายยืนยันชัดเจนว่าเอ็มโอยู 44 ไม่ได้เป็นการยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ท่านจะเชื่อใครระหว่าง กลุ่มพันธมิตรและกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ตนขอเชื่อกรมสนธิสัญญาและกฎหมายและหน่วยงานของรัฐ
ประเด็นที่สี่ ฝ่ายที่คัดค้านเอ็มโอยู 44 ตอนนี้พยายามยกข้อกฎหมายให้ดูน่าเชื่อถือ เปิดประเด็นใหม่ไปเรื่อย ตั้งแต่เกาะกูดไม่เสียก็เปิดประเด็นใหม่อีก โดยอ้างว่าการเจรจาด้วยเอ็มโอยู 44 จะทำให้ไทยเสียเขตแดนเพราะเป็นการไปยอมรับเส้นของกัมพูช่ แล้วกัมพูชาจะอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์ของกัมพูชาหรือมีสถานะการณ์พิเศษอื่นๆ ตามข้อ 15 ของอนุสัญญากฎหมายทะเล 1982 ตนยืนยัน ชัดเจนว่า ได้สอบถาม จากกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ในเวทีของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เอ็มโอยู 44 จะไม่ทำให้เกิดสิทธิ์ของกัมพูชา ที่จะอ้างสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์ของกัมพูชาหรือมีสถานะการณ์พิเศษอื่นๆใดๆทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าจะไม่ซ้ำรอยกรณีของประสาทพระวิหารในอดีต เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ทำให้กัมพูชามีสิทธิพิเศษเหนือไทย ในขณะเดียวกัน เมื่อปีพ.ศ. 2505 หรือคือ 62 ปีที่แล้ว ประเทศไทยแพ้คดีในศาสตร์โลกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 โดยศาลโลกตัดสินว่าประสาทพระวิหารตั้งอยู่ใต้ดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา โดยอ้างหลักกฎหมายปิดปากหรือ estoppel law นั่นคือใครก็ตาม ถ้ายอมรับข้อเท็จจริงไม่ปฏิเสธ ก็ถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงนั้น เขานำเอาแผนที่ระวาง 1:200,000 หรือแผนที่ annex 1 มาปิดปากประเทศไทย ทำให้ไทยแพ้คดีเมื่อ 62 ปีที่แล้ว ไม่ใช่ในสมัยของตน บางคนยังคิดว่าตนเป็นผู้เซ็นมอบเขาพระวิหารให้กัมพูชาซึ่งไม่จริง อันนั้นเกิดขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ หากถามว่าเรื่องนี้จะซ้ำรอยกรณีเขาพระวิหารหรือไม่ ยืนยันว่าไม่เหมือนกัน และตนมองว่าประวัติศาสตร์ไม่ซ้ำรอย และในข้อ 5 ของเอ็มโอยู 44 นั้นระบุชัดเจน เนื้อหาและการดำเนินการของเอ็มโอยู 44 นั้นจะไม่กระทบสิทธิของแต่ละฝ่าย
ประเด็นที่ห้า ที่ให้ยกเลิก JC 44 ด้วยนั้น ซึ่งเป็นการแถลงร่วมระหว่างสมเด็จฮุนเซ็นกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่มีซื้อหาใดใดกระทบสิทธิทางด้านเขตแดนของไทย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตใดๆ เป็นเพียงการตระหนักว่ามีการลงนามเอ็มโอยู 44 เท่านั้น เพราะฉะนั้นทั้ง JC 44 และเอ็มโอยู 44 ไม่มีพิษมีภัยกับประเทศไทยอย่างแน่นอน
ประเด็นที่หก หากท่านเป็นคนบริหารประเทศ จะเลือกเชื่อใครระหว่างม็อบกลุ่มคนที่บอกว่าไม่เห็นด้วย หรือหน่วยงานของรัฐ ในเรื่องนี้นั้นเรามีกองทัพเรือ มีกรมอุทกศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมเอเชียตะวันออก เพราะฉะนั้นท่าทีของหน่วยงานของรัฐนั้นชัดเจนว่า เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียสิทธิ์ในด้านเขตแดนใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงกรอบในการเจรจา ไม่ได้ยอมรับสิทธิ์เขตแดนใดๆเลย เป็นเพียงแค่การตกลงมาคุยกัน ส่วนคุยกันรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ย้ำอีกทีนึงว่าไม่มีรัฐบาลไทยชุดไหนไปยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา ซึ่งเราเห็นตรงกันกับฝ่ายคัดค้านว่าเราไม่เห็นด้วยกับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา
“ขีดเส้นใต้ 500 เส้นครับ เราไม่ยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา เพราะไม่ได้ลากตามกฎหมายระหว่างประเทศ” นายนพดล กล่าว
ประเด็นสุดท้าย หากถามว่าเรื่องนี้จะงุบงิบแอบทำได้หรือไม่ นายทักษิณจะยกหูโทรศัพท์หาสมเด็จฮุนเซ็น แล้วบอกว่าตกลงกันตามนี้ได้หรือไม่ หรือน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โทร นายฮุนมาเหน็ด นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่าตกลงเอาอย่างนี้ได้หรือไม่ ยืนยันว่าทำไม่ได้ เอ็มโอยู 44 จะต้องเจรจาโดย JTC เท่านั้น ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าราชการระดับสูง ปลัดกระทรวง เจ้ากรม กระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีต่างๆ ดังนั้นแอบทำไม่ได้เด็ดขาด ล้านเปอร์เซนต์ จะลงนามได้นั้นต้องผ่านประตูถึง 5 บาน ผ่านคณะทำงาน ผ่านคณะอนุJTC คณะกรรมการJTC ผ่านคณะรัฐมนตรี และยังต้องมาผ่านสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภาเห็นชอบ โปร่งใสตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
นายนพดล กล่าวว่า อยากให้พี่น้องประชาชนได้สบายใจว่าในโลกของข้อมูลข่าวสาร ไหลเวียนวันหนึ่งมหาศาล ต้นขอใช้คำพูดของแกนนำกลุ่มที่คัดค้านว่า ความจริงมีหนึ่งเดียว และความจริงอยู่ที่นี่ อยู่ที่สภา อยู่ที่กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อยู่ที่พรรคเพื่อไทย