ดร.หญิง ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ไดโพสต์ข้อความผ่าน X ระบุว่า...
ยาวนิด..แต่ตอบคำถาม ค่าไฟแพงขึ้น ไม่จริงเลยนะคะ
หญิงอยากให้ใจเย็นๆ ชวนอ่านข้อความเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริง ว่าทำไมสัมปทานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนส่วนขยาย 3600 MW ที่เพิ่มขึ้น ถึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อค่าไฟอย่างที่ ฝ่ายค้านพยายามบิดเบือน หรือกล่าวอ้าง
หญิงขอเริ่มแบบนี้นะคะการรับซื้อพลังงานสีเขียวรอบ 3600 MW นี้เป็นการรับซื้อเพิ่มเติม และต่อเนื่องจากการรับซื้อรอบแรก 5000 MW จากแผน PDP เดิม ที่ไทยต้องการจะมีพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาก เช่น Microsoft Google Amazon เพื่อสร้าง Data Center ไม่หรืออุตสาหกรรม Semiconductors ที่เลือกจะมาลงทุนในไทย รวมถึง Could Computing และ AI ที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลในการประมวลผล นี่ยังไม่รวมภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงร้านค้าในห้างพวกแบรนด์ใหญ่ๆ ก็ต้องการใช้พลังงานสะอาดนะคะ
🔥หนูจัมไม ถาม: ทำไมต้องทำสัญญายาว 25 ปี ทำไมไม่รับซื้อทุกปี หรือ 3 ปี เพราะราคาพลังงานสะอาดอาจถูกลงในอนาคต
ตอบ ราคาพลังงานสะอาดไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงพลังงาน มีแต่ต้นทุนการก่อสร้าง นะคะ “อย่ามโน” เพราะเป็นพลังงานสีเขียว ตัวเลขอัตราค่าไฟ 2:20 บาท/หน่วย เกิดจากการประเมินที่ EGAT คำนวณราคา และคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งถือเป็นต้นทุนพลังงานที่ถูก..ถูกที่สุด..เมื่อเทียบกับพลังงานในรูปแบบอื่นๆ โดยไม่ต้องมีค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งหากเราเติมเข้ามาในระบบ ก็จะเป็นการถัวเฉลี่ยค่าไฟลง ช่วยให้ค่าไฟฟ้าในภาพรวมถูกลงได้ด้วย และเมื่อโรงไฟฟ้าก๊าซ ถ่านหิน หมดอายุไป รัฐบาลจะลดการต่ออายุโรงไฟฟ้าพลังงานเหล่านี้ลง พลังงานสีเขียวนี้ยังไม่มีความเสี่ยงต้นทุนเพิ่มขึ้นที่อาจจะกระทบจากตลาดโลก เช่น ราคาน้ำมัน ราคาก๊าซ หรือราคาถ่านหินอีกด้วย
“ค่าไฟแพงขึ้นตรงไหน อย่ามโน” ถ้ามองอะไรไม่เคยเห็นภาพใหญ่ ก็ช่วยเห็นแก่ประเทศชาติ และประชาชน
📍และหากเกิดวิกฤตในอนาคตมีการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ เหมือนช่วง โควิดมีความต้องการใช้ไฟเพิ่ม เอกชนที่ได้สัมปทานต้องมีการแบกรับต้นทุนจากค่าซ่อมบำรุงเอง หรือถ้าเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใดๆ ก็จะไม่มีผลต่อราคาค่าไฟ เพราะรัฐบาลรับซื้อโดยประกันค่าไฟไปแล้วที่ 2:20บาท/หน่วย ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดเอกชนรับผิดชอบ
🔥หนูจัมไม ถาม: รัฐบาลเอื้อทุนใหญ่ ทำไมไม่ให้มีการประมูลเหมือนที่ผ่านมาจะได้แข่งขันด้านราคาได้
ตอบ ที่ผ่านมาในอดีตแนวนโยบายพลังงานแห่งชาติ ก่อนมี PDP2018 เราเคยใช้การประมูลราคามาแล้ว แต่มันพบปัญหาผู้ที่ได้สัญญาไปขายสัญญาต่อ ไม่ได้ผลิตเอง ความเชี่ยวชาญ ความพร้อมไม่มี สุดท้ายก็ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นการประมูลราคาเน้นราคาถูกได้ไปทำ จึงไม่ใช่คำตอบที่ถูกที่สุด ยกตัวอย่าง เหมือนสินค้าจีนราคาถูกแต่คุณภาพไม่ได้ ความปลอดภัยไม่มี ความน่าเชื่อถือไม่มี คุณจะซื้อไหม จะเอาการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นไปเสี่ยงไหมคะ
รัฐบาลจึงหาทางแก้ไข เพราะพลังงานเป็นหนึ่งในมิติความมั่นคง ที่ต้องมีทั้ง 3 ด้าน เป็น 1.ความมั่นคงพลังงาน 2.ความมั่นคงทางราคา และ 3.ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม
ที่ชัดก็คือ เกณฑ์การคัดเลือกจะพิจารณาความพร้อมทั้งในด้านราคา คุณสมบัติ และเทคนิค ร่วมกัน
- ราคา : ต้องยอมรับ และปฏิบัติตามค่าไฟที่รัฐกำหนด ซึ่งรัฐได้กำหนดไว้ถูกมาก
- คุณสมบัติ : เช่น เป็นนิติบุคคลไทย ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ การวางหลักค้ำประกัน มีจุดเชื่อมโยง เป็นต้น
- เทคนิค : มีความพร้อมด้านพื้นที่ เทคโนโลยี เชื้อเพลิง การเงิน และความเหมาะสมของแผนดำเนินงาน
ถ้าคุณเป็นบริษัทที่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้คุณก็มีสิทธิในการได้สัมปทาน ไม่มีการเอื้อกลุ่มทุนใดๆ เป็นเรื่องเกณฑ์ที่เหมาะสมและคำนึงถึงประโยชน์ประเทศและพี่น้องประชาชน
สรุปทั้งหมด เรื่อง พลังงานสีเขียว เราต้องมองอนาคต เปรียบเหมือนเตรียมบ้านให้สวย ให้พร้อม คนจะอยากมาอยู่ อยากมาซื้อนะคะ มองภาพใหญ่บ้าง
🔥สัมปทานไหม ค่าไฟฟ้าไม่แพง แต่ถูกสุด เมื่อเทียบทุกพลังงาน 2:20บาท/หน่วยค่ะ และไม่มีค่าความพร้อมจ่ายใดๆ
🔥เอื้อกลุ่มทุนตรงไหน เกณฑ์ที่กำหนดใครเข้าเกณฑ์มีสิทธิหมด และพลังงานเป็นเรื่อง ความมั่นคง 3 มิติ 1.ความมั่นคงพลังงาน 2.ความมั่นคงทางราคา และ 3.ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม นะคะ
🔥การลงทุนต่างชาติไม่เกิด -> เศรษฐกิจไม่โต ฝ่ายค้านรับผิดชอบอะไร นอกจากด่าเพื่อหวังผลทางการเมืองอย่างเดียว