วันที่ 23 ธันวาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ที่โรงแรมกระบี่ ฟร้อนท์ เบย์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กรมทางหลวงชนบท และบริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม ได้จัดประชุม รับฟัง ความคิดเห็น และการมีส่วนร่วม ของประชาชน ครั้งที่ 1 กับโครงการ สร้างสะพาน เชื่อมเกาะกลาง ตำบลกองประสงค์ กับ ถนนต่อเชื่อมอำเภอเมืองกระบี่ ซึ่งถ้ามองกันอย่างผิวเผิน จะเห็นว่า เป็นอีกก้าวหนึ่ง ของการพัฒนา ด้านการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่
สำหรับสภาพพื้นที่ ของบ้านเกาะกลาง ตำบล กลองประสงค์ ณ.ปัจจุบัน วิถีชีวิต ของชาวบ้าน บ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ ส่วนหนึ่ง ทำการเกษตร ทำนาปลูกข้าว ขายให้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป สามารถสร้างรายได้ และ สร้างชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวให้กับบ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์มายาวนาน ประชาชนอีกส่วนหนึ่งก็จะทำกิจการร้านอาหาร นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังบ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ ต้องนั่งเรือหัวโทงลงไป (ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ )
ซึ่งหากหันไป มองภาพ เมื่อเกิด สะพานเชื่อมต่อ ระหว่าง ตัวเมืองกระบี่ กับบ้านเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ ความวุ่นวายอลหม่าน จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพราะแผนรองรับสิ่งต่างๆ ในพื้นที่ขณะนี้ยังไม่มีใครพูดถึง ทั้งใน เรื่องของถนนหนทาง ฝังเมือง และการยกระดับสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับการท่องเที่ยว เพราะบ้านเกาะกลางตำบลคลองประสงค์แห่งนี้ ยังมีอะไรอีกหลากหลาย ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของเขา
ทั้งนี้ก่อนที่สะพานเชื่อต่อกับแผ่นดินใหญ่จะเกิด ทางจังหวัดกระบี่ควรที่จะลงไปทำการศึกษา ทำแผนพัฒนา และที่สำคัญ งบประมาณ ในการใช้จ่าย อีกหลายๆด้าน วันนี้จังหวัดกระบี่ พร้อมหรือยัง โครงการ สร้างสะพานเชื่อม แห่งนี้ ทุกคนสามารถพูดเต็มปากเต็มคำ ว่า เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวอีกก้าวหนึ่งของจังหวัดกระบี่ แต่ในขนาดเดียวกัน เอกลักษณ์ หรือความโดดเด่น ของคำว่า “เกาะ” ก็ค่อยๆหมดไป และอาชีพบางอาชีพ ยกตัวอย่างอาชีพวิ่งเรือ ข้ามฟาก ของชาวบ้านส่วนหนึ่งก็จะ สูญสิ้นไปด้วยเช่นเดียวกัน การทำการศึกษา การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อย่าศึกษาแค่หัวสะพานทั้ง 2 ฝั่ง เพียงเท่านั้นแต่จะต้องศึกษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนควบคู่ไปด้วย เพื่อที่จะได้รับรู้ให้แน่ชัดว่าโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมอำเภอเมืองกระบี่ ไปยังบ้านเกาะกลาง ผลที่จะตามมาได้กับได้ หรือได้ไม่คุ้มเสีย