วันที่ 23 ธ.ค.67 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง และการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ TNN ข่าวเที่ยง วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นหลายสมรภูมิของโลก ทั้งใน ตะวันออกกลาง และยูเครน ที่ยังคงรุนแรง และไม่มีทีท่าว่าจะยุติ สถานการณ์ความขัดแย้งโลกในปีนี้ สู่ฉากทัศน์ต่อไปในปีข้างหน้า  

โดย ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ทิศทางก็จะผสมกันในปีหน้า มีทั้งลดระดับความรุนแรง และมีที่อาจประทุขึ้นมา ประเด็นแรกคือ เรากำลังอยู่ในยุคสงครามความขัดแย้งที่ต่อเนื่อง เชื่อมโยง และหลากหลาย สงครามและความขัดแย้งเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด ไม่ใช่อุบัติเหตุ เป็นสาเหตุพื้นฐานที่เกิดจากความขัดแย้งที่มีมานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดน เป็นเรื่องชาติพันธ์ุ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการต่างๆ เป็นการตัดสินใจของหลายพื้นที่หลายประเทศที่เกิดการปะทุขึ้นมา อย่างกรณีของรัสเซีย ยูเครนเป็นต้น อันนั้นเป็นประเด็นแรกปีหน้านี้เราจะอยู่กับยุคสงครามที่ต่อเนื่องและหลากหลาย

ประเด็นที่สอง คือในบางสมรภูมิ บางพื้นที่ บางภูมิภาคอาจมีการลดระดับความรุนแรง หรืออาจมีจังหวะพักรบ หรือช่วงชิงความได้เปรียบ อย่างเช่นที่ซีเรียผสมกัน ภาครวมตะวันออกลางก็จะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะที่ฉนวกกาซ่า คาดหมายกันว่า มกราคมก็จะเห็นการยุติการสู้รบชัดเจนขึ้น ที่เลบานอนทางตอนใต้ก็มีการพักรบชั่วคราวไปแล้ว ที่สำคัญคือการคาดหวังสำคัญคือ รัสเซีบและยูเครนจะเข้าสู่การเจรจา ซึ่งแม้จะยาวนานแต่ก็ลดระดับความรุนแรงลงได้บ้าง ที่น่าเป็นห่วงคือที่แอฟริกา ขณะนี้ผ่านไปสามปี ซูดานเกิดวิกฤติมนุษยธรรมมากขึ้นอย่างทราบกัน 6-7 ประเทศเข้าสู่การปฏิวัติรัฐประหาร และอาจมีการปะทุขึ้นในเมียนมา หรืออาจะต้องจับตาดูในคาบสมุทรเกาหลี และรอบเกาะไต้หวัน เป็นต้น ก็จะมีการผสมผสานกัน 

เพราะฉะนั้นประเด็นที่สามคือ จะต้องหลีกเลี่ยงกันไม่ให้การปะทุของภูมิภาคเหล่านี้ ความขัดแย้งกันในภูมิภาคเป็นสงครามใหญ่ ในระดับภูมิภาค หรือระดับโลก  ป้องกันไม่ให้เป็นสงครามแบบเบ็ดเสร็จ การป้องปรามโดยใช้กำลังบางส่วนเพื่อให้เกิดการบานปลาย อย่างเช่น การรุกล้ำดินแดน หรือ อธิปไตยของแต่ละประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ขณะเดียวกันก็ต้องเจรจาทั้งการคทูตและการเมือง ซึ่งก็เป็นแนวโน้มของสหรัฐฯที่จะผลักดันให้ทุกฝ่ายเข้าสู่การเจรจา เพื่อลดทอนความเครียดหลายภูมิภาค และป้องกันการบานปลายของสงคราม  

สุดท้ายก็มีตัวแปรที่สำคัญ ที่จะต้องจับตาดูในปีหน้า คือ จีน และสหรัฐฯจะเป็นตัวกำหนดความขัดแย้งในหลายภูมิภาค และระหว่างสองประเทศด้วยกันเอง เรื่องอัตราภาษี การตั้งรับจะลุกของจีน การฟื้นตัวของสหรัฐฯ ในเรื่องของการค้า การทหาร จะลงทุนเพิ่มขึ้นในเรื่องของพลังงาน เป็นตัวแปรกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งการค้า การเมือง และการทหาร

ประเด็นที่สอง ก็ต้องดูสถานการร์ในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในซีเรียที่จะเป็นการช่วงชิงความได้เปรียบของกลุ่มต่างๆ การเปลี่ยนผ่านของอิสราเอล ดูการเปลี่ยนผ่านของอีกหลายประเทศในบริเวณนั้น สุดท้ายก็ต้องดูการเปลี่ยนผ่านในสหภาพยุโรป รัฐบาลของเยอรมัน รัฐบาลของฝรั่งเศสที่ขณะนี้สถานภาพไม่มั่นคง ในภาพรวมต้องดูการถดถอยของประชาธิปไตยที่ว่าจะทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีกหรือไม่ หรือมีปัญหาอื่นๆอีกหรือไม่ เช่น การคอร์รัปชั่น ระบบพรรคพวกที่เราเห็นแม้ในสหรัฐฯ ถ้าไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ เราก็ประคับประคองตัวให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ปีถัดๆไป ที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องเฝ้าระวังให้ดีในปีหน้านี้

แนวโน้มที่ดีในการประชุมที่จอร์แดนเมื่อสัปดาห์ก่อนก็คือ ชาติอาหรับส่วนใหญ่ 7-8 ประเทศที่เข้าไปร่วมประชุม โดยเฉพาะที่มาจากสันนิบาตอาหรับ ยืนยันว่าตัวแทนทุกฝ่ายจะต้องเข้าร่วมคุยฝยช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ โดยเฉพาะใช้มติของสหประชาชาติ 2254 ในปี 2015 ข้อตกลงพื้นฐานจะให้มีการผลักดันเจรจากับทุกฝ่าย อันนั้นก็เป็นแนวโน้มที่ดี แต่ว่าสหรัฐฯ และอังกฤษ ยืนยันว่าข้อตกลงนี้จะไม่รวมกับกลุ่มก่อการร้ายทีี่สหรัฐฯได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว นั้นหมายความว่า รวมถึงกลุ่มไอซิเก่าที่ผันตัวเองมาเป้นกลุ่มที่คุมอำนาจในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการต่อรองอันนี้ก็ขึ้นกับหลายประเทศ รวมทั้งตรุกีซึ่งก็ได้พบกับสหรัฐฯ และอังกฤษไป ซึ่งก็แยกออกจากสันนิบาตอาหรับที่ได้พบกัน แนวโน้มตรงนี้ก็ยังไม่ค่อยชัดเจน แต่ก็ยังเป็ฌนส่วนที่คนมีความหวัง มีการคืนถิ่นของคนที่ผลัดถิ่นหลายล้านคนในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา แนวโน้มความสูญเสียจำนวนคนหลายแสนคนสงครามกลางเมืองของซีเรียในตอนนี้ก็ลดลง เป็นเรื่องที่ทุกคนยังมีความหวังอยู่ ก็ต้องมีการผลักดันให้มีการปลดบัญชีรายชื่อของกลุ่มที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแกนการเปลี่ยนผ่านไปแล้ว 

ยุโรปมีความเสี่ยงในการใช้อาวุธนิวเคลียร์มากสุด อิสราเอลที่เข้าไปยึดครองที่ราบสูงโกลาน อาจจะเป็นประเด็นที่ผกผัน ยุโรปพยยามชิงความได้เปรียบก่อนที่ประธนาธิบดีทรัมป์จะเข้ามา และการเข้าตำแหน่ง ของประธานาธิบดีปูตินก็อาจปะทุขึ้นมาระลอกใหม่ภายในเวลาจำกัด ถ้าประธานาธิบดีทรัมป์เข้ามารับตำแหน่งแล้ว ความเสี่ยงที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์อาจจะลดลง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะว่ามีความเชื่อว่า ทั้งอิหร่าน และรัสเซียต้องการเพิ่มอำนาจในการต่อรองด้วยการเพิ่มขีเความสามารถในด้านอาวุธนิวเคลียร์