จากป่าสู่ครัว ชาวมานิรุ่นใหม่เปิดใจเรียนรู้ทำโรตี-ปัสมอส วิทยาลัยชุมชนสตูล หนุนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
(19 ธ.ค.2567) ที่หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธ์ชาวมานิ “ทับแม่ฉิม ห้วยโด” หมู่ 10 บ้านวังนาใน ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล วันนี้เด็ก ๆ และแม่บ้านภายในทับทุกคน ไม่น้อยกว่า 30 ชีวิต กำลังตั้งใจเรียนรู้การทำเมนูโรตี อาหารพื้นที่ถิ่นกันตื่นตาตื่นใจ ทุกคนได้มีโอกาสลงมือทำไม่ว่าจะเป็นการนวดแป้ง การฟัดโรตี การทอด เรียนรู้และลงมือทำตั้งแต่กระบวนการทำขั้นตอนแรก
นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำ เมนูปัสมอสเพื่อสุขภาพ หรือที่เรียกกันว่า สลัดแขก เมนูที่ดูเหมือนจะง่ายแต่ก็ไม่มากนัก เพราะเครื่องปรุงค่อนข้างจะเยอะ แต่ทุกคนก็ได้เห็นหน้าตาของเครื่องปรุงและลงมือทำ การหั่น การทอด การเคี่ยวน้ำปรุงราด ตลอดจนได้ลิ้มลองฝีมือของตัวเองกันอย่างสนุกสนานและอิ่มเอมกับความรู้ที่ได้รับ
ซึ่งการอบรมการทำเมนูอาหารพื้นถิ่นในครั้งนี้ เป็นของโครงการของสถาบันวิทยาลัยชุมชนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ มอบให้แก่ประชาชน โดยวิทยาลัยชุมชนสตูล ภายใต้โครงการบริการวิชาการตามความต้องการของชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568 บริการวิชาการ ส่งเสริมทักษะอาชีพพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน “ หลักสูตรอาหารพื้นถิ่นสร้างอาชีพ
นางสาวฉ๊ะ รักษ์ละงู ชาวมานิ บอกว่า ทำไม่ยาก สำหรับโรตีเพิ่งทำครั้งแรก ชอบตอนฟัดโรตี อยากทำไว้กินเอง อร่อยมากกับเมนูที่พวกตนได้ทำและได้กินกัน
ครูณัฐนันท์ โอมเพียร (ครูณัฐ) ผู้ดูแลชาวมานิ บอกว่า อยากเห็นเขาสร้างอาชีพ ทำอาหารแบบง่าย ๆ ได้ทำกินเองและเมนูที่ทำเป็นเมนูที่ชาวมานิชอบมาก การอบรมในครั้งนี้อยากให้เขาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆจากภายนอกเพื่อให้เรียนรู้สังคมเมือง ด้วยการเรียนรู้ปรับตัวเอง เป็นครั้งแรกของพวกเขาที่ได้เรียนรู้การทำอาหาร วัตถุดิบหาง่าย ลำดับต่อไปอยากให้สอนการทำจักรสาน หลากหลายรูปแบบ ให้สวยและขายได้ เพราะทุกวันนี้เขาทำจักรสานอยู่แต่ไม่สวย
ดร.วรรณดี สุธาพาณิชย์ (ผอ.วชช.สตูล) ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสตูล กล่าวว่า การอบรมในครั้งนี้ได้ดูแลเป็นพิเศษ ครั้งนี้ส่งเสริมอาหารพื้นถิ่น ปัสมอสและโรตีที่พวกเขาชอบกิน เขาจะได้ทำไว้กินเอง หรือพัฒนาต่อยอดไปขายได้ และจะพัฒนาต่อเนื่องหากต้องการ เช่นการทำจักสาน ภาชนะ ความละเอียดที่พวกเขามีเป็นพื้นฐาน เราจะเข้ามาพัฒนาการทำตะกล้าจากใบเตย ทำภาชนะใช้เองเข้าป่า หาอาหาร การอบรมในครั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามความต้องการของปัจเจกบุคคลและชุมชนในลักษณะของการตอบสนองที่รวดเร็ว และสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล
แนวคิดรัฐบาล ที่มีนโยบายให้การพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG Model เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง วิทยาลัยชุมชนสตูลจึงเห็นความสำคัญของการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมด้านวิชาการ การเผยแพร่ความรู้ เป็นที่ปรึกษา และบริการวิชาการแก่สังคม โดยบูรณาการความรู้ใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยการเชื่อมโยงการให้บริการวิชาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม อันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เครือข่ายชุมชน และสังคมใกล้เคียงได้รับความรู้ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการ และทำให้วิทยาลัยฯมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้นด้วย